0 2201 7250-6

แนะนำ Link น่าสนใจ

 

 ภาพหน้าเพจ ชื่อเพจ/ชื่อเรื่อง/URL เนื้อหา/รายละเอียด
 

Plastic Recycling Plant Tour! - TGC Field Trip

https://www.youtube.com/watch?v=YBt25VijO9A

"เสือร้องไห้" พาชมโรงงานรีไซเคิลขวดพลาสติก บริษัท เอ็นวิคโค จำกัด (ENVICCO) 

ควรจะแยกขวดพลาสติกหรือบีบขวดพลาสติกอย่างไรก่อนส่งไปรีไซเคิล มีหลายเรื่องที่คนทั่วไปอาจเข้าใจผิด

 

ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง คุณลักษณะเศษพลาสติกที่เหมาะสมในการนำไปรีไซเคิล พ.ศ. 2565

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 271 ง (22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565) หน้า 3 (ท้ายประกาศ 4 หน้า)

https://rkj.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/ 271/t_0003.pdf

โดยที่เป็นการส่งเสริมนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และให้มีการนำเศษพลาสติกภายในประเทศกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด เพื่อยกระดับคุณภาพเศษพลาสติกในประเทศให้มีปริมาณที่เพียงพอต่อการนำไปเป็นวัตถุดิบในภาคธุรกิจรีไซเคิล จึงสมควรให้มีการประกาศเผยแพร่คุณลักษณะเศษพลาสติกที่เหมาะสมในการนำไปรีไซเคิล เพื่อให้ประชาชน ครัวเรือน ซาเล้ง ร้านรับซื้อของเก่าและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการคัดแยก รวบรวมเศษพลาสติกที่มีคุณภาพและมีคุณลักษณะเหมาะสมในการนำไปรีไซเคิลต่อไป ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565 ซึ่งกำหนดให้กรมควบคุมมลพิษมีอำนาจและหน้าที่ในการพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี กฎหมาย เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการกากของเสีย และให้ความช่วยเหลือและคำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการจัดการมลพิษ รวมทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจัดการมลพิษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกประกาศกำหนดคุณลักษณะเศษพลาสติกที่เหมาะสมในการนำไปรีไซเคิล ดังรายละเอียดในภาคผนวกท้ายประกาศนี้ ....

https://youtu.be/ZMMuPuU8UeE

ห้องสมุดสีเขียวของกองหอสมุดฯ

กรมวิทยาศาสตร์บริการ

คู่มือการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพกรมพัฒนาที่ดินเพื่อส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ลดใช้สารเคมี

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แนะนำการใช้สารเร่งจุลินทรีย์ หรือ "สารเร่ง พด." ที่พัฒนาขึ้นโดยกรมพัฒนาที่ดิน 
 

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ น้ำหมักชีวภาพ (ตอนที่ 1) โดยกรมวิชาการเกษตร

http://lib.doa.go.th/multim/e-book/EB00161.pdf

เนื่องจากน้ำหมักชีวภาพเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน จึงยังขาดข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่จะยืนยันผลการใช้ที่ว่าดีประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ ว่าเกิดจากองค์ประกอบใด และการใช้ที่มีอย่างแพร่หลายจะทำให้เกิดโทษตามมาในภายหลังได้หรือไม่ กองทุนสนับสนุนงานวิจัยด้านการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ได้ให้ทุนสนับสนุนงานวิจัย “โครงการวิจัยและพัฒนาน้ำหมักชีวภาพ” แก่กลุ่มนักวิจัย กรมวิชาการเกษตร เพื่อตอบปัญหาที่กล่าวมาแล้ว โดยวิเคราะห์น้ำหมักชีวภาพที่เกษตรกรใช้อยู่ทั่วประเทศประมาณ 200 ตัวอย่าง และจากการทดลองผลิตน้ำหมักชีวภาพโดยใช้วัสดุหลักที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ผลงานในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาได้ข้อมูลที่สามารถตอบคำถามต่างๆ พอสมควร ที่จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร นักวิชาการที่สนใจนำไปพัฒนาต่อยอดและแนะนำเกษตรกรได้อย่างถูกต้องต่อไป

 

ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป : รวมทุกเนื้อหาลุงซาเล้งในโพสเดียว 

เฟสบุ้กให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ

The Fun Theory 1 – Piano Staircase Initiative | Volkswagen - YouTube

ตัวอย่างแคมเปญโฆษณาของโฟล์คสวาเกนที่ใช้ทฤษฎีความสนุกเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือ เป็นการใช้ความสนุกปลุกพฤติกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อม

- คลิปแรก กระตุ้นให้คนใช้บันไดมากขึ้นด้วยการทำบันไดดนตรี

- คลิปที่ 2 กระตุ้นให้คนทิ้งขยะให้ลงถัง ด้วยถังขยะที่ลึกที่สุดในโลก

- คลิปที่ 3 เปลี่ยนถังสำหรับคืนขวดใช้แล้วให้เป็นตู้เกมส์ (Arcade game)

The Fun Theory 2 – an initiative of Volkswagen: The World's Deepest Bin

The Fun Theory 3 – an initiative of Volkswagen: Bottle Bank Arcade Machine
 

Fun Theory - Bottle Tree

ทฤษฎีความสนุกเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม - ต้นไม้ขวด

กระตุ้นให้ผู้คนสนุกและอยากลองนำขยะขวดพลาสติกเสียบไว้บนอุปกรณ์รูปทรงต้นไม้ ช่วยให้เกิดพฤติกรรมแยกขยะขวดพลาสติก แทนการใช้ถังสำหรับทิ้งขวดพลาสติกแบบเดิม

What really happens to the plastic you throw away? TED-Ed | April 2015 ขวดน้ำพลาสติกใช้แล้วไปไหนได้บ้าง