- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 1653
English Title : Enhancement of tapioca starch collection by post cyclone
Author : วรินท์ศิริ สาสะเดาะห์
Source : วิทยานิพนธ์. (2005) 107 หน้า
Abstract : Cyclone separator is a device for the collection of tapioca starch. Although cyclones provide a low-cost and low-maintenance method for removing larger particulate matters from gas streams, low collection efficiency of large scale cyclones for particles smaller than 5 ?m has been indicated as its disadvantage. An auxiliary device, a Post Cyclone, has been adopted to reduce the small particle emission from the cyclones using the strong swirl present in the vortex finder of the cyclone. Nonetheless, optimum design parameters of the Post Cyclone need to be ascertained extensively. Therefore, this work aims to determine the effects of two design parameters, i.e, the gap width between inner Post Cyclone and vortex finder, mass flow rate on the efficiency of tapioca starch collection and pressure drop. Experiments were conducted with three different configurations of the gap width, which were 1, 2 and 3 cm and under three different mass flow rates which were 0.02, 0.03, and 0.05 kg/s. The experiments demonstrated that the Post Cyclone increased the overall efficiency of the cyclone by 2–10 percent depending on the mass flow rate of tapioca starch and the gap width between Post Cyclone inner shell and vortex finder. The efficiency of cyclone, Post Cyclone, and cyclone combined with Post Cyclone increased with increasing mass flow rate. Moreover, pressure drop of the system decreased with increasing gap width. A 1 cm of the gap width and 0.05 kg/s of mass flow rate showed the highest collection efficiency.
อุตสาหกรรมการผลิตแป้งมันสำปะหลังใช้ไซโคลนในการดักเก็บแป้งหลังจากการอบแห้ง แม้ว่าไซโคลนนั้นมีข้อดีอยู่หลายประการ แต่ข้อเสียอย่างหนึ่งคือประสิทธิภาพของไซโคลนในการเก็บอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอน ค่อนข้างต่ำ ทำให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพ ของไซโคลนในการเก็บอนุภาคขนาดเล็กหลากหลายวิธี หนึ่งในวิธีนั้น คือการติดโพสทไซโคลนต่อจากทางออกด้านบนของไซโคลน อย่างไร ก็ตามยังจำเป็นต้องทำการศึกษาผลของพารามิเตอร์ต่างๆ ต่อประสิทธิภาพของระบบอยู่อีกมาก งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นที่จะศึกษาผลของช่องว่าง ระหว่างผนังด้านในของโพสทไซโคลนกับระยะทางออกของอากาศด้านบนของไซโคลนต่อประสิทธิภาพการเก็บแป้งมันสำปะหลังและความดัน ลดของระบบ โดยทำการทดลองศึกษาอัตราการป้อนแป้งมันสำปะหลังที่ 0.02, 0.03 และ 0.05 กิโลกรัมต่อวินาที และช่องว่างระหว่างผนังด้านใน ของโพสทไซโคลนกับระยะทางออกของอากาศด้านบนของไซโคลนที่ 1, 2 และ 3 เซนติเมตร ซึ่งจากการทดลองนี้พบว่าการติดตั้งโพสทไซโคลน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บแป้งมันสำปะหลังได้ร้อยละ 2-10 เมื่อเปรียบเทียบกับระบบที่ทดลองกับไซโคลนเพียงอย่างเดียว โดยประสิทธิภาพ การเก็บแป้งจะขึ้นกับอัตราการป้อนแป้งและช่องว่างระหว่างผนังด้านในของโพสทไซโคลนกับระยะทางออกของอากาศด้านบนของไซโคลน โดยประสิทธิภาพการเก็บแป้งมันสำหลังมากขึ้น เมื่อเพิ่มอัตราการป้อนแป้งมันสำปะหลัง และใช้ช่องว่างระหว่างผนังด้านในของโพสทไซโคลน กับระยะทางออกของอากาศด้านบนของไซโคลนน้อยลง นอกจากนั้นผลการทดลองยังแสดงให้เห็นว่าช่องว่างระหว่างผนังด้านในของโพสทไซโคลน กับระยะทางออกของอากาศด้านบนของไซโคลนที่มีขนาด 1 เซนติเมตร ที่อัตราการป้อนแป้ง0.05 กิโลกรัมต่อวินาที มีค่าประสิทธิภาพการเก็บ แป้งมันสำปะหลังมากที่สุด
Subject : Cyclones. Tapioca starch. Food industry and trade. ไซโคลน. แป้งมันสำปะหลัง. อุตสาหกรรมอาหาร.
