ชื่อเรื่อง : พฤติกรรมการสัมผัสสารเคมีกำจัดวัชพืชพาราควอตและการเกิดโรคหนังเน่าของเกษตรกรที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัด อุบลราชธานีและศรีสะเกษ
ชื่อผู้แต่ง : สุภาพร ใจการุณ ประกิจ เชื้อชม และ พัชรี ใจการุณ
แหล่งที่มา : วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 11 (3) กันยายน-ธันวาคม 2561 : 495-500
บทคัดย่อ :
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกพาพฤติกรรมการสัมผัสสารเคมีกำจัดวัชพืชพาราควอต การเกิดโรคหนังเน่า และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสัมผัสสารเคมีกำจัดวัชพืชพาราควอต กับการเกิดโรคหนังเน่าของเกษตรกรที่ป็นผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 250 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นครื่องมือในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมการสัมผัสสารเคมีกำจัดวัชพืชพาราควอต (การใช้ การป้องกัน และกรสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนสารเคมีกำจัดวัชพืชพาราควอต) และแบบบันทึกการกิดโรคหนังเน่าและการตกค้างของสารเคมีกำจัดวัชพืชพาราควอต ในดินโคลน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติไคสแควร์
ผลการศึกษาประกอบด้วย 3 ส่วน (1) เกษตรกรที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน มีพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชพาราควอตที่เหมาะสม ทั้งพฤติกรรมการใช้และการป้องกันอันตราย ยกเว้นพฤติกรรมการสัมผ้สสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนสารเคมีกำจัดวัชพืชพาราควอตจากดินโคลน สูงถึงร้อยละ 83.6 และเกษตรกรเป็นผู้ป่วยเบาหวานและมีแผลสัมผัสดินโคลนที่ปนเปื้อนสารเคมีพาราควอต ถึงร้อยละ 82.8 (2) ค่าเฉลี่ยการตกค้างของสารเคมีพาราควอตในดินโคลน เท่ากับ 0.02 ± 0.058 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ (3) มีความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนสารเคมี จากการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชพาราควอต กับการเกิดโรคหนังเน่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .001
#พาราควอต #โรคหนังเน่า #สารเคมีกำจัดวัชพืช #วัตถุอันตรายทางการเกษตร #สารเคมีอันตรายทางการเกษตร