ชื่อเรื่อง : Safety of Safety Evaluation of Pesticides: developmental neurotoxicity of chlorpyrifos and chlorpyrifos-methyl

ชื่อผู้แต่ง : Axel Mie, Christina Rudén and Philippe Grandjean

แหล่งที่มา : Environmental Health 17 (2018) : Article 77 

บทคัดย่อ : 

          Authorization of pesticides for market release requires toxicity testing on animals, typically performed by test laboratories on contract with the pesticide producer. The latter provides the results and summary to the regulatory authorities. For the commonly used pesticide chlorpyrifos, an industry-funded toxicity study concludes that no selective effects on neurodevelopment occur even at high exposures. In contrast, the evidence from independent studies points to adverse effects of current exposures on cognitive development in children. We reviewed the industry-funded developmental neurotoxicity test data on chlorpyrifos and the related substance chlorpyrifosmethyl. We noted treatment-related changes in a brain dimension measure for chlorpyrifos at all dose levels tested, although not been reported in the original test summary. We further found issues which inappropriately decrease the ability of the studies to reveal true effects, including a dosage regimen that resulted in too low exposure of the nursing pups for chlorpyrifos and possibly for chlorpyrifos-methyl, and a failure to detect any neurobehavioral effects of lead nitrate used as positive control in the chlorpyrifos study. Our observations thus suggest that conclusions in test reports submitted by the producer may be misleading. This discrepancy affects the ability of regulatory authorities to perform a valid and safe evaluation of these pesticides. The difference between raw data and conclusions in the test reports indicates a potential existence of bias that would require regulatory attention and possible resolution.

 

#chlorpyrifos #chlorpyrifos-methyl #คลอร์ไพริฟอส #สารเคมีอันตรายทางการเกษตร

 

ชื่อเรื่อง : พฤติกรรมการสัมผัสสารเคมีกำจัดวัชพืชพาราควอตและการเกิดโรคหนังเน่าของเกษตรกรที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัด                       อุบลราชธานีและศรีสะเกษ

ชื่อผู้แต่ง : สุภาพร ใจการุณ ประกิจ เชื้อชม และ พัชรี ใจการุณ

แหล่งที่มา : วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 11 (3) กันยายน-ธันวาคม 2561 : 495-500

บทคัดย่อ :

         การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกพาพฤติกรรมการสัมผัสสารเคมีกำจัดวัชพืชพาราควอต การเกิดโรคหนังเน่า และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสัมผัสสารเคมีกำจัดวัชพืชพาราควอต กับการเกิดโรคหนังเน่าของเกษตรกรที่ป็นผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 250 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นครื่องมือในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมการสัมผัสสารเคมีกำจัดวัชพืชพาราควอต (การใช้ การป้องกัน และกรสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนสารเคมีกำจัดวัชพืชพาราควอต) และแบบบันทึกการกิดโรคหนังเน่าและการตกค้างของสารเคมีกำจัดวัชพืชพาราควอต ในดินโคลน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติไคสแควร์

          ผลการศึกษาประกอบด้วย 3 ส่วน (1) เกษตรกรที่เป็นผู้ป่วยเบาหวาน มีพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชพาราควอตที่เหมาะสม ทั้งพฤติกรรมการใช้และการป้องกันอันตราย ยกเว้นพฤติกรรมการสัมผ้สสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนสารเคมีกำจัดวัชพืชพาราควอตจากดินโคลน สูงถึงร้อยละ 83.6 และเกษตรกรเป็นผู้ป่วยเบาหวานและมีแผลสัมผัสดินโคลนที่ปนเปื้อนสารเคมีพาราควอต ถึงร้อยละ 82.8 (2) ค่าเฉลี่ยการตกค้างของสารเคมีพาราควอตในดินโคลน เท่ากับ 0.02 ± 0.058  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ (3) มีความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนสารเคมี จากการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชพาราควอต กับการเกิดโรคหนังเน่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .001

 

#พาราควอต #โรคหนังเน่า #สารเคมีกำจัดวัชพืช #วัตถุอันตรายทางการเกษตร #สารเคมีอันตรายทางการเกษตร

ชื่อเรื่อง : ผลกระทบทางสุขภาพจากการใช้พาราควอตและแนวทางจัดการความเสี่ยง กรณีศึกษา ตำบลปงสนุก อำเภอเวียงสา                     จังหวัดน่าน

ชื่อผู้แต่ง : พันธ์เทพ เพชรผึ้ง

แหล่งที่มา : วารสารเภสัชกรรมไทย ปีที่ 7, เล่มที่ 2, ก.ค.-ธ.ค. 2558, หน้า 251-258

บทคัดย่อ :

