0 2201 7250-6

หมวดที่ 4 การจัดการของเสียและมลพิษ

ข้อกำหนด : ห้องสมุดมีการจัดการของเสียและมลพิษอย่างมีประสิทธิภาพ มีการจําแนกประเด็นปัญหาด้านของเสียและมลพิษ กําหนดมาตรการการจัดการของเสียและมลพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกอาคารห้องสมุด ตลอดจนบันทึก ติดตาม ตรวจสอบ เพื่อประเมินผล 

แนวทางเชิงปฏิบัติ

4.1 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการจัดการขยะ โดยเลือกวิธีการจัดการที่เหมาะสม ลดปริมาณขยะ (reduce) การใช้ซ้ํา (reuse) การนํากลับมาใช้ใหม่ (recycle) มีการตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยกและบันทึกปริมาณขยะ มีพื้นที่รวบรวมขยะก่อนส่งกําจัดและมีวิธีการส่งกําจัดที่เหมาะสมสําหรับขยะแต่ละประเภท
4.2 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการจัดการน้ําเสียโดยเริ่มจากการวิเคราะห์คุณภาพน้ํา เพื่อเลือกแนวทางในการจัดการน้ําเสียอย่างเหมาะสม เช่น การเลือกใช้น้ํายาทําความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การติดตั้งระบบบําบัดน้ําเสีย เป็นต้น มีการดูแลและตรวจสอบระบบบําบัดน้ําเสียอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการลดปริมาณการใช้น้ํา หรือใช้น้ําอย่างมีประสิทธิภาพ
4.3 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการจัดการมลพิษทางอากาศเช่น ฝุ่นละออง ไรฝุ่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย สารเคมี ควันบุหรี่ เป็นต้น มีการจัดพื้นที่ให้อากาศหมุนเวียนอย่างเพียงพอและถ่ายเทโดยสะดวก มีการกําจัดฝุ่นบนชั้นหนังสืออย่างสม่ําเสมอ รวมทั้งมีการกําหนดและตรวจตราให้ห้องสมุดเป็นเขตปลอดบุหรี่ ตลอดจนมีการจัดการเพื่อควบคุมเสียงในห้องสมุด
4.4 มีการดําเนินกิจกรรม 5 ส.อย่างสม่ําเสมอเพื่อจัดพื้นที่บริการและพื้นที่สํานักงานให้สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย
4.5 กําหนดให้มีแผนงานและดําเนินการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม ระงับเหตุฉุกเฉิน เช่น อัคคีภัย อุทกภัย และวาตภัย เป็นต้น ตามกรอบระยะเวลาที่เหมาะสมหรือตามที่กฎหมายกําหนด รวมทั้ง การดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ระงับเหตุฉุกเฉินดังกล่าว ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ


 

บันทึกปริมาณขยะ ปี 2565

น้ำเสีย 2565 -- การใช้น้ำยาทำความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

มลพิษทางอากาศ -- ผลการตรวจตัวอย่างอากาศและความเข้มแสงสว่าง [2561] [2562] [2563] [2565]

กิจกรรม 5ส 

การเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน -- การดูแลอุปกรณ์ที่ใช้ระงับเหตุฉุกเฉิน -- ถังดับเพลิง   

 

 

 

ข้อกำหนด : ห้องสมุดมีการจัดการของเสียและมลพิษอย่างมีประสิทธิภาพ
การดำเนินงานตามข้อกำหนด หมวดที่ 4

1. แผนงานและดำเนินการจัดการขยะ โดยเลือกวิธีการจัดการที่เหมาะสม ลดปริมาณขยะ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) มีการตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยกและบันทึกปริมาณขยะ มีพื้นที่รวบรวมขยะก่อนส่งกำจัดและมีวิธีการส่งกำจัดที่เหมาะสมสำหรับขยะแต่ละประเภท

     - กิจกรรมลดและคัดแยกขยะภายในอาคารหอสมุดฯ (บันทึกข้อความ 4 เมษายน 2561 และรายงานผล 3 เดือนแรก 28 มิถุนายน 2561)
          - บันทึกข้อความขอจัดกิจกรรมลดและคัดแยกขยะภายในอาคาร สท.
          - แบบบันทึกปริมาณขยะในอาคาร สท. ปี 2562

     - การคัดแยกขยะอินทรีย์ชั่งน้ำหนักและบันทึกข้อมูลก่อนนำไปทิ้งรวมกับขยะของ วศ. โดยมอบหมายให้พนักงานทำความสะอาดดำเนินการทุกวัน
     - การคัดแยกขยะโดยจัดถังทิ้งขยะขวดพลาสติกแยกจากขยะทั่วไป ตั้งจุดคัดแยกขยะกระดาษเป็นกระดาษที่ใช้หน้าเดียวเพื่อนำไปใช้อีกหน้า และกระดาษที่ใช้แล้ว 2 หน้า

2. แผนงานและดำเนินการจัดการน้ำเสียโดยเริ่มจากการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ เพื่อเลือกแนวทางในการจัดการน้ำเสียอย่างเหมาะสม เช่น การเลือกใช้น้ำยาทำความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น มีการดูแลและตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียอย่างต่อเนื่องรวมทั้งการลดปริมาณการใช้น้ำ หรือใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

    การบำบัดน้ำเสียใช้ระบบบำบัดน้ำเสียของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ (รูปผังระบบน้ำเสีย) ส่วนบริเวณโรงอาหารของ วศ. มีการจัดทำบ่อดักไขมัน

3. มีแผนงานและดำเนินการจัดการมลพิษทางอากาศเช่น ฝุ่นละออง ไรฝุ่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย สารเคมี ควันบุหรี่ เป็นต้น มีการจัดพื้นที่ให้อากาศหมุนเวียนอย่างเพียงพอและถ่ายเทโดยสะดวก มีการกำจัดฝุ่นบนชั้นหนังสืออย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการกำหนดและตรวจตราให้ห้องสมุดเป็นเขตปลอดบุหรี่ตลอดจน มีการจัดการเพื่อควบคุมเสียงในห้องสมุด

     -  ตรวจวัดปริมาณฝุ่นละออง ขอความอนุเคราะห์กองผลิตภัณฑ์อุปโภคและเคมีภัณฑ์ กลุ่มคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมวิทยาศาสตร์บริการ เข้าตรวจวัดคุณภาพอากาศ ได้แก่ฝุ่นละออง วันที่ 10-11 พฤษภาคม 2561 ในพื้นที่ทำงานและพื้นที่บริการของอาคารหอสมุดฯ ผลการตรวจวัด พบว่า ผ่านเกณฑ์ (รายงานผลการตรวจวัด และรูปการตรวจวัดตามจุดต่าง ๆ 1 / 2  / 3 )    
     - มีการกำจัดฝุ่นบนชั้นหนังสืออย่างสม่ำเสมอ และกำหนดให้ห้องสมุดเป็นเขตปลอดบุหรี่ (รูปป้ายห้ามสูบบุหรี่)

4. การดำเนินการกิจกรรม 5 ส. อย่างสม่ำเสมอเพื่อจัดพื้นที่บริการและพื้นที่สำนักงานให้สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย

     มีการดำเนินกิจกรรม 5ส ตั้งแต่มีนาคม - กันยายน ๒๕๖๑ อย่างต่อเนื่อง โดยให้ดำเนินการในทุกๆ ช่วงบ่ายวันศุกร์ของสัปดาห์และจัดกิจกรรม Big Clean Day เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2561
        - เอกสารสรุปรายงานการจัดกิจกรรม 5ส และ Big Cleaning Day

5. แผนงานและดำเนินการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม ระงับเหตุฉุกเฉิน เช่น อัคคีภัย อุทกภัย และ วาตภัย เป็นต้น ตามกรอบระยะเวลาที่เหมาะสมหรือตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้ง การดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ระงับเหตุฉุกเฉินดังกล่าว ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

     - กรมวิทยาศาสตร์บริการได้กำหนดแผนบริหารความต่อเนื่องในการปฏิบัติราชการในสภาวะวิกฤต กรกฎาคม 2559 http://www.dss.go.th/images/bcp/bcp_dss2559.pdf

     - มีแผนการดำเนินงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประจำปีงบประมาณ 2561

     - จัดทำคู่มือความปลอดภัยด้านอัคคีภัยภายในอาคาร ดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ระงับเหตุฉุกเฉินให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ (คู่มือความปลอดภัยด้านอัคคีภัยภายในอาคาร)
     - คำสั่งคณะกรรมการบริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ที่ 3/2561
     - รายงานผลการดำเนินงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของ สท. ประจำปีงบประมาณ 2560
     - จัดทำบอร์ดเสนอแนะความคิดเห็นด้านความปลอดภัย (รูปบอร์ดความปลอดภัย)
     - จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องความปลอดภัยฯ เพื่อให้บุคลากรห้องสมุดตระหนักถึงความสำคัญเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2561 (รูปกิจกรรม)
     - เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการฝึกซ้อมดับเพลิงและซ้อมหนีไฟ จัดโดยกรมวิทยาศาสตร์บริการเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2561 (คู่มือ การฝึกซ้อมดับเพลิงฯ วศ. ปี 2561) (รูป1 /  รูป2  /  รูป3

ข้อกำหนด : ห้องสมุดมีการจัดการของเสียและมลพิษอย่างมีประสิทธิภาพ
การดำเนินงานตามข้อกำหนด หมวดที่ 4

1. แผนงานและดำเนินการจัดการขยะ โดยเลือกวิธีการจัดการที่เหมาะสม ลดปริมาณขยะ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) มีการตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยกและบันทึกปริมาณขยะ มีพื้นที่รวบรวมขยะก่อนส่งกำจัดและมีวิธีการส่งกำจัดที่เหมาะสมสำหรับขยะแต่ละประเภท

     - กิจกรรมลดและคัดแยกขยะภายในอาคารหอสมุดฯ 
          - บันทึกข้อความขอจัดกิจกรรมลดและคัดแยกขยะภายในอาคาร สท. (บันทึกข้อความ 4 เมษายน 2561)
          - บันทึกปริมาณขยะในกิจกรรมลดและคัดแยกขยะภายในอาคาร สท. ประจำปีงบประมาณ 2561

