0 2201 7250-6

ฮิต: 118

เกณฑ์การประเมิน

การประเมินตนเอง

มี

ไม่มี

หลักฐาน

4.1 การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้รับบริการ บุคลากร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

4.1.1 จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและส่งเสริมการเรียนรู้ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ให้กับกลุ่มเป้าหมาย ในเรื่องต่อไปนี้

(1) การประหยัดพลังงานไฟฟ้า และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้า

 

ในปีงบประมาณ 2566 กองหอสมุดฯ ได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของห้องสมุดสีเขียว จำนวน 4 กิจกรรม ดังนี้

- วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 การจัดการความรู้ สท. เรื่อง “5ส และมาตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม” 

    

   

- วันที่ 14 มิถุนายน 2566 การเยี่ยมชมและศึกษาดูงานของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ มีนักเรียนจำนวน 156 คน และครู จำนวน 13 คน

      

 

- วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 สท. ร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเข้าร่วมโครงการ “PEA หมู่บ้านช่อสะอาด” ณ โรงเรียนบ้านม่วงใหม่ จังหวัดน่าน

    

 

- วันที่ 15 สิงหาคม 2566 สท. ร่วมกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาชิกเครือข่ายห้องสมุดสีเขียวเข้าร่วมโครงการ “PEA หมู่บ้านช่อสะอาด” ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดเทวสุนทร เขตจตุจักร จังหวัดกรุงเทพฯ

    

นอกจากนี้ กองหอสมุดฯ ได้มีการจัดทำมาตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม สท. ขึ้น ประกอบด้วย มาตรการจัดประชุมและจัดเลี้ยงสีเขียว มาตรการอนุรักษ์พลังงานด้านไฟฟ้า มาตรการการประหยัดน้ำ มาตรการการประหยัดกระดาษ และมาตรการในการบริหารจัดการขยะภายในอาคาร สท. ลงนามโดย ผสท. และประกาศใช้เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 โดยส่งเสริมมาตรการ และประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ ไลน์กลุ่ม สท. (SLTD) เว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียว

มาตรการอนุรักษ์พลังงานด้านไฟฟ้า มีรายละเอียดดังนี้

   เครื่องปรับอากาศ

  • ตั้งอุณหภูมิที่ 25 องศาเซลเซียส หากสภาพอากาศภายนอกร้อนมาก อาจเปิดพัดลมช่วย
  • ห้องสำนักงานทั่วไป ปิดเครื่องปรับอากาศเมื่อไม่ใช้งาน หรือไม่มีคนอยู่ในห้องนั้นเกิน 1 ชั่วโมง
  • พื้นที่อ่านหนังสือหรือบริการให้ปิดก่อนเวลา 30 น. อย่างน้อย 20 นาที
  • พื้นที่จัดกิจกรรม เปิด-ปิดตามเวลาจัดกิจกรรม
  • ดำเนินการล้างเครื่องปรับอากาศอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • พื้นที่ที่เก็บหนังสือหรือเอกสารที่ต้องรักษาอุณหภูมิ ควรพิจารณาเปิด-ปิดเครื่องปรับอากาศอย่างเหมาะสม

เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ 

  • ใช้โหมดประหยัดพลังงาน หรือพักหน้าจอเมื่อไม่ใช้งานเกิน 15 นาที

เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ เช่น กาต้มน้ำร้อน พัดลม

  • ให้ปิดและถอดปลั๊กเมื่อเลิกใช้งานทันที

ไฟฟ้าแสงสว่าง

  • ห้องสำนักงานทั่วไป ให้เปิดเท่าที่จำเป็น และปิดเมื่อไม่ใช้งาน
  • พื้นที่อ่านหนังสือหรือบริการหรือจัดกิจกรรม ให้เปิดเฉพาะโซนที่ใช้งาน และปิดเมื่อเลิกใช้หรือตามเวลาให้บริการ
  • ทางเดินให้เปิดเท่าที่จำเป็น และปิดตามเวลาให้บริการ
  • ห้องน้ำ ให้เปิดเมื่อใช้งานและปิดเมื่อเลิกใช้ โดยหากสภาพอากาศภายนอกมืดครึ้มอาจเปิดไว้ได้ และปิดเมื่อเลิกงานทันที

