0 2201 7250-6

ฮิต: 52

หมวดที่ 1 การกำหนดนโยบาย การวางแผนการดำเนินงานและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน

1.1.1 มีบริบทองค์กรและขอบเขตของ การบริหารจัดการห้องสมุดที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม
       (1) มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ของ ห้องสมุดทั้งหมด ทั้งส่วนของ สำนักงาน และพื้นที่บริการ
       (2) มีการกำหนดขอบเขตกิจกรรมของ ห้องสมุด

คำอธิบาย
        ห้องสมุด หมายถึง ห้องสมุดทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่จัดตั้งเพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ ให้บริการ ทรัพยากรสารสนเทศ อาจมีชื่อเรียกว่า หอสมุด ห้องสมุด สำนักหอสมุด สถาบันวิทยบริการ สำนักวิทย บริการ ศูนย์บรรณสาร ศูนย์สารสนเทศ หรือชื่ออื่นใดที่มีภารกิจในทำนองเดียวกัน โดยพื้นที่ห้องสมุดนอกจากพื้นที่บริการ ยังรวมไปถึงพื้นที่สำนักงานของห้องสมุด และพื้นที่ใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้แก่ พื้นที่ รับประทานอาหาร พื้นที่ประกอบอาหาร ห้องน้ำ ลานจอดรถ พื้นที่รองรับของเสีย ระบบบำบัดของเสีย

   

1.1.2 มีนโยบายห้องสมุดสีเขียวและ สำนักงานสีเขียวที่สอดคล้องและ ครอบคลุมประเด็นตามเกณฑ์ห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว โดยแสดงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อม ดังนี้

ด้านห้องสมุด
        (1) มีนโยบายการ บริหารจัดการ ห้องสมุดสีเขียวและการปรับปรุง อย่างต่อเนื่อง
        (2) มีนโยบายการจัดการและให้บริการ ทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง ให้เพียงพอ และพร้อมใช้
        (3) มีนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ด้าน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่อง ที่เกี่ยวข้อง
        (4) มีนโยบายการสร้างเครือข่ายความ ร่วมมือ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
       (รายละเอียดเป็นไปตามเกณฑ์การ ประเมินสำนักงานสีเขียว)

   
1.1.3 การกำหนดนโยบายห้องสมุดสี เขียว โดยผู้บริหารระดับสูง
        (1) นโยบายห้องสมุดสีเขียวจะต้องได้รับ การอนุมัติจากผู้บริหารสูงสุด หรือผู้ ที่ได้รับมอบอำนาจ
        (2) มีการระบุวันที่การประกาศใช้ นโยบายห้องสมุดสีเขียวอย่างชัดเจน
        (3) ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้อง สามารถอธิบายถึงวัตถุประสงค์และ จุดมุ่งหมายของการเป็นห้องสมุดสี เขียว
        (4) ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้องมีส่วน ในการติดตามผลการปฏิบัติตาม นโยบายห้องสมุดสีเขียว
   
1.1.4 มีการกำหนดแผนการดำเนินงาน ห้องสมุดสีเขียวประจำปี
        (1) รายละเอียดของแผนจะต้องระบุการ ดำเนินงานครบทุกหมวด
        (2) มีการกำหนดเวลาหรือความถี่ของ การดำเนินงานแต่ละหมวด
        (3) มีการกำหนดแผนดำเนินงานเป็น ลายลักษณ์อักษร และได้รับการ อนุมัติจากผู้บริหาร
   
1.1.5 มีการกำหนดเป้าหมาย และ ตัวชี้วัดที่ชัดเจนด้านห้องสมุด (ตาม เกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว) และมีหลักฐาน การลงนามอนุมัติและวันที่ประกาศใช้ อย่างชัดเจนและเป็นปัจจุบัน ดังนี้
        (1) การจัดการและการให้บริการ ทรัพยากรสารสนเทศ ด้านทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม
        (2) การส่งเสริมการเรียนรู้เรื่อง ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และก๊าซ เรือนกระจก
        (3) การจัดกิจกรรมห้องสมุดสีเขียว ร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือ
        (4) ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ห้องสมุดสีเขียว
   