     - การคัดแยกขยะอินทรีย์ชั่งน้ำหนักและบันทึกข้อมูลก่อนนำไปทิ้งรวมกับขยะของ วศ. โดยมอบหมายให้พนักงานทำความสะอาดดำเนินการทุกวัน
     - การคัดแยกขยะโดยจัดถังทิ้งขยะขวดพลาสติกแยกจากขยะทั่วไป ตั้งจุดคัดแยกขยะกระดาษเป็นกระดาษที่ใช้หน้าเดียวเพื่อนำไปใช้อีกหน้า และกระดาษที่ใช้แล้ว 2 หน้า

2. แผนงานและดำเนินการจัดการน้ำเสียโดยเริ่มจากการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ เพื่อเลือกแนวทางในการจัดการน้ำเสียอย่างเหมาะสม เช่น การเลือกใช้น้ำยาทำความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น มีการดูแลและตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียอย่างต่อเนื่องรวมทั้งการลดปริมาณการใช้น้ำ หรือใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

    การบำบัดน้ำเสียใช้ระบบบำบัดน้ำเสียของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ (รูปผังระบบน้ำเสีย) ส่วนบริเวณโรงอาหารของ วศ. มีการจัดทำบ่อดักไขมัน

3. มีแผนงานและดำเนินการจัดการมลพิษทางอากาศเช่น ฝุ่นละออง ไรฝุ่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย สารเคมี ควันบุหรี่ เป็นต้น มีการจัดพื้นที่ให้อากาศหมุนเวียนอย่างเพียงพอและถ่ายเทโดยสะดวก มีการกำจัดฝุ่นบนชั้นหนังสืออย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการกำหนดและตรวจตราให้ห้องสมุดเป็นเขตปลอดบุหรี่ตลอดจน มีการจัดการเพื่อควบคุมเสียงในห้องสมุด

     -  ตรวจวัดปริมาณฝุ่นละออง ขอความอนุเคราะห์กองผลิตภัณฑ์อุปโภคและเคมีภัณฑ์ กลุ่มคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมวิทยาศาสตร์บริการ เข้าตรวจวัดคุณภาพอากาศ ได้แก่ฝุ่นละออง วันที่ 10-11 พฤษภาคม 2561 ในพื้นที่ทำงานและพื้นที่บริการของอาคารหอสมุดฯ ผลการตรวจวัด พบว่า ผ่านเกณฑ์ (รายงานผลการตรวจวัด และรูปการตรวจวัดตามจุดต่าง ๆ 1 / 2  / 3 )    
     - มีการกำจัดฝุ่นบนชั้นหนังสืออย่างสม่ำเสมอ และกำหนดให้ห้องสมุดเป็นเขตปลอดบุหรี่ (รูปป้ายห้ามสูบบุหรี่)

4. การดำเนินการกิจกรรม 5 ส. อย่างสม่ำเสมอเพื่อจัดพื้นที่บริการและพื้นที่สำนักงานให้สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย

     มีการดำเนินกิจกรรม 5ส ตั้งแต่มีนาคม - กันยายน 2561 อย่างต่อเนื่อง โดยให้ดำเนินการในทุกๆ ช่วงบ่ายวันศุกร์ของสัปดาห์และจัดกิจกรรม Big Clean Day เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2561
        - เอกสารสรุปรายงานการจัดกิจกรรม 5ส และ Big Cleaning Day

5. แผนงานและดำเนินการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม ระงับเหตุฉุกเฉิน เช่น อัคคีภัย อุทกภัย และ วาตภัย เป็นต้น ตามกรอบระยะเวลาที่เหมาะสมหรือตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้ง การดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ระงับเหตุฉุกเฉินดังกล่าว ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

     - กรมวิทยาศาสตร์บริการได้กำหนดแผนบริหารความต่อเนื่องในการปฏิบัติราชการในสภาวะวิกฤต กรกฎาคม 2559 http://www.dss.go.th/images/bcp/bcp_dss2559.pdf

     - มีแผนการดำเนินงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประจำปีงบประมาณ 2561

     - จัดทำคู่มือความปลอดภัยด้านอัคคีภัยภายในอาคาร ดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ระงับเหตุฉุกเฉินให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ (คู่มือความปลอดภัยด้านอัคคีภัยภายในอาคาร)
     - คำสั่งคณะกรรมการบริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ที่ 3/2561
     - รายงานผลการดำเนินงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของ สท. ประจำปีงบประมาณ 2560
     - จัดทำบอร์ดเสนอแนะความคิดเห็นด้านความปลอดภัย (รูปบอร์ดความปลอดภัย)
     - จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องความปลอดภัยฯ เพื่อให้บุคลากรห้องสมุดตระหนักถึงความสำคัญเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2561 (รูปกิจกรรม)
     - เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการฝึกซ้อมดับเพลิงและซ้อมหนีไฟ จัดโดยกรมวิทยาศาสตร์บริการเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2561 (คู่มือ การฝึกซ้อมดับเพลิงฯ วศ. ปี 2561) (รูป1 /  รูป2  /  รูป3