การวิเคราะห์ปริมาณฝุ่นละอองเชิงมวล PM2.5 และ PM10 ในบรรยากาศด้วยเครื่องตรวจวัดฝุ่นละอองไร้สายในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย

ชื่อเรื่อง : การวิเคราะห์ปริมาณฝุ่นละอองเชิงมวล PM2.5 และ PM10 ในบรรยากาศด้วยเครื่องตรวจวัดฝุ่นละอองไร้สายในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย     

ชื่อผู้แต่ง : ฐิฏาพร สุภาษี พานิช อินต๊ะ, เสริมเกียรติ จอมจันทร์ยอง และเศรษฐ์ สัมภัตตะกุล

แหล่งที่มา : วารสารวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรม, 2561, 2(1), 69-83

บทคัดย่อ : 

         ปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหามลพิษทางอากาศอันเนื่องมาจากหมอกควันในเกือบทุกภูมิภาค โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ซึ่งปัญหามลพิษทางอากาศในภาคเหนือนั้น ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนเป็นอย่างมากโดยเฉพาะปัญหาหมอกควัน การสะสมของควันหรือฝุ่นในอากาศ โดยส่วนใหญ่เกิดจากการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและไฟป่า และมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นในทุกๆ ปีงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาระบบฐานข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองเชิงมวล PM2.5 และ PM10 ในอากาศด้วยเครื่องตรวจจับฝุ่นละอองไร้สาย โดยทำการพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่เรียกว่า Cloud Computing ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย เพื่อศึกษาถึงปัญหาฝุ่นควันที่เกิดในเขตภาคเหนือตอนบน โดยมีการตรวจวัดปริมาณฝุ่นการตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองเชิงมวล PM2.5 และ PM10 ในอากาศโดยใช้เครื่องตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองเชิงมวลไร้สาย เพื่อนำไปศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งต่อสุขภาพมนุษย์ ระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมีการติดตั้งสถานีตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองเชิงมวลเรียลไทม์เตือนภัยวิกฤตฝุ่นควัน (PM2.5 , PM10) ในพื้นที่ภาคเหนือ จำนวนทั้งหมด 4 สถานี ได้แก่ 1) สถานีโรงเรียนยุพราช 2) สถานี อ. ดอยสะเก็ด 3) สถานี ต.แม่เหียะ อ. เมือง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4) สถานี อ.นาน้อย จ.น่าน อีกทั้งมีการนำเสนอข้อมูลผ่านระบบรายงานผลออนไลน์จากสถานีตรวจวัดในแต่ละแห่ง เพื่อให้ผู้รับข้อมูลสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ทันสถานการณ์ และเข้าใจง่าย ในงานวิจัยนี้มีความคาดหวังว่าระบบฐานข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดังกล่าว จะสามารถเป็นข้อมูลเพื่อสนับสนุนแนวทางการแก้ไขปัญหาหมอกควันในเขตพื้นที่ภาคเหนืออย่างจริงจังภายใต้ข้อมูลที่แท้จริง รวมถึงการศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็วทันเหตุการณ์ต่อปัญหาที่เกิดขึ้น

 

#PM2.5 #PM10 #คุณภาพอากาศ #ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน 

Search