1.1.6 มีการกำหนดให้งานห้องสมุดสี เขียว ทั้งด้านห้องสมุด และด้าน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็นงาน ประจำของหน่วยงาน ดังนี้
        (1) มีการกำหนดแผนงานห้องสมุดสี เขียวทั้งด้านห้องสมุด และด้าน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้เป็น แผนงานประจำของห้องสมุด โดย ดำเนินการต่อเนื่องทุกปี
        (2) มีการสรุปปัญหาและแนวทางการ ปรับปรุง เป็นข้อมูลเพื่อกำหนด แผนงานห้องสมุดสีเขียวในปีต่อไป
        (3) มีการบูรณาการงานด้านห้องสมุด และงานด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ภายใต้แผนงานพัฒนา ห้องสมุดสีเขียว
        (4) กำหนดให้งานห้องสมุดสีเขียว เป็น ภาระงานของบุคลากรที่ต้องได้รับ การประเมิน
   
1.1.7 มีการกำหนดนโยบายลดการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก สอดคล้องกับ นโยบายขององค์กร หรือนโยบายของ ประเทศ หรือนโยบายตามบริบทสากล ดังนี้
        (1) มีการกำหนดนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน ( Carbon Neutrality) หรือ นโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็น ศูนย์(Net Zero) ของห้องสมุด
        (2) มีการกำหนดเป้าหมายและแผนงาน การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ระยะสั้นและระยะยาวของห้องสมุด ที่สอดคล้องกับนโยบายตามข้อ (1)
        (3) มีการลด และ/หรือ ชดเชยการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก
        (4) ผลการลดการปล่อยก๊าซเรือน กระจก เป็นไปตามเป้าหมายที่ กำหนดในข้อ (2)
 
คำอธิบาย
        - ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas : GHG) หมายถึง สารประกอบในรูปของก๊าซในบรรยากาศ ทั้งที่มีอยู่ในธรรมชาติและสร้างขึ้นโดยมนุษย์ ซึ่งสามารถดูดซับและปล่อยรังสีที่มีความยาวเคลื่อน อยู่ในช่วงความถี่ของอินฟาเรดที่ถูกปล่อยออกมาจากพื้นผิวโลกชั้นบรรยากาศและก้อนเมฆ
        - ชนิดของก๊าซเรือนกระจกที่ประเมิน ประกอบด้วยก๊าซ 7 ชนิดตามพิธีสารเกียวโต ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs) ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) และไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ NF3)
        - ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็น ศูนย์ (Net Zero) ให้ดูนิยามหรือคำอธิบายขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การ มหาชน) ที่ http://www.tgo.or.th/
        - การกำหนดค่าเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กำหนดได้ 2 รูปแบบ ดังนี้
          1. ห้องสมุดสามารถกำหนดค่าเป้าหมายที่สอดคล้องกับบริบทของห้องสมุด หรือค่าเป้าหมายที่ สอดคล้องกับหน่วยงานต้นสังกัด หรือค่าเป้าหมายอื่นใด โดยมีเหตุผลที่เหมาะสมในการ กำหนดค่าเป้าหมายและสามารถชี้แจงได้อย่างสมเหตุสมผล
          2. การกำหนดค่าเป้าหมาย โดยใช้การกำหนดเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ หรือ Science Based Targets (SBT) ซึ่งเป็นการกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่สอดคล้องกับเป้า หมายความตกลงปารีส บนพื้นฐาน Climate Science โดยมีเป้าหมายในการจำกัดอุณหภูมิ เฉลี่ยของโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส และมุ่งสู่การจำกัดอุณหภูมิไว้ให้ไม่เกิน 1.5 องศา เซลเซียส การกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกโดยใช้เครื่องมือ Science-based Targets (SBT) สามารถดูรายละเอียดได้ที่ https://sciencebasedtargets.org/
   