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการใช้พาราควอตในการเกษตรและจัดทำโครงการนำร่องเพื่อจัดการความเสี่ยงโดยใช้กลไกแบบมีส่วนร่วมของชุมชน

วิธีการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวางซึ่งเก็บข้อมูลจากเกษตรกรผู้ใช้พาราควอตในการเกษตร 147 คน ที่เลือกมาอย่างสุ่มจากทั้งหมด 220 คน ในตำบลปงสนุก อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน การเก็บข้อมูลผลกระทบทางสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันอันตรายใช้การสัมภาษณ์ตามแบบบันทึกข้อมูลที่พัฒนาขึ้น ผู้วิจัยพัฒนาแนวทางจัดการความเสี่ยงแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยใช้มาตรการการลดปริมาณการใช้พาราควอต

ผลการวิจัย: เกษตรกรร้อยละ 54.4 รายงานว่า เกิดผลกระทบทางลบต่อสุขภาพจากการใช้พาราควอต โดยร้อยละ 41.5 เกิด ผิวหนังอักเสบ ร้อยละ 17.0 เกิดอาการตาอักเสบ ร้อยละ 6.8 เกิดภาวะหายใจลำบากหรือไอ ร้อยละ 12.2 เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ร้อยละ 2.0 เล็บมีลักษณะผิดรูป และร้อยละ 12.9 เกิดอาการเวียนศีรษะ เพศชายรายงานว่า มีผลกระทบต่อสุขภาพ มากกว่าเพศหญิง 2.5 เท่าตัว (odds ratio = 2.50; 95%CI=1.1-5.7, p=0.039) ปริมาณการใช้พาราควอตในไร่ข้าวโพดสำหรับ เลี้ยงสัตว์ในช่วงฤดูฝนที่เพิ่มขึ้นทุก 1 ลิตร สัมพันธ์กับโอกาสเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ 1.03 เท่า (odds ratio = 1.03; 95%CI= 1.00-1.06, p=0.039) การไม่สวมหน้ากากปิดปากปิดจมูกหรือสวมเป็นครั้งคราว สัมพันธ์กับการเพิ่มโอกาสเกิดผลกระทบ 6.03 เท่าตัว (95%CI = 2.55-14.26, p<0.001) การไม่สวมถุงมือหรือสวมเป็นครั้งคราวเพิ่มโอกาสเกิดผลกระทบ 3.80 เท่าตัว (95%CI = 1.70-8.52, p<0.001) ชุดและอุปกรณ์ป้องกันที่เกษตรกรมักปฏิเสธการใส่เรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ ผ้ายางคลุมตัว แว่น กันสารเคมี ถุงมือ หน้ากากปิดปากปิดจมูก และเสื้อแขนยาว (ร้อยละ 67.4, 53.1, 8.8, 6.1, และ 2.0 ตามล าดับ) สำหรับโครงการนำร่องเพื่อจัดการความเสี่ยงที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการศึกษานี้คือ การใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ผสมเพื่อลดปริมาณการใช้ พาราควอตในการกำจัดวัชพืช และการลดพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

สรุป: ผลกระทบทางสุขภาพเกือบครึ่งหนึ่งเกิดที่ผิวหนัง การใช้พาราควอตปริมาณมากเกิดจากการทำไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การใช้น้ำหมักชีวภาพทดแทนพาราควอตบางส่วนในการกำจัดวัชพืชและการลดพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อาจจะเป็นมาตรการสำคัญที่จะช่วยลดผลกระทบทางสุขภาพได้

 

#paraquat #พาราควอต #สารเคมีอันตรายทางการเกษตร

 

ชื่อเรื่อง : ผลของสารไกลโฟเซตต่อภาวะเครียดออกซิเดชั่นในสัตว์ทดลองและมนุษย์

ชื่อผู้แต่ง : สุทธิณี สิทธิหล่อ และ รัตนา ทรัพย์บำเรอ

แหล่งที่มา : Journal of Medicine and Health Sciences 25 (2) 2018 : 97-114

บทคัดย่อ : 

          สารไกลโฟเซตเป็นสารที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในภาคการเกษตร เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดวัชพืช ปัจจุบันพบว่า สารไกลโฟเซตสามารถส่งผลกระทบต่อพันธุกรรมและทำให้เกิดความเครียดออกซิเดชั่นได้ โดยภาวะเครียดออกซิเดซั่นเป็นภาวะที่ร่างกายสร้างสารอนุมูลอิสระมากกว่าปกติ ทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายโดยเกิดการทำลายโปรตีน การเกิดลิปิดเปอร์ออกซิเดชั่น การทำลายดีเอ็นเอ และการลดลงของสารต้านอนุมูลอิสระ ดังนั้น ในบทความนี้จะกล่าวถึง (1) สถานการณ์การใช้สารไกลโฟเซตในประเทศไทย (2) กระบวนการทางพิษวิทยาของสารไกลโฟเซต (3) ภาวะเครียดออกซิเดชั่น และ (4) ผลของสารไกลโฟเซตต่อภาวะเครียดออกซิเดชั่น ซึ่งจากการทบทวนวรรณกรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549-2560 พบว่ามีงานวิจัยจำนวน 14 เรื่อง ที่ศึกษาผลของสารไกลโฟเซตต่อภาวะออกซิเดชั่นในสัตว์ทดลอง โดยงานวิจัยที่พบสารไกลโฟเซตมีผลต่อ การทำลายโปรตีนมีจำนวน 2 เรื่อง ผลต่อการเกิดลิปิดเปอร์ออกซิเดชั่นมีจำนวน 5 เรื่อง ผลต่อการเกิดสารต้าน อนุมูลอิสระจำนวน 7 เรื่อง และผลต่อการทำลายดีเอ็นเอจำนวน 7 เรื่อง แต่มีการศึกษาในมนุษย์เพียง 3 เรื่อง ดังนั้น การศึกษาวิจัยในมนุษย์จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อยืนยันผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากการสัมผัสสารไกลโฟเซต และนำไปสู่การกำหนดนโยบายระดับประเทศเพื่อจำกัดหรือควบคุมการใช้สารดังกล่าวในอนาคต

 

#glyphosate  #ไกลโฟเซต #สารเคมีอันตรายทางการเกษตร

ชื่อเรื่อง : การศึกษาความเป็นพิษของไกลโฟเซตทางการค้าต่อการเคลื่อนที่ ขนาดของลำตัว การสืบพันธุ์และกิจกรรมของเอนไซม์                    catalase ของไรแดง Moina macrocopa

ชื่อผู้แต่ง : หัทยา จิตรพัสตร์  ณัฐยา วธาวนิชกุล  และปทุมพร เมืองพระ

แหล่งที่มา : วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. ปีที่ 38 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2558 หน้า 133-143

บทคัดย่อ : 

          สารกำจัดวัชพืชชนิดไกลโฟเซตในชื่อการค้าว่าราวด์อัพ เป็นที่นิยมใช้ในประเทศไทยและมีการชะลงสู่แหล่งน้ำ ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต แต่ข้อมูลผลกระทบต่อสรีระ ชีวเคมี และการสืบพันธุ์ของแพลงก์ตอนสัตว์น้ำจืดยังมีน้อย งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของราวด์อัพต่อการเคลื่อนที่ และพิษเรื้อรังของราวด์อัพต่อการเจริญเติบโต ต่อกิจกรรมของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ catalase ที่ใช้เป็นดัชนีชี้วัดสภาวะความเครียดออกซิเดชัน และความดกของลูกไรแดง (Moina macrocopa) โดยนำตัวอ่อนไรแดงอายุไม่เกิน 1 วัน ไปสัมผัสราวด์อัพความเข้มข้น < EC25 (2, 20, 200 และ 2000 ไมโครกรัมต่อลิตร) เป็นเวลา 7 วัน ผลการศึกษาพบว่า ค่า EC50 ของราวด์อัพต่อการเคลื่อนที่ของไรแดงในเวลา 48 ชั่วโมง มีค่า 3.97 มิลลิกรัมต่อลิตร สำหรับความเป็นพิษเรื้อรัง พบว่า ความเข้มข้นและเวลามีผลต่อขนาดของไรแดง โดยความยาวลำตัวของไรแดงมีค่าเพิ่มขึ้น ยกเว้นในวันที่ 7 ส่วนผลการทดสอบจำนวนลูกทั้งหมดที่เกิดหลังได้รับสาร 7 วัน พบว่า ความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นไม่มีผลต่อความดกของลูก แต่ที่ความเข้มข้น 2 ไมโครกรัมต่อลิตร มีผลทำให้จำนวนลูกครอกแรกเพิ่มขึ้นสูงสุด และราวด์อัพมีผลต่อกิจกรรมของเอนไซม์ catalase เมื่อตัวอ่อนไรแดงสัมผัสสาร เป็นเวลา 48 ชั่วโมง ตั้งแต่ความเข้มข้น 200 ไมโครกรัมต่อลิตร แสดงให้เห็นว่า การปนเปื้อนของราวด์อัพปริมาณน้อยในแหล่งน้ำ ส่งผลกระทบต่อขนาดไรแดง และกิจกรรมของเอนไซม์ catalase แต่ไม่มีผลต่อความดกของลูก

 

#Glyphosate #ไกลโฟเซต #ราวด์อัพ

Search