- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 2081
English Title : Hygiene assessment of food factory
Author : สุดสาย ตรีวานิช
Source : Food Focus Thailand ที่ 6 ฉบับที่ 59 (กุมภาพันธ์ 2554) หน้า 34-37
Abstract : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพรูปแท่ง ซึ่งประกอบด้วยส่วนผสมของธัญพืชหลายชนิดให้เข้ากับรสนิยมของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายทั้งวัยเด็ก วัยทำงานและวัยผู้ใหญ่ และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพทั้ง 3 วัย ปัจจุบันวัสดุและบรรจุภัณฑ์ที่นิยมใช้มีหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่บรรจุด้วยถุงพลาสติกประกอบหลายชั้น ผลิตจากฟิล์มพลาสติกใสประกบหลายชั้นและฟิล์มพลาสติกกับอะลูมิเนียม เช่น ถุงที่ผลิตจากฟิล์มประกอบระหว่างพอลิเอทิลีนหรือพอลิโพรพิลีนกับอะลูมิเนียมฟอยล์หรือซองเมทัลไลล์ พิมพ์ด้วยสีสันที่สดใส สะดุดตา มีทั้งขนาดบรรจุรับประทานพออิ่ม สำหรับกระป๋องเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้รองลงมา วว. ได้ทำการวิเคราะห์ความต้องการบรรจุภัณฑ์สำหรับขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพทั้ง 3 โดยใช้แบบสอบถาม สัมภาษณ์กลุ่มลูกค้าเป้าหมายพบว่า ผู้บริโภคทั้งสามวัยมีพฤติกรรมการบริโภคที่แตกต่างกัน วัยเด็กส่วนใหญ่เคยทานขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพและชอบทานขนมขบเคี้ยวโดยเฉพาะมันฝรั่งทอดมากที่สุด วัยทำงานชอบทานมันฝรั่งทอกมากที่สุดเช่นกัน วันผู้ใหญ่ชอบทานจากธัญพืชของผลิตภัณฑ์ชุมชนมากที่สุด แต่ถ้าไม่เคยทานขนมขบเคี้ยวธัญพืช จะชอบมันฝรั่งทอกมากที่สุด สำหรับความต้องการบรรจุภัณฑ์ของขนมขบเคี้ยว ผู้บริโภคทั้ง 3 วัย มีความชอบบรรจุภัณฑ์ประเภทถุง/ซองพลาสติกใส กล่องกระดาษแข็งของกระดาษและอื่นๆ ส่วนสี วัยเด็กชอบสีตามธรรมชาติของผลิตภัณฑ์ วัยทำงานชอบสีฟ้า วัยผู้ใหญ่ชอบสีขาวมากที่สุด และคุณสมบัติเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความสะดวกในการเปิด มีความทันสมัย รูปแบบแปลกใหม่ มีสีสันสวยงาม
Subject : โรงงานอาหาร--การตรวจสอบความสะอาด, สุขาภิบาลอาหาร—โรงงาน
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 2553
English Title : The packaging design for healthy snack in 3 ages
Author : บุษกร ประดิษฐนิยกูล
Source : วารสารการบรรจุภัณฑ์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 4 (กรกฎาคม - กันยายน 2553) หน้า 6-13
Abstract : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพรูปแท่ง ซึ่งประกอบด้วยส่วนผสมของธัญพืชหลายชนิดให้เข้ากับรสนิยมของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายทั้งวัยเด็ก วัยทำงานและวัยผู้ใหญ่ และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพทั้ง 3 วัย ปัจจุบันวัสดุและบรรจุภัณฑ์ที่นิยมใช้มีหลายรูปแบบ ส่วนใหญ่บรรจุด้วยถุงพลาสติกประกอบหลายชั้น ผลิตจากฟิล์มพลาสติกใสประกบหลายชั้นและฟิล์มพลาสติกกับอะลูมิเนียม เช่น ถุงที่ผลิตจากฟิล์มประกอบระหว่างพอลิเอทิลีนหรือพอลิโพรพิลีนกับอะลูมิเนียมฟอยล์หรือซองเมทัลไลล์ พิมพ์ด้วยสีสันที่สดใส สะดุดตา มีทั้งขนาดบรรจุรับประทานพออิ่ม สำหรับกระป๋องเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้รองลงมา วว. ได้ทำการวิเคราะห์ความต้องการบรรจุภัณฑ์สำหรับขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพทั้ง 3 โดยใช้แบบสอบถาม สัมภาษณ์กลุ่มลูกค้าเป้าหมายพบว่า ผู้บริโภคทั้งสามวัยมีพฤติกรรมการบริโภคที่แตกต่างกัน วัยเด็กส่วนใหญ่เคยทานขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพและชอบทานขนมขบเคี้ยวโดยเฉพาะมันฝรั่งทอดมากที่สุด วัยทำงานชอบทานมันฝรั่งทอกมากที่สุดเช่นกัน วันผู้ใหญ่ชอบทานจากธัญพืชของผลิตภัณฑ์ชุมชนมากที่สุด แต่ถ้าไม่เคยทานขนมขบเคี้ยวธัญพืช จะชอบมันฝรั่งทอกมากที่สุด สำหรับความต้องการบรรจุภัณฑ์ของขนมขบเคี้ยว ผู้บริโภคทั้ง 3 วัย มีความชอบบรรจุภัณฑ์ประเภทถุง/ซองพลาสติกใส กล่องกระดาษแข็งของกระดาษและอื่นๆ ส่วนสี วัยเด็กชอบสีตามธรรมชาติของผลิตภัณฑ์ วัยทำงานชอบสีฟ้า วัยผู้ใหญ่ชอบสีขาวมากที่สุด และคุณสมบัติเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความสะดวกในการเปิด มีความทันสมัย รูปแบบแปลกใหม่ มีสีสันสวยงาม
Subject : ขนมขบเคี้ยว--บรรจุภัณฑ์
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 2139
English Title : Food and Drug Administration warn… for safety not to buy abnormal red sausage to eat
Author : กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, Public and Consumer Affairs Advertisement Control Division, Food and Drug Administration, Publi
Source : วารสารโภชนาการ ปีที่ 43 ฉบับที่ 2 (เม.ย. - มิ.ย. 2551) หน้า 45, The Nutrition Association of Thailand Vol.43 No.2 (April - June 2008) Page. 45, The Nutrition Association of Thailand Vol.43 No.2 (April - June 2008) Page. 45,
Abstract : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เตือนผู้บริโภคอย่าซื้อไส้กรอกที่มีลักษณะสีแดงสดผิดปกติมารับประทานเป็นอันขาด เพราะอาจได้รับอันตรายจากการใส่สีและวัตถุกันเสียสูงเกินมาตรฐาน ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ซึ่งปริมาณที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ใช้ต้องไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ถ้าผู้บริโภคได้รับสารดังกล่าวในปริมาณมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการคลายตัวของหลอดเลือดเกิดสภาวะที่เม็ดเลือดแดงไม่รับออกซิเจน หน้าแดง ปวดศีรษะถ้าได้รับในปริมาณมากๆ จะเกิดอาการเนื้อตัวเขียว คลื่นไส้ อาเจียน และเป็นลม ซึ่งอาการเหล่านี้จะยิ่งอันตรายหากเกิดในเด็ก
Subject : ไส้กรอก--สี
- รายละเอียด
- หมวด: บทคัดย่ออาหารและอุตสาหกรรมเกษตร
- ฮิต: 2029
English Title : Salt maker in middle valley
Author : ไมตรี ลิมปิชาติ
Source : เส้นทางเศรษฐี ปีที่ 16 ฉบับที่ 249 (มีนาคม 2553) หน้า 69
Abstract : ปกติคนผลิตเกลือหรือทำเกลือขายจะต้องยู่ริมทะเล เพราะต้องสูบน้ำเค็มจากทะเลมาขังไว้ในนาเกลือแล้วปล่อยให้แดดเผาจนน้ำระเหยเหลือแต่เกลือ แต่มีเกลืออีกชนิดหนึ่งที่สูบน้ำจากใต้ดินขึ้นมาต้มจนกลายเป็นเกลือ เกลือที่ได้จากน้ำใต้ดินเรียกว่าเกลือสินเธาว์ หมู่บ้านทำเกลือสินเธาว์ ตำบลบ่อเกลือใต้ จังหวัดน่าน การผลิตเกลือขาย ขั้นตอการทำเกลือสินเธาว์เป็นไปอย่างง่ายๆหลังจากเอาน้ำเค็มจากบ่อขึ้นมาแล้วก็นำไปใส่กระทะต้ม ประมาณ 2 ชั่วโมง จะได้เกลือสีขาวละเอียด จากนั้นให้ตักเกลือจากกระทะใส่ภาชนะแขวนไว้เหนือกระทะเพื่อให้สะเด็ดน้ำ ทำหมุนเวียนไปอย่างนี้ เมื่อเกลือที่สะเด็ดน้ำเรียบร้อยแล้ว ก็นำไอโอดีนเทลงไปในเกลือคลุกให้เข้ากัน รอจนเกลือกับไอโอดีนเข้ากันดีแล้วจึงบรรจุใส่ถุงพลาสติกเป็นอันเสร็จการทำเกลือสินเธาว์ ราคาขายเกลือที่หน้าบ่อกิโลกรัมละ 5 บาท ชาวบ้านที่ตำบลนี้มีรายได้จากการนำเกลือแล้วยังมีการต้มไข่ขายโดยใช้น้ำต้มที่เหลือจากการต้มเกลือ ไข่ก็จะมีรสเค็มโดยไม่ต้องใช้น้ำปลาทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง
Subject : เกลือสินเธาว์--น่าน