- รายละเอียด
- หมวด: อินโฟกราฟิก และบทความเฟซบุ๊ค สท.
- ฮิต: 1603
- ข้อมูลเผยแพร่บน facebook สท.: Infographic
ปัจจุบันนี้การย่อยพลาสติกทำได้ไม่ยาก เพียงแค่เราต้องช่วยกันลดและคัดแยกขยะ เพื่อการจัดการที่ง่ายขึ้น ตัวอย่างเทคโนโลยีการการจัดการขยะพลาสติก เช่น กระบวนการเทอร์โมฟูเอล (THERMOFUEL Process) กระบวนการนาโนฟูเอล (NANOFUEL Process) กระบวรการบีพีเคมีคอล (BP Chemicals Process) หรือกระบวนการรีนเทค (REENTECH Process) ที่สามารถเปลี่ยนจากพลาสติกผสม ไปเป็น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด และน้ำมันดีเซลได้ เป็นต้น
- รายละเอียด
- หมวด: อินโฟกราฟิก และบทความเฟซบุ๊ค สท.
- ฮิต: 1507
- ข้อมูลเผยแพร่บน facebook สท.: บทความ
สำนักหอสมุดฯ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ร่วมกับ สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดนิทรรศการ “๑๐๐ ปี ธงชาติไทย”
โดยมีวัตถุประสงค์สร้างการรับรู้ถึงความเป็นมาของธงชาติไทย กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง การใช้ การชัก การประดับ
- รายละเอียด
- หมวด: อินโฟกราฟิก และบทความเฟซบุ๊ค สท.
- ฮิต: 6690
- ข้อมูลเผยแพร่บน facebook สท.: บทความ
สาร HCFCs หรือสารไฮโดรคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Hydrochlorofluorocarbon) คือสารประกอบที่เกิดจาก ไฮโดรเจน (H) คลอรีน (Cl) ฟลูออรีน (F) และคาร์บอน (C) ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และเป็นสารควบคุมตามพิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน ที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้ ประกอบกับกฎกระทรวง (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ข้อ 14 บัญญัติให้การดำเนินการต่อวัตถุอันตรายต้องคำนึงถึงสนธิสัญญาและข้อผูกพันระหว่างประเทศ
- รายละเอียด
- หมวด: อินโฟกราฟิก และบทความเฟซบุ๊ค สท.
- ฮิต: 1495
- ข้อมูลเผยแพร่บน facebook สท.: บทความ, VDO
การสวมใส่ผ้าไทยกำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน หลายคนจึงหันมาสนใจในผลิตภัณฑ์สิ่งทอของไทยที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ นอกจากจะสวมใส่เป็นแฟชั่นที่ทันสมัยแล้ว ยังมีความปลอดภัยจากสีย้อมเคมี อีกทั้งน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตก็ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเส้นใยฝ้ายเป็นเส้นใยธรรมชาติที่นิยมนำมาทอผ้า เนื่องจากมีคุณสมบัติทนต่อสภาวะที่เป็นด่างและสารฟอกขาว ซึมซับน้ำได้ดี ทนต่อความร้อน และแสงแดด คลิปวิดีทัศน์เรื่อง “การย้อมฝ้ายด้วยสีธรรมชาติ” โดยกรมวิทยาศาสตร์บริการ
- รายละเอียด
- หมวด: อินโฟกราฟิก และบทความเฟซบุ๊ค สท.
- ฮิต: 2541
- ข้อมูลเผยแพร่บน facebook สท.: บทความ
!ปัจจุบันมีการนำวัตถุที่ไม่เคยบริโภคเป็นอาหารมาใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบของอาหาร อีกทั้งมีการพัฒนากระบวนการผลิตอาหารโดยใช้เทคโนโลยีที่ไม่เคยใช้มาก่อน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในฐานะหน่วยงานหลักในการกำกับดูแลความปลอดภัยอาหาร ภายใต้พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ได้กำหนดมาตรการการประเมินความปลอดภัยรองรับเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ได้ให้นิยาม “อาหารใหม่ (Novel food)” ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 376) พ.ศ. 2559 เรื่อง อาหารใหม่ (Novel food)