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 1799
English Title : Effect of coconut sugar and stabilizing agents on physical properties of high-fat coconut milk
Author : การุณธภัสร์ จิรเพียงทอง
Source : วิทยานิพนธ์. (2006) 59 หน้า
Abstract : This study aimed at determining the physical properties of high-fat coconut milk (30 percent) as affected by coconut sugar (10 - 30 percent) and stabilizing agents, namely, Carboxymethyl cellulose (CMC, 0.6 - 1.0 percent) and Montanox 60 (0.6 - 1.0 percent). The emulsion stability (ES), curding and rheological properties were determined after thermal processing at 121.1 oC for 60 minutes. At a similar sugar content, increasing the concentration of CMC or Montanox 60 resulted in an increase in ES. The concentrations of CMC and Montanox 60 in the range of 0.8-1.0 percent were found to give the ES higher than 80 percent (81.16 - 91.15 percent) and the percentage of curding in the range of 0.94 - 23.46 percent. These conditions were thus selected to conduct the rheological measurements. It was found that all samples exhibited pseudoplastic behavior with the flow behavior index (n) between 0.6344 and 0.8365. The results suggested that a suitable ratio between coconut sugar and stabilizing agent contents should be specified in order to obtain high-quality processed sweetened coconut milk.
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลของปริมาณน้ำตาลมะพร้าว (10 - 30 เปอร์เซ็นต์) และ สารเพิ่มความคงตัว ได้แก่ Carboxymethyl cellulose (CMC, 0.6 - 1.0 เปอร์เซ็นต์) และ Montanox 60 (0.6 - 1.0 เปอร์เซ็นต์) ที่มีต่อสมบัติทางกายภาพของน้ำกะทิไขมันสูง (30 เปอร์เซ็นต์) โดยวัดค่าความคงตัวของน้ำกะทิ ปริมาณตะกอนอ่อนและสมบัติการไหลหลังจากผ่านกระ บวนการฆ่าเชื้อทางความร้อนที่อุณหภูมิ 121.1 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60 นาที จากผลการทดลองพบว่าที่ปริมาณน้ำตาลเท่ากัน การเพิ่มความเข้มข้นของ CMC หรือ Montanox 60 ทำให้ค่าความคงตัวของน้ำกะทิเพิ่มขึ้น โดยที่ระดับความเข้มข้นของ CMC และ Montanox 60 ในช่วง 0.8 - 1.0 เปอร์เซ็นต์จะให้ค่าความคงตัวของน้ำกะทิสูงกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ (81.16 - 91.15 เปอร์เซ็นต์) และ ปริมาณตะกอนอ่อน 0.94 - 23.46 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังพบว่าตัวอย่างที่เตรียมโดยใช้สภาวะดังกล่าวมีพฤติกรรมการไหลเป็นแบบ Pseudoplastic โดยมีค่าพฤติกรรมการไหล (n) อยู่ระหว่าง 0.6344 และ 0.8365 ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าน้ำตาลมะพร้าวและสารเพิ่มความคงตัวมีผลต่อคุณภาพของน้ำกะทิไขมันสูงดังนั้น ในกระบวนการผลิตจึงต้องมีการพิจารณาสัดส่วนของปัจจัยดังกล่าวที่เหมาะสมเพื่อให้ได้น้ำกะทิบรรจุกระป๋องคุณภาพสูง
Subject : Stabilizer. Sugar. กะทิ. สารให้ความคงตัว. น้ำตาลมะพร้าว.