การใช้ลิฟต์

  • ขึ้น ลงชั้นเดียว ควรใช้บันได

(2) การประหยัดน้ำและการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

 

มาตรการการประหยัดน้ำ มีรายละเอียดดังนี้

  • ปิดก๊อกน้ำให้สนิททุกครั้งเมื่อเลิกใช้น้ำทันที
  • ห้ามทิ้งเศษอาหาร กระดาษชำระ ผ้าอนามัย หรือสิ่งอื่นใดลงในอ่างล้างหน้า และโถชักโครก
  • ตรวจสอบรอยรั่ว แนววางท่อน้ำประปา อุปกรณ์ท่อหรือสาย วาล์วน้ำ มิเตอร์น้ำ ก๊อกน้ำเป็นประจำ

(3) การคัดแยกและใช้ประโยชน์จากขยะหรือวัสดุเหลือใช้ การจัดการของเสียและมลพิษ

 

มาตรการในการบริหารจัดการขยะภายในอาคาร สท. มีรายละเอียดดังนี้

  1. คัดแยกขยะแต่ละประเภท
  • ขยะอินทรีย์ หมายถึง สิ่งที่ย่อยสลายได้ง่าย เช่น เศษอาหาร ผัก ผลไม้
  • ขยะรีไซเคิล หมายถึง สิ่งที่ยังมีประโยชน์สามารถนำไปแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ เช่น กระดาษ พลาสติกขวดพลาสติก แก้ว โลหะ
  • ขยะอันตราย หมายถึง สิ่งที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนสารอันตราย วัตถุมีพิษ วัตถุกัดกร่อน วัตถุติดเชื้อและวัตถุไวไฟ เช่น ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ ตลับหมึกพิมพ์
  • ขยะทั่วไป หมายถึง สิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากข้างต้น อาจนำมาใช้ใหม่ได้ แต่ย่อยสลายยาก ไม่คุ้มค่าในการแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ เช่น เศษผ้า เศษหนัง เศษกระดาษ พลาสติกห่อขนม ฯลฯ
  1. ตั้งจุดคัดแยกขยะแต่ละประเภทในพื้นที่ส่วนกลางของแต่ละชั้น
  2. การบริหารจัดการและการกำจัดขยะแต่ละประเภท

          3.1 ขยะอินทรีย์ ขอความร่วมมือให้ทุกชั้นลดการทิ้ง หรือกินอาหารให้หมด โดยไม่เกิดเศษอาหารในพื้นที่

          3.2 ขยะรีไซเคิล ให้ทุกชั้นรวบรวมขยะพลาสติกและกระดาษที่ใช้แล้วทั้ง 2 หน้า นำมาเก็บที่จุดรวบรวมส่วนกลางและบันทึกปริมาณขยะก่อนนำส่งกำจัด

  • คัดแยกขวดพลาสติกชนิดขุ่น เช่น ขวดนม ขวดยาคูลท์ ขวดน้ำผลไม้
  • คัดแยกขยะพลาสติกชนิดใส (PET) เช่น ขวดน้ำดื่ม ขวดน้ำอัดลม ให้แยกฝา ทำการลอกฉลากบรรจุภัณฑ์ และบีบขวดให้มีขนาดเล็กลงเป็นการลดพื้นที่จัดเก็บและจัดส่งจุดรวบรวมก่อนนำส่งกำจัดหรือนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
  • คัดแยกขยะกระป๋องอะลูมิเนียม เช่น กระป๋องเครื่องดื่ม น้ำอัดลม ชา กาแฟและบีบให้มีขนาดเล็กลงเป็นการลดพื้นที่จัดเก็บและจัดส่งจุดรวบรวมก่อนนำส่งกำจัดหรือเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
  • คัดแยกขยะพลาสติกชนิดไม่ย่อยสลาย เช่น ฉลากน้ำดื่ม ฉลากบรรจุภัณฑ์ที่เป็นพลาสติก ซองกาแฟ จัดส่งจุดรวบรวมก่อนนำส่งกำจัดหรือเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

