ชื่อเรื่อง : การหาปริมาณฝุ่นขนาดเล็ก (PM2.5, PM10-2.5, PM10) และความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณฝุ่นในอากาศภายในอาคารและฝุ่นที่บุคคลได้รับ
ชื่อผู้แต่ง : สมานชัย เลิศกมลวิทย์
แหล่งที่มา : วิทยานิพนธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2543
บทคัดย่อ :
ฝุ่นละออง PM, PM02 และ PM, ภายนอกป้อมตำรวจริมถนน ภายในป้อมตำรวจ และที่ตำรวจจราจได้รับสัมผัส ในเขตกรุงเทพ: ดินแดง ปทุมวัน รามคำแหง และงามวงศ์วาน ในเขตชานมือง: ตลาดคู้ และประชาสำราญ และในเขตอยุธยา ถูกเก็บด้วยเครื่องเก็บตัวอย่างอากาศเฉพาะบุคคล ติดหัวแยกฝุ่นอิมแพคเตอร์ หาปริมาณด้วยเครื่องชั่งหกตำแหน่ง เมื่อเปรียบเทียบค่าที่ได้กับเครื่องเก็บตัวอย่างอากาศแบบเทปใช้รังสืเบต้าที่สถานเฝ้าระวังดินแดงของกรมควบคุมมลพิษ พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ (r=0.948. p =0.004) PM10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ภายนอกป้อมในเขตกรุงทพมีค่ามากกว่า 100 µg/m3 โดยเฉพาะที่ดินแดง และงามวงศ์วานมีค่าเกินมาตรฐานฝุ่นในบรรยากาศ (120 µg/m3) ในขณะที่ฝุ่นละออง PM2.5 ในขตกรุงเทพทั้งหมดมีค่าเกินมาตรฐานฝุ่นละอองในบรรยากาศที่ US EPA กำหนด (65 µg/m3) ฝุ่น PM10 และ PM2.5 ภายในป้อมมีค่าน้อยกว่าภายนอกป้อม ในขณะที่ฝุ่นละอองที่บุคคลได้รับสัมผัสมีค่าอยู่ระหว่างฝุ่นละอองภายนอกป้อม และภายในป้อม การวิเคราะห์องค์ประกอบธาตุยืนยันว่า การจราจรเป็นแหล่งกำเนิดสำคัญสำหรับการศึกษาครั้งนี้ สำหรับสัดส่วนของฝุ่น PM2.5 ต่อ PM10 พบว่าไม่ขึ้นกับความเข้มข้นฝุ่นละออง แต่ความเป็นเมืองมีแนวโน้มทำให้สัดส่วนนี้มีคำสูงกว่าในตำงจังหวัด ซึ่งกรุงเทพฯ ค่เฉลี่ยสัดส่วนนี้มีค่า 0.74 ส่วนหนองจอกเป็นชานเมืองกรุงเทพมีค่า 0.65 ในขณะที่อยุธยา มีค่า 0.60 จากการวิเคราะห์หาสหสัมพันธ์พบความสัมพันธ์ระหว่างฝุ่นภายนอกป้อม ฝุ่นภายในป้อม และฝุ่นที่บุคคลได้รับสัมผัส (p < 0.05) สามารถหาสมการถดถอยเพื่อใช้ประมาณฝุ่นละอองภายในป้อม และที่บุคคลได้รับสัมผัสได้ โดยใช้ปริมาณฝุ่น PM10 ภายนอกป้อมเป็นตัวทำนายที่ดีที่สุดนอกจากนี้พบว่า ปริมาณฝุ่นละอองที่ตรวจวัดได้ในบรรยากาศแปรผันตามความชื้นสัมพัทธ์ในบรรยากาศ แต่แปรผกผันกับความเร็วลมสูงสุด
#PM2.5 #PM10 #ฝุ่นละออง #คุณภาพอากาศ