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 1840
English Title : Effect of heating temperature on browning reaction in chicken extract
Author : ปฏิมารัตน์ น้อยแรม
Source : วิทยานิพนธ์. (2011) 69 หน้า
Abstract : The kinetics of brown color formation and reactants (reducing sugar and free amino acids) consumption during non-enzymatic browning of chicken extract undergoing heating at different temperatures (100, 120, 140, 160 C) and times (0, 5, 10, 15, 20, 25, 30 min) were studied. The chicken extract was heated in a hermetically sealed stainless steel cup and held at constant temperatures. Reducing sugar and free amino acids concentrations were determined by high performance liquid chromatography (HPLC). The results indicated the presence of glucose as a reducing sugar and seventeen free amino acids in chicken extract. During heating browning pigments increased, while glucose concentration dramatically decreased when the temperature and time increased. The concentration of most amino acids in chicken extract were rather constant during heating; however, lysine concentration slightly decreased during heating. As total free amino acids concentration was rather constant throughout the study, it was assumed that free amino acids were presented in excess amount and glucose was a rate determining reactant for color formation via Maillard reaction. Multiresponse modelling technique was used to test the kinetic reaction. However, a simple kinetic reaction (either zero-, first-, second- or n-order) did not describe well both the glucose consumption and browning pigment formation in chicken extract system as indicated by low correlation coefficient (R2) As. the chemistry of Maillard reaction is very complex, many intemediates could be formed and/or degraded to form products through a series of reactions. Thus, the formation and degradation of intermediates was added to the reviscd model. A first-order reaction in series kinetics could describe brown pigment formation and glucose consumption. An increase in the heating temperature led to higher values of the rate constants of glucose loss (k = 1.56x10-2 - 8.8x10-2 min-1) and browning pigment fonnation (k = 3.55x10-3 3.5x10-2 min-1) The effect of heating temperature on these rate constants could be described by Arrhenius relationship with the estimated activation energy (E,) values of glucose consumption and browning pigmnent formation of 38.29 and 5 1.93 kJ/mol, respectively.