          3.3 ขยะอันตราย ให้ทุกชั้นรวบรวมนำมาเก็บที่จุดรวบรวมส่วนกลางและบันทึกปริมาณขยะก่อนนำส่งกำจัด

          3.4 ขยะทั่วไป ให้ทุกชั้นรวบรวมและนำไปทิ้งที่จุดคัดแยกขยะ วศ. ทุกวันและบันทึกปริมาณขยะก่อนนำส่งกำจัด

     นอกจากนี้ ยังได้มีจัดกิจกรรมการรับบริจาคสิ่งของ ทั้งหมด 5 กิจกรรม ได้แก่

          1) ปฏิทินตั้งโต๊ะที่ใช้แล้ว "ให้กาลเวลามีค่ามากกว่า 1 ปี"

          2) ตลับหมึกที่ใช้แล้ว "สงกรานต์ สาดตลับหมึก"

          3) แก้วพลาสติก / แก้วกาแฟ “เก็บแก้ว เข้าพรรษา”

          4) ขวดพลาสติก PET  "รัก คือ การให้"

          5) วัสดุอะลูมิเนียม ได้แก่ ห่วงจากฝาหรือกระป๋องเครื่องดื่ม ฝาเครื่องดื่มแบบเกลียว กระป๋องน้ำอัดลม หรือเศษจากข้อต่อ/บานพับ/ รั้ว เป็นต้น "ห่วง ฝา (อะลูมิเนียม) ทำขาเทียม"

      รวมทั้ง การทำน้ำหมักชีวภาพจากเปลือกสับปะรดที่เหลือทิ้งจากร้านค้า แจกจ่ายฟรี ณ จุดแจกจ่าย บริเวณหน้าทางเข้าห้องสมุด ชั้น 1 สท. ให้แก่บุคลากรทั้งภายในและภายนอก วศ.

(4) ก๊าซเรือนกระจก

 

 

4.1.2 การมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย ในกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

(1) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีจำนวนมากกว่าร้อยละ 80 ของเป้าหมายที่กำหนด

 

กองหอสมุดฯ ได้มีการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ โดยให้ความรู้เรื่องการจัดการของเสีย การคัดแยกขยะ รวมทั้งมาตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมให้กับเจ้าหน้าที่ สท. และแม่บ้าน เรื่อง “5ส และมาตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม”  เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 ณ ลานกิจกรรมชั้น 1 สท. มีจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 46 คน คิดเป็นร้อยละ 92 (จากบุคลากร สท. จำนวน 47 คน และแม่บ้าน จำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น 50 คน)

(2) กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรม

 

 

(3) กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการสรุปผลกิจกรรมและการนำไปใช้ประโยชน์

 

 

(4) มีการจัดทำใบประกาศหรือใบรับรองให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามเงื่อนไขที่ห้องสมุดกำหนด

 

 

4.1.3 ความถี่และความสม่ำเสมอในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของห้องสมุดสีเขียว

 

 

ในปีงบประมาณ 2566 กองหอสมุดฯ ได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของห้องสมุดสีเขียว จำนวน 4 กิจกรรม ดังนี้

- วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 การจัดการความรู้ สท. เรื่อง “5ส และมาตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม” 

- วันที่ 4 มิถุนายน 2566 การเยี่ยมชมและศึกษาดูงานของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ มีนักเรียนจำนวน 156 คน และครู จำนวน 13 คน

- วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 สท. ร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เข้าร่วมโครงการ “PEA หมู่บ้านช่อสะอาด” ณ โรงเรียนบ้านม่วงใหม่ จังหวัดน่าน

