ผลของสารไกลโฟเซตต่อภาวะเครียดออกซิเดชั่นในสัตว์ทดลองและมนุษย์

ชื่อเรื่อง : ผลของสารไกลโฟเซตต่อภาวะเครียดออกซิเดชั่นในสัตว์ทดลองและมนุษย์

ชื่อผู้แต่ง : สุทธิณี สิทธิหล่อ และ รัตนา ทรัพย์บำเรอ

แหล่งที่มา : Journal of Medicine and Health Sciences 25 (2) 2018 : 97-114

บทคัดย่อ : 

          สารไกลโฟเซตเป็นสารที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในภาคการเกษตร เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดวัชพืช ปัจจุบันพบว่า สารไกลโฟเซตสามารถส่งผลกระทบต่อพันธุกรรมและทำให้เกิดความเครียดออกซิเดชั่นได้ โดยภาวะเครียดออกซิเดซั่นเป็นภาวะที่ร่างกายสร้างสารอนุมูลอิสระมากกว่าปกติ ทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายโดยเกิดการทำลายโปรตีน การเกิดลิปิดเปอร์ออกซิเดชั่น การทำลายดีเอ็นเอ และการลดลงของสารต้านอนุมูลอิสระ ดังนั้น ในบทความนี้จะกล่าวถึง (1) สถานการณ์การใช้สารไกลโฟเซตในประเทศไทย (2) กระบวนการทางพิษวิทยาของสารไกลโฟเซต (3) ภาวะเครียดออกซิเดชั่น และ (4) ผลของสารไกลโฟเซตต่อภาวะเครียดออกซิเดชั่น ซึ่งจากการทบทวนวรรณกรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549-2560 พบว่ามีงานวิจัยจำนวน 14 เรื่อง ที่ศึกษาผลของสารไกลโฟเซตต่อภาวะออกซิเดชั่นในสัตว์ทดลอง โดยงานวิจัยที่พบสารไกลโฟเซตมีผลต่อ การทำลายโปรตีนมีจำนวน 2 เรื่อง ผลต่อการเกิดลิปิดเปอร์ออกซิเดชั่นมีจำนวน 5 เรื่อง ผลต่อการเกิดสารต้าน อนุมูลอิสระจำนวน 7 เรื่อง และผลต่อการทำลายดีเอ็นเอจำนวน 7 เรื่อง แต่มีการศึกษาในมนุษย์เพียง 3 เรื่อง ดังนั้น การศึกษาวิจัยในมนุษย์จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อยืนยันผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากการสัมผัสสารไกลโฟเซต และนำไปสู่การกำหนดนโยบายระดับประเทศเพื่อจำกัดหรือควบคุมการใช้สารดังกล่าวในอนาคต

 

#glyphosate  #ไกลโฟเซต #สารเคมีอันตรายทางการเกษตร

Search