งานวิจัยนี้ศึกษาจลนพลศาสตร์การเกิดสีน้ำตาลแบบไม่ใช้เอนไซม์ในสารสกัดจากเนื้อไก่ขณะให้ ความร้อนที่อุณหูมิ 100, 120, 140, 160 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 0, 5 , 10 , 20 , 30 นาที การทดลอง ทำโดยให้ความร้อนสารสกัดจากเนื้อไก่ที่อุณหภูมิคงที่ในตลับเหล็กไร้สนิมปิดสนิท และวัดความเข้มข้น ของน้ำตาลรีดิวซ์ดิวซ์และกรดอะมิโนอิสระโดยใช้เครื่องโครมาโตกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง ผล การทดลองพบ กรดอะมิโนอิสระสิบเจ็ดชนิดและพบว่ากูลโคสเป็นน้ำตาลรีดิวซ์ชนิดเดี่ยวที่ตรวจพบในสารสกัด จากเนื้อไก่ ในระหว่างการให้ความร้อนสารสี น้ำตาลมีปริมาณเพิ่มขึ้นในขณะเข้มข้นของกูลโคสลดลง อย่างมากเมื่ออุณหภูมิและเวลาในการให้ความร้อนเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามความเข้มข้นของไลซีนมีค่าลดลง เล็กน้อยในระหว่างการให้ความร้อนในขณะที่ความเข้มข้นของกรดอะมิโนอิสระในสารสกัดจากเนื้อ ไก่ส่วนมากมีค่าค่อนข้างคงที่ ดังนั้นจึงตั้งสมมติฐานว่ากรดอะมิโนอิสระมีปริมาณมากเกินพอและกลู โคสเป็นสารตั้งต้นที่กำหนดอัตราการเกิดปฎิกิริยาการเกิดสีน้ำตาลแบบไม่ใช้เอนไซม์ จากการใช้เทคนิค แบบจำลองการตอบสนองหลายทางมาทดสอบปฎิกิริยาจลนพลศาสตร์การเกิดสีน้ำตาลแบบไม่ใช้เอน ไซม์พบว่า สมการจลนพลศาสตร์อย่างง่ายไม่ว่าจะเป็นปฎิกิริยาอันดับศูนย์ หนึ่ง สอง หรือ ลำดับใด ๆ ไม่สามารถอธิบายการลดของกลูโคสและการกลูโคสและการเกิดสารสีน้ำตาลในระบบสารสกัดจากเนื้อ ไก่ได้ โดยพบว่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีค่าต่ำทั้งนี้เนื่องจากการเกิดสีน้ำตาลแบบไม่ใช้เอนไซม์ มีความซับซ้อนมาก และมีการเกิดหรือสลายตัวของสารตัวกลางหลายชนิดอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึง ปรับแบบจำลองจลนพลศาสตร์ใหม่โดยเพิ่มเทอมของการเกิดและการสลายตัวของสารตัวกลาง พบ ว่าสมการจลนพลศาสตร์ปฏิกิริยาอันดับหนึ่งแบบต่อเนื่องสามารถอธิบายการเกิดสารสีน้ำตาลและการ ลดลงของกลูโคสได้ดี โดยพบว่าการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิทำให้ค่าคงที่ของอัตราการสูญเสียกลูโคส (ค่าคงที่อัตรา = 1.56x10-2 - 8.8x10-2 ต่อนาที) และการเพิ่มขึ้นของการเกิดสารสีน้ำตาล (ค่าคงที่อัตรา = 3.55x10-3 - 3.5x10-2 ต่อนาที) มีค่าเพิ่มขึ้น ซึ่งผลของอุณหภูมิต่อค่าคงที่อัตราการเกิด ปฏิกิริยาสีน้ำตาลแบบไม่ใช้เอนไซม์สามารถอธิบายด้วยความสัมพันธ์อารีเนียส โดยค่าพลังงานกระตุ้น ของปฏิกิริยาการลดลงของกลูโคสและการเกิดสารสีน้ำตาลของปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาลแบบไม่ ใช้เอนไซม์เท่ากับ 38.29 และ 51.93 กิโลจูลต่อโมล ตามลำดับ
Subject : Animal extracts. Chickens. Chickens -- Effect of temperature on. สารสกัดจากสัตว์. ไก่. ไก่ -- ผลกระทบจากอุณหภูมิ
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 1770
Author : อดุลย์ศักดิ์ ไชยราช
Source : เทคโนโลยีชาวบ้าน 31, 688 (ก.พ. 2562) 41
Abstract : ผักเชียงดา มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น ผักเจียงดา ผักม้วนไก่ ผักอีฮ้วน เป็นไม้เถาเลื้อยยาวพาดพันขึ้นต้นไม้ กิ่งไม้ มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Gymnema Inodorum พบมากทางภาคเหนือ นำมาประกอบอาหารโดขใช้ส่วนของยอดอ่อน ใบอ่อน นำมาลวก หรือรับประทานสด ใส่แกงต่างๆ หลายจังหวัดทางภาคเหนือนำมาทำผลิตภัณฑ์ชาชงพร้อมดื่ม ถือเป็นพืชที่มีตัวยาสำคัญและสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา นำไปทำผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและยารักษาโรค ช่วยลดปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคเบาหวาน ช่วยยับยั้งการดูดซึมกลูโคส ทั้งนี้การกินผักเชียงดาแบบสด มีคุณค่าทางอาหารมากกว่าทำให้สุก
Subject : ผักเชียงดา. ผักเชียงดา -- สรรพคุณทางยา