0 2201 7250-6

หมวด:

หมวดที่ 7 การจัดการของเสีย 


หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน

7.1.1 มีการดำเนินงานตามแนว ทางการคัดแยก รวบรวม และกำจัด ขยะอย่างเหมาะสม มีแนวทางการ ดำเนินงาน ดังนี้
        (1) มีการคัดแยกขยะตามประเภทขยะที่ เกิดขึ้นจากกิจกรรมภายในสำนักงาน และจัดวางถังขยะตามพื้นที่ทำงานต่างๆ อย่างเหมาะสมทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ
        (2) มีการติดป้ายบ่งชี้ประเภทขยะอย่าง ถูกต้องและชัดเจนทุกถังที่สุ่ม ตรวจสอบ
        (3) มีจุดพักขยะที่เหมาะสมตามหลัก วิชาการ โดยจะต้องมีพื้นที่รองรับขยะแต่ละประเภทจากข้อ (1) อย่าง เพียงพอ
        (4) มีการทิ้งขยะถูกต้องทุกจุดที่สุ่ม ตรวจสอบ
        (5) มีการส่งขยะให้ อปท. หรือผู้รับจ้างที่ ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
        (6) มีการติดตาม ตรวจสอบการกำจัด ขยะของผู้รับจ้างให้มีการจัดการ อย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ (กรณีส่งให้ อปท.ให้ถือว่ามีการ จัดการอย่างเหมาะสม)
        (7) ไม่มีการเผาขยะในบริเวณหรือพื้นที่ ของสำนักงาน (ยกเว้นเตาเผาที่ได้รับ การอนุญาตอย่างถูกต้อง)

 

   
7.1.2 การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ หรือนำกลับมาใช้ใหม่ส่งผลให้ขยะที่จะส่งไปกำจัดมีปริมาณน้อยลง
        (1) มีการนำขยะกลับมาใช้ใหม่
        (2) มีการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละ ประเภทครบถ้วนทุกเดือน
        (3) มีการวิเคราะห์ปริมาณขยะเทียบค่า เป้าหมายที่ได้กำหนดจากหมวด 1 ข้อ 1.1.5
        (4) ปริมาณขยะที่ส่งกำจัดมีแนวโน้ม ลดลง
 
คำอธิบาย
        (1) การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ หรือนำกลับมาใช้ใหม่ หมายