0 2201 7250-6

ฮิต: 31

หมวดที่ 7 การจัดการของเสีย 


หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน

7.1.1 มีการดำเนินงานตามแนว ทางการคัดแยก รวบรวม และกำจัด ขยะอย่างเหมาะสม มีแนวทางการ ดำเนินงาน ดังนี้
        (1) มีการคัดแยกขยะตามประเภทขยะที่ เกิดขึ้นจากกิจกรรมภายในสำนักงาน และจัดวางถังขยะตามพื้นที่ทำงานต่างๆ อย่างเหมาะสมทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ
        (2) มีการติดป้ายบ่งชี้ประเภทขยะอย่าง ถูกต้องและชัดเจนทุกถังที่สุ่ม ตรวจสอบ
        (3) มีจุดพักขยะที่เหมาะสมตามหลัก วิชาการ โดยจะต้องมีพื้นที่รองรับขยะแต่ละประเภทจากข้อ (1) อย่าง เพียงพอ
        (4) มีการทิ้งขยะถูกต้องทุกจุดที่สุ่ม ตรวจสอบ
        (5) มีการส่งขยะให้ อปท. หรือผู้รับจ้างที่ ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
        (6) มีการติดตาม ตรวจสอบการกำจัด ขยะของผู้รับจ้างให้มีการจัดการ อย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ (กรณีส่งให้ อปท.ให้ถือว่ามีการ จัดการอย่างเหมาะสม)
        (7) ไม่มีการเผาขยะในบริเวณหรือพื้นที่ ของสำนักงาน (ยกเว้นเตาเผาที่ได้รับ การอนุญาตอย่างถูกต้อง)

 

   
7.1.2 การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ หรือนำกลับมาใช้ใหม่ส่งผลให้ขยะที่จะส่งไปกำจัดมีปริมาณน้อยลง
        (1) มีการนำขยะกลับมาใช้ใหม่
        (2) มีการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละ ประเภทครบถ้วนทุกเดือน
        (3) มีการวิเคราะห์ปริมาณขยะเทียบค่า เป้าหมายที่ได้กำหนดจากหมวด 1 ข้อ 1.1.5
        (4) ปริมาณขยะที่ส่งกำจัดมีแนวโน้ม ลดลง
 
คำอธิบาย
        (1) การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ หรือนำกลับมาใช้ใหม่ หมายถึง การนำขยะทุกประเภทที่สามารถนำ กลับมาใช้ใหม่หรือสามารถสร้างประโยชน์ได้ ส่งผลต่อการลดภาระต่อสิ่งแวดล้อมโดยการฝังกลบหรือ เผาทำลายในเตาเผา เป็นต้น
        (2) ร้อยละของปริมาณขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่  =   (ปริมาณขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่สะสม x 100) / ปริมาณขยะทั้งหมดสะสม
        (3) ร้อยละของปริมาณขยะทั่วไป = (ปริมาณขยะทั่วไปสะสม x 100) / ปริมาณขยะทั้งหมดสะสม
        (4) นวัตกรรม หมายถึง การทำสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีใหม่ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางความคิด กระบวนการ ทำงาน หรือเทคโนโลยี เพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อยอด
   
7.2.1 การจัดการน้ำเสียของสำนักงาน และคุณภาพน้ำทิ้งจะต้องอยู่ใน มาตรฐานกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยมีแนวทาง ดังนี้
        (1) การกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลการ จัดการน้ำเสีย และจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแล
        (2) มีการบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ เช่น มีตะแกรงดักเศษอาหาร มีบ่อดักไขมัน หรือมีระบบบำบัดน้ำเสียเหมาะสมกับ องค์ประกอบของน้ำเสีย
        (3) มีการบำบัดน้ำเสียครบทุกจุดที่ปล่อยน้ำเสีย
        (4) มีผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด
 
คำอธิบาย การบำบัดน้ำเสียครบทุกจุดที่ปล่อยน้ำเสีย หมายถึง การบำบัดน้ำเสียทุกจุดก่อนปล่อยออกสู่สาธารณะ
   
7.2.2 การดูแลอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย โดยมีแนวทางดังนี้
        (1) มีการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย หรือมี การตักและทำความสะอาดเศษ อาหาร และไขมันออกจากตะแกรง ดักขยะ หรือบ่อดักไขมัน ตามความถี่ ที่กำหนดอย่างเหมาะสมกับปริมาณ และการปนเปื้อน
        (2) มีการนำกากตะกอนจากระบบบำบัด น้ำเสีย หรือเศษอาหาร น้ำมันและ ไขมันจากถัง/บ่อดักไขมันไปกำจัด อย่างถูกต้อง
        (3) มีการตรวจสอบ ปรับปรุง ซ่อมแซม ระบบบำบัดน้ำเสียให้สามารถใช้งาน และมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
        (4) มีการตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเสีย อย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการ ปนเปื้อนของน้ำเสียไปยังแหล่งอื่นๆ
   
หมวด: