ภาพจากเมืองเคปทาวน์ แอฟริกาใต้

ย้อนชมภาพปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่หาดูได้ยาก อย่าง "ซูเปอร์บลูมูน" (super blue moon) ที่รับชมได้ด้วยตาเปล่า เมื่อคืนที่ผ่านมา (30 ส.ค.)

.

ปรากฏการณ์ครั้งนี้ เรียกได้ว่าไม่ธรรมดา เพราะเกิดปรากฏการณ์เกี่ยวกับดวงจันทร์ 2 เหตุการณ์พร้อมกัน คือ "ซูเปอร์มูน (supermoon)" และ "บลูมูน (blue moon)"

.

- ปรากฏการณ์ซูเปอร์มูน มักเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์โคจรเข้าใกล้โลกที่สุด หรือมีระยะห่างจากโลกประมาณ 357,334 กิโลเมตร ทำให้มันมีขนาดใหญ่ และส่องสว่างมากกว่าปกติในท้องฟ้ายามค่ำคืน
- ปรากฏการณ์บลูมูน เป็นชื่อเรียกพระจันทร์เต็มดวงครั้งที่ 2 ของเดือน

.
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ NARIT ระบุว่า เมื่อคืนนี้ (30 ส.ค.) ดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย หากเทียบกับดวงจันทร์เต็มดวงช่วงเวลาปกติ โดยมีขนาดใหญ่กว่าเดิมประมาณ 7% และสว่างเพิ่มขึ้นประมาณ 15%

.

ส่วนเวลาที่เหมาะสมในการสังเกตปรากฏการณ์เกี่ยวกับดวงจันทร์ในครั้งนี้ คือช่วงเย็นวันที่ 30 ส.ค. ตั้งแต่เวลาประมาณ 18:09 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้า ของวันที่ 31 ส.ค. ดูได้ด้วยตาเปล่า เมื่อมองไปทางทิศตะวันออก

.

นอกจากนี้ ยังมีดาวเสาร์ปรากฏสว่างเคียงข้างดวงจันทร์อีกด้วย

.

ภาพเหนือวิหารโปเซดอน ใกล้กรุงเอเธนส์ของกรีซ

14 ปีมีครั้ง
สมาคมดาราศาสตร์แห่งไอร์แลนด์เหนือ ระบุว่า ปรากฏการณ์ซูเปอร์บลูมูนไม่เคยเกิดขึ้นเลยนับตั้งแต่ปี 2552 หรือ 14 ปีที่แล้ว และเมื่อเกิดขึ้นในวันนี้ จะไม่ปรากฎให้เห็นอีก จนกระทั่งปี 2580 หรืออีก 14 ปีข้างหน้า

.

"แต่ละปี คนเราจะได้เห็นดวงจันทร์เต็มดวง 12 ครั้ง แต่คุณต้องรอให้เกิดดวงจันทร์เต็มดวงครบ 168 ครั้ง จึงจะได้เห็นปรากฏการณ์ซูเปอร์บลูมูนสักครั้ง"

.

"ซูเปอร์บลูมูน จึงเป็นปรากฎการณ์ที่หาชมยาก" เดวิด มัวร์ จากสมาคมดาราศาสตร์แห่งไอร์แลนด์เหนือ ระบุ

.

ภาพในตุรกี

ภาพจากประเทศไทย

ภาพจากประเทศอียิปต์

ที่มา : BBC https://www.bbc.com/thai/articles/cqeq9njr9l2o