1.2.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือ ทีมงานห้องสมุดสีเขียว ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการด้าน ห้องสมุด และคณะกรรมการด้าน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยมี แนวทางดำเนินงาน ดังนี้
        (1) ผู้บริหารแต่งตั้งคณะกรรมการหรือ ทีมงานห้องสมุดสีเขียว ซึ่งประกอบด้วยงานด้านห้องสมุดและ ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็น ลายลักษณ์อักษร และลงนามอนุมัติ การแต่งตั้งคณะกรรมการหรือ ทีมงานจะต้องครอบคลุมทุกหมวด และประกอบด้วยบุคลากร/ผู้แทน จากทุกฝ่ายในหน่วยงาน
        (2) กำหนดอำนาจ บทบาท หน้าที่ ความ รับผิดชอบของคณะกรรมการหรือ ทีมงาน อย่างชัดเจน
 

คำอธิบาย
        - การแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานห้องสมุดสีเขียว ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการด้านห้องสมุด และคณะกรรมการด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ควรแต่งตั้งรวมเป็นคณะกรรมการชุดเดียวกัน เนื่องจากงานห้องสมุดสีเขียว และสำนักงานสีเขียวมีความสัมพันธ์กัน จำเป็นต้องประสานงานและ บูรณาการทำงานร่วมกัน ทั้งนี้ ควรกำหนดบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ ให้ครอบคลุมและ ชัดเจน

   
1.2.2 ร้อยละของคณะกรรมการหรือ ทีมงานห้องสมุดสีเขียว ด้านห้องสมุด ที่ดำเนินงานตามบทบาท หน้าที่ตามที่ ได้รับมอบหมาย ดังนี้
        (1) ประธาน/หัวหน้า
        (2) คณะกรรมการหรือทีมงานด้านห้องสมุด
 
หมายเหตุ   ร้อยละของจำนวนกรรมการ/ทีมงาน พิจารณาจากจำนวนกรรมการด้านห้องสมุด
คำอธิบาย
        - ร้อยละของคณะกรรมการ หรือทีมงานห้องสมุดสีเขียว ที่ดำเนินงานตามบทบาท หน้าที่ตามที่ได้รับ มอบหมาย ประเมินเฉพาะคณะกรรมการหรือทีมงานด้านห้องสมุด ในส่วนของคณะกรรมการหรือ ทีมงานด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จะได้รับการประเมินและให้คะแนนในแบบประเมินของ สำนักงานสีเขียว
   
1.3.1 การกำหนดองค์ประชุมทบทวน ฝ่ายบริหาร
        (1) มีผู้บริหารเข้าร่วมประชุม
        (2) มีตัวแทนของแต่ละฝ่าย/แผนก/ส่วน งานที่มีความเกี่ยวข้องกับการ ดำเนินงานด้านห้องสมุด ในแต่ละ หมวดเข้าร่วมประชุม
        (3) จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมจะต้อง มากกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนผู้ที่ เป็นคณะกรรมการห้องสมุดสีเขียว และสำนักงานสีเขียว พร้อมหลักฐาน การลงนามเข้าร่วมประชุม
        (4) หากผู้ที่จะต้องเข้าประชุมไม่สามารถ เข้าร่วมได้ จะต้องมีวิธีการรายงาน ผลการประชุมให้รับทราบ พร้อมรับ ข้อเสนอแนะ
 
คำอธิบาย
        - การกำหนดองค์ประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร ควรดำเนินการร่วมกันทั้งด้านห้องสมุด และด้าน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
   
1.3.2 มีการกำหนดวาระการประชุม และทำการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร ดังนี้
       (1) มีการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
       (2) วาระที่ 1 การติดตามผลการประชุม ทบทวนฝ่ายบริหารที่ผ่านมาทั้งด้าน ห้องสมุด และด้านทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อม
       (3) วาระที่ 2 ทบทวนนโยบายห้องสมุด สีเขียว
       (4) วาระที่ 3 ความมีประสิทธิภาพของ คณะกรรมการหรือทีมงานด้าน ห้องสมุด และด้านทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อม (ความเพียงพอและ ความเหมาะสม)
       (5) วาระที่ 4 การติดตามผลการ ดำเนินงานด้านห้องสมุด และด้าน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
       (6) วาระที่ 5 การเปลี่ยนแปลงที่จะ ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการ ดำเนินงานด้านห้องสมุด และด้าน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
       (7) วาระที่ 6 ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม และแนวคิดของผู้บริหารต่อการ พัฒนาห้องสมุดสีเขียวอย่างต่อเนื่องทั้งด้านห้องสมุดและด้านทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม
       (8) จัดทำรายงานการประชุมทบทวน ฝ่ายบริหาร รายชื่อผู้เข้าประชุมและ ภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นว่ามีการ ประชุมจริง
   
