ชื่อเรื่อง : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 414) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน
หมายเลขมาตรฐาน : -
ขอบข่าย/รายละเอียด : โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อกำหนดของมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 (3) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติ อาหาร พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก (1) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2529 (2) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 273) พ.ศ. 2546 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
ข้อ 2 ให้อาหารที่มีสารปนเปื้อนเป็นอาหารที่กำหนดมาตรฐาน
ข้อ 3 ในประกาศนี้
“สารปนเปื้อน” หมายความว่า สารที่ปนเปื้อนกับอาหาร โดยไม่ได้ตั้งใจเติมลงไปในอาหาร แต่ปนเปื้อนโดยเป็นผลเนื่องจากการผลิต การเตรียม การแปรรูป การบรรจุ การขนส่งหรือการเก็บรักษา หรือปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสิ่งแปลกปลอมทางกายภาพ
“ปริมาณสูงสุด” หมายถึง ปริมาณสารปนเปื้อนสูงสุดในอาหารส่วนที่บริโภคได้ ยกเว้นกรณี ที่มีการก าหนดลักษณะของอาหารไว้เป็นการเฉพาะ
ข้อ 4 อาหารที่มีสารปนเปื้อนต้องมีมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(1) ตรวจพบสารปนเปื้อนตกค้างได้ไม่เกินปริมาณสูงสุด ตามที่ระบุไว้ในบัญชีหมายเลข 1 แนบท้ายประกาศนี้
(2) ตรวจพบสารปนเปื้อนนอกเหนือจาก (1) ได้ไม่เกินปริมาณสูงสุดที่กำหนดไว้ตามมาตรฐานทั่วไปสำหรับสารปนเปื้อนและสารพิษในอาหารและอาหารสัตว์ (Codex General Standard for Contaminants and Toxins in Food and Feed; CODEX STAN 193-1995) ฉบับล่าสุด
(3) ตรวจพบสารปนเปื้อนนอกเหนือจาก (1) และ (2) ไม่เกินปริมาณสูงสุดซึ่งพิจารณาตามแนวทางการกำหนดค่าปริมาณสูงสุดสำหรับสารปนเปื้อนของคณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหาร เอฟ เอ โอ/ดับบลิว เอช โอ (Codex Alimentarius Commission) และให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าอาหารเพื่อจำหน่ายรับผิดชอบในการนำสืบพิสูจน์ให้เห็นว่าปริมาณสารที่ปนเปื้อนนั้นอยู่ในระดับสูงสุดที่ยอมรับได้ ....
ที่มา : ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 118 ง (20 พฤษภาคม พ.ศ. 2563) หน้า 17-18 (แนบท้าย 11 หน้า)
Link : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/118/T_0017.PDF