- วันที่ 15 สิงหาคม 2566 สท. ร่วมกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาชิกเครือข่ายห้องสมุดสีเขียวเข้าร่วมโครงการ “PEA หมู่บ้านช่อสะอาด” ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดเทวสุนทร เขตจตุจักร จังหวัดกรุงเทพฯ

4.1.4 จัด Green Corner หรือพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของห้องสมุดสีเขียวโดยแสดงข้อมูลต่อไปนี้และมีการปรับปรุงข้อมูลเป็นประจำทุกเดือนเป็นอย่างน้อย

(1) นโยบายห้องสมุดสีเขียว และสำนักงานสีเขียว (ปรับปรุงข้อมูลเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง)

 

กองหอสมุดฯ มีการปรับปรุงข้อมูลนโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว ในหน้าเว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียว เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง โดยในปีงบประมาณ 2566 มีการกำหนดนโยบายสีเขียว ดังนี้ "

“สท.วศ. เป็นห้องสมุดที่ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” 

ประกาศใช้เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2565 ลงนามโดยนางสาวปัทมา นพรัตน์ ผู้อำนวยการกองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี               

      นโยบายห้องสมุดสีเขียว

               

(2) ข่าวสาร กิจกรรม มาตรการ ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของห้องสมุด

 

กองหอสมุดฯ มีการเผยแพร่ข่าวสาร กิจกรรม มาตรการด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของห้องสมุด ดังนี้

(3) ผลการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียวและแสดงข้อมูลประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้า ผลการประหยัดน้ำการประหยัดทรัพยากร และปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

 

กองหอสมุดฯ ได้ดำเนินงานห้องสมุดสีเขียวละมีการแสดงข้อมูลประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้า ผลการประหยัดน้ำ การประหยัดทรัพยากร และปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนี้

(4) สื่อความรู้ และเอกสารเผยแพร่ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

 

กองหอสมุดฯ ได้จัดทำสื่อความรู้ และเอกสารเผยแพร่ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

4.2 ประเมินผลการเรียนรู้

4.2.1 ร้อยละของจำนวนกิจกรรมที่มีการประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการวัดความรู้

 

 

 

4.2.2 ร้อยละของจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ผ่านการประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการวัดความรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรม (เกณฑ์การวัดความรู้พิจารณาจากคะแนนผ่านที่ร้อยละ 60)

 

 

 

4.2.3 ร้อยละของจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีผลประเมินด้านพฤติกรรมในเชิงบวกหลังเข้าร่วมกิจกรรม โดยจัดกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมาย อย่างน้อย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มบุคลากร และกลุ่มผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

    

กองหอสมุดฯ ได้มีการสำรวจพฤติกรรมการลด/การแยก/การนำขยะกลับมาใช้ใหม่ และการอนุรักษ์พลังงานของบุคลากร สท. เป็นประจำทุกปี

4.2.4 การปรับปรุงกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

(1) สรุปผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งหมดในรอบปี

 

กองหอสมุดฯ มีการสรุปผลการดำเนินการคณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว เป็นประจำทุกปี 

รายงานผลการดำเนินงาน คณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว สท. ประจำปีงบประมาณ 2566

รายงานผลการดำเนินงาน คณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว สท. ประจำปีงบประมาณ 2565

รายงานผลการดำเนินงาน คณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว สท. ประจำปีงบประมาณ 2564

(2) มีการวิเคราะห์ปัญหา และผลประเมินการเรียนรู้เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนากิจกรรม

 

 

มีการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนากิจกรรม

(3) จัดทำแผนปรับปรุงและพัฒนากิจกรรม

 

 

จัดปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ

(4) จัดทำรายงานผลการจัดกิจกรรมเสนอผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง

 

กองหอสมุดฯ มีการจัดทำรายงานผลการดำเนินการคณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียวเสนอผู้บริหารโดยจัดทำหนังสือเสนอ และผู้เกี่ยวข้องโดยแจ้งเวียนในไลน์กลุ่ม