1.4.1 มีการรวบรวมกฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน โดยมีแนวทางการดำเนินงานดังนี้
         (1) ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจในการรวบรวม กฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
         (2) จัดทำรายการกฎหมายที่ครอบคลุม ปัญหาสิ่งแวดล้อมและบริบทของ สำนักงาน
         (3) สามารถระบุแหล่งที่มาของกฎหมาย และข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้
         (4) สามารถระบุความเกี่ยวข้องของกฎหมายกับประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมได้
         (5) กฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ที่เกี่ยวข้องจะต้องเป็นปัจจุบัน
         (6) มีการรวบรวมและทบทวนกฎหมาย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
 
คำอธิบาย
          1. กฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย หมายถึง กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับปัญหา สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของสำนักงานนั้นๆ โดยจะต้องพิจารณาประเด็นจากบริบทของ สำนักงาน และข้อ 1.3 การระบุประเด็นปัญหาทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมร่วมด้วย เช่น กฎหมาย ควบคุมมลพิษทางน้ำ การจัดการขยะ อัคคีภัย แสงสว่าง บุหรี่ พลังงาน เป็นต้น
          2. กฎหมายสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น หมายถึง บทบัญญัติเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในท้องถิ่นที่สำนักงาน นั้นๆ ตั้งอยู่ 3. แหล่งที่มาของกฎหมาย จะต้องเป็นแหล่งที่น่าเชื่อถือ เช่น หน่วยงานราชการ website รวบรวมกฎหมายโดยเฉพาะ (www.pcd.go.thwww.diw.go.thwww.shawpat.or.th www.ratchakitcha.soc. go.th เป็นต้น)
   
1.4.2 ประเมินความสอดคล้องของ กฎหมายกับการดำเนินงานการจัดการ สิ่งแวดล้อมของสำนักงาน โดยมีการดำเนินการดังนี้
         (1) ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจในการ ประเมินความสอดคล้องของ กฎหมายกับการดำเนินงานการ จัดการสิ่งแวดล้อม
         (2) มีการประเมินความสอดคล้องของ กฎหมายครบถ้วน
         (3) มีการอ้างอิงหลักฐานการปฏิบัติตาม กฎหมายอย่างครบถ้วนและถูกต้องกรณีที่พบว่าการดำเนินงานไม่ สอดคล้องกับกฎหมาย จะต้องมีการ วิเคราะห์สาเหตุ และกำหนดแนว ทางการแก้ไข (ถ้ามี)
         (4) มีการกำหนดความถี่ในการประเมิน ความสอดคล้องของกฎหมายอย่าง น้อยปีละ 1 ครั้ง ที่เหมาะสมและมี การปฏิบัติตามที่กำหนดได้
 
คำอธิบาย
การปฏิบัติตามกฎหมาย
          1. สอดคล้องกับกฎหมาย หมายถึง สำนักงานมีการปฏิบัติเป็นไปตามที่กฎหมายนั้นๆ ได้กำหนดไว้ และ จะต้องอ้างอิงหลักฐานของการปฏิบัติตามกฎหมาย โดยสามารถอ้างอิงจากภาพถ่าย เอกสารการ ดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายเรื่องนั้นๆ
          2. ไม่สอดคล้องกับกฎหมาย หมายถึง สำนักงานไม่มีการปฏิบัติเป็นไปตามที่กฎหมายนั้นๆ ได้กำหนดไว้ หรือปฏิบัติผิดกฎหมาย หรือละเมิดกฎหมาย
          3. เพื่อทราบ หมายถึง กฎหมายที่ไม่ได้มีบทใช้บังคับกับสำนักงาน แต่สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางใน การปฏิบัติได
   
(สำหรับหน่วยงานต่ออายุ)
1.4.3 การวางแผนและดำเนินการตรวจ ประเมินภายใน ด้านห้องสมุด (ด้าน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็นไปตาม เกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว)
        (1) มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจ ประเมินภายใน ด้านห้องสมุด ประกอบด้วย หัวหน้าผู้ตรวจประเมิน และผู้ตรวจประเมิน ที่มีความรู้และ ประสบการณ์เรื่องห้องสมุดสีเขียว
        (2) มีการกำหนดความถี่ในการตรวจ ประเมินภายใน ด้านห้องสมุด อย่าง น้อยปีละ 1 ครั้ง
        (3) มีการจัดทำข้อกำหนดการตรวจ ประเมินภายใน ด้านห้องสมุด ครอบคลุมทุกหมวด
        (4) กำหนดให้ ผู้ตรวจประเมินภายในด้าน ห้องสมุดแต่ละหมวดมีความเพียงพอและเหมาะสม มีความเป็นอิสระใน การตรวจประเมินอย่างชัดเจน
        (5) ดำเนินการตรวจประเมินภายใน ด้าน ห้องสมุด ครบถ้วนทุกหมวด
   
1.5.1 การเก็บข้อมูลก๊าซเรือนกระจก จากกิจกรรมในสำนักงาน จะต้อง ประกอบไปด้วย
        (1) ปริมาณการใช้ไฟฟ้า
        (2) ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงสำหรับการ เดินทาง
        (3) ปริมาณการใช้น้ำประปา
        (4) ปริมาณการใช้กระดาษ
        (5) ปริมาณการเกิดของเสีย (ฝังกลบ)

(โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์การปลดปล่อยก๊าซ เรือนกระจก (Emission Factor ; EF) ของ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ล่าสุด)
 
คำอธิบาย
       1. แหล่งสืบค้นค่าสัมประสิทธิ์การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor ; EF) คือ http://www.tgo.or.th/
       2. ปริมาณการเกิดของเสีย (ฝังกลบ) หมายถึง ขยะทั่วไปหรือขยะที่องค์กรพิจารณาแล้วว่าไม่สามารถ นำกลับไปใช้ประโยชน์ จะต้องเข้าสู่กระบวนการฝังกลบ โดยมีหน่วยงานมารับไปสู่หลุมฝังกลบ
   
1.5.2 ปริมาณก๊าซเรือนกระจกบรรลุเป้าหมาย
        กรณีบรรลุเป้าหมาย
       (1) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
 
       กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
       (1) มีการวิเคราะห์สาเหตุในกรณีที่ไม่ บรรลุเป้าหมาย
       (2) มีแนวทางการแก้ไขในกรณีที่ไม่ บรรลุเป้าหมาย
       (3) มีการติดตามผลหลังแก้ไข
 
หมายเหตุ
        1. กรณีสำนักงานขอการรับรองใหม่ สำนักงานจะต้องการสรุปและวิเคราะห์ปริมาณก๊าซเรือนกระจกเป็น รายเดือน
        2. กรณีสำนักงานต่ออายุสำนักงานสีเขียว และขอยกระดับสำนักงานสีเขียว จะต้องสรุปและวิเคราะห์ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกย้อนหลัง 3 ปี เป็นภาพรวมของแต่ละปี หากเป็นปีปัจจุบันจะต้องสรุปและ วิเคราะห์ผลเป็นรายเดือน
        3. ปริมาณก๊าซเรือนกระจกหากไม่ลดลงตามเป้าหมายที่กำหนด สำนักงานต้องอธิบายได้ประกอบกับ ผู้ตรวจประเมินจะต้องใช้ดุลยพินิจในการพิจารณา เช่น ไม่ลดลงเนื่องจากมีการจัดประชุมเพิ่ม มีเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่ม มีการเดินทางเพิ่ม มีการขยายพื้นที่ หรือบุคลากรเพิ่ม เป็นต้น ถือว่าให้ 4 คะแนน แต่ถ้าสาเหตุเกิดจากขาดความตระหนักจากการใช้หรือมาตรการไม่ได้ผล จะได้ เพียง 3 คะแนน
        4. กรณีต้องการเปรียบเทียบแนวโน้มของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแต่ละปี สามารถใช้ค่าสัมประสิทธิ์การ ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor ; EF) ปีปัจจุบันคำนวณย้อนหลังได
        5. สามารถใช้แบบฟอร์ม 1.7.1 หรือแบบฟอร์มที่หน่วยงานกำหนดขึ้น เพื่อบันทึกใบขอให้แก้ไขและ ป้องกันข้อบกพร่องร่วมได้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางการแก้ไข
   
1.5.3 ร้อยละของบุคลากรมีความเข้าใจ และการรับรู้ปริมาณก๊าซเรือนกระจก ของสำนักงาน โดยจะต้องสอบถามดังนี้
        (1) ความสำคัญของก๊าซเรือนกระจกกับ การทำสำนักงานสีเขียว
        (2) แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือน กระจก
        (3) ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักงาน เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมาย
 
หมายเหตุ
        1. บุคลากรที่ถูกสอบถามจะต้องอธิบาย ให้ได้ทั้ง 3 ข้อ
        2. สอบถามบุคลากร 4 คนขึ้นไป
   
1.6.1 การกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และโครงการสิ่งแวดล้อม จะต้องมีการดำเนินการดังนี้
        (1) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย จะต้อง สอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อม หรือปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ หรือกฎหมายสิ่งแวดล้อม
        (2) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย สามารถ วัดผลได้
        (3) กิจกรรม/นวัตกรรมที่กำหนดใน โครงการสิ่งแวดล้อมมีความสอดคล้อง กับวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
        (4) ระยะเวลาการทำโครงการมีความ เหมาะสม
        (5) โครงการมีการกำหนดผู้รับผิดชอบ อย่างชัดเจน และจะต้องมีความเข้าใจ
 
หมายเหตุ กรณีที่สำนักงานไม่มีกิจกรรม มาตรการหรือแนวทางการปฏิบัติในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่มีนัยสำคัญมาก่อน สามารถอ้างอิงกิจกรรมที่ถูกกำหนดในตัวโครงการ
 
คำอธิบาย
         1. เป้าหมายที่กำหนดจะต้องมีความแตกต่างจากเป้าหมายของการใช้ทรัพยากร พลังงาน และปริมาณ ของเสียที่กำหนดในข้อ 1.1.5
         2. เป้าหมายสามารถถูกวัดได้ในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ
         3. กิจกรรมในโครงการจะต้องแตกต่างจากมาตรการการใช้ทรัพยากรและพลังงาน มาตรการจัดการของเสีย และอื่นๆที่กำหนดในหมวดที่ 3 หมวดที่ 4 หมวดที่ 5 และหมวดที่ 6 (สามารถแสดงนวัตกรรม แนวทาง/แนวคิดใหม่)
         4. ระยะเวลาในการดำเนินโครงการจะต้องพิจารณาจากความยากง่ายของวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย
         5. นวัตกรรม หมายถึง การทำสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีใหม่ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางความคิด กระบวนการ ทำงาน หรือเทคโนโลยี เพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อยอด
   
1.6.2 ผลสำเร็จของวัตถุประสงค์และ เป้าหมาย แนวทางการปรับปรุงอย่าง ต่อเนื่องและยั่งยืน
        (1) มีแผนการดำเนินโครงการหรือ นวัตกรรมที่ชัดเจน
        (2) ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ อย่างต่อเนื่อง
        (3) มีการกำหนดความถี่ในการติดตามผล และปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่อง
        (4) มีการติดตามความก้าวหน้าของ โครงการ
        (5) ดำเนินการเสร็จสิ้นและบรรลุตาม เป้าหมายที่กำหนด / กรณีที่ไม่บรรลุ เป้าหมายมีการทบทวนเพื่อหา สาเหตุและแนวทางแก้ไข
        (6) มีการกำหนดแนวทางเพื่อให้เกิด ความต่อเนื่องและยั่งยืนหลังบรรลุ เป้าหมายตามที่กำหนด
 
กรณีโครงการแล้วเสร็จ
        1. บรรลุผล จะต้องเสนอแนวทางเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง เช่น นำกิจกรรมหรือนวัตกรรม หรือ แนวทาง การดำเนินการไปเพิ่มเติมในมาตรการเดิมที่มี เป็นต้น
        2. ไม่บรรลุผล จะต้องแสดงหลักฐานการหาสาเหตุ และแนวทางการแก้ไข ซึ่งสามารถใช้แบบฟอร์ม 1.7.1 ใบขอให้แก้ไขและป้องกันข้อบกพร่องร่วมได้
 
กรณีโครงการไม่แล้วเสร็จ
       1. ผู้ตรวจประเมินจะต้องพิจารณา รายงานสรุปผลความคืบหน้าของโครงการ ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ จนถึงปัจจุบัน โดยจะต้องอ้างอิงตามแผนการดำเนินโครงการสิ่งแวดล้อมแบบฟอร์ม 1.6.1 แผนงาน โครงการและกิจกรรมขององค์กร
      2. กรณีพบแนวโน้มไม่บรรลุเป้าหมาย จะต้องแสดงหลักฐานการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางการแก้ไข เพื่อส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของโครงการ
   
1.7.1 การกำหนดองค์ประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร
       (1) มีผู้บริหารเข้าร่วมประชุม
       (2) มีตัวแทนของแต่ละฝ่าย/แผนก/ส่วน งานที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในแต่ละหมวดเข้าร่วมประชุม
       (3) จำนวนผู้เข้าร่วมการประชุมจะต้อง มากกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนผู้ที่ เป็นคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว พร้อมหลักฐานการลงนามเข้าร่วม ประชุม
       (4) หากผู้ที่จะต้องเข้าประชุมไม่สามารถ เข้าร่วมได้ จะต้องมีวิธีการรายงาน ผลการประชุมให้รับทราบ พร้อมรับ ข้อเสนอแนะ
   
1.7.2 มีการกำหนดวาระการประชุม และทำการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร ดังนี้
        (1) มีการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
        (2) วาระที่ 1 การติดตามผลการประชุม ทบทวนฝ่ายบริหารที่ผ่านมา
        (3) วาระที่ 2 นโยบายสิ่งแวดล้อม
        (4) วาระที่ 3 ความมีประสิทธิภาพของ คณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม (ความเพียงพอและ ความเหมาะสม)
        (5) วาระที่ 4 การติดตามผลการ ดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม การสื่อสารและข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงแนวทางการแก้ไขปรับปรุง และพัฒนา
        (6) วาระที่ 5 การเปลี่ยนแปลงที่จะ ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการ ดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
        (7) วาระที่ 6 ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม และวิสัยทัศน์ แนวคิดของผู้บริหาร ของการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว อย่างต่อเนื่อง
        (8) จัดทำรายงานการประชุมทบทวน ฝ่ายบริหาร และภาพถ่ายที่แสดงให้ เห็นว่ามีการประชุมจริง
 
คำอธิบาย
        1. วาระที่ 4 การติดตามผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม การสื่อสารและข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงแนวทางการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนา หมายถึง การรายงานผลการ ดำเนินงานสำนักงานสีเขียวทุกหมวด หากมีประเด็นข้อบกพร่องหรือปัญหา ต้องรายงานแนวทางการ แก้ไขปรับปรุงและพัฒนา
       2. วาระที่ 5 การเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ แนวคิดผู้บริหาร กิจกรรม งบประมาณ บุคลากร เทคโนโลยี สภาพแวดล้อมภายนอกสำนักงาน เศรษฐกิจ เป็นต้น หากพบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะต้องนำเข้าที่ประชุมเพื่อหาแนวทางหรือกลยุทธ์ในการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ส่งผลให้ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมสามารถดำเนินการ ต่อเนื่องได้
       3. วาระที่ 6 ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม และวิสัยทัศน์ แนวคิดของผู้บริหารของการดำเนินงานสำนักงาน สีเขียวอย่างต่อเนื่อง จะเน้นการวางแผนการดำเนินงานเพื่อนำไปปฏิบัติในรอบถัดไป
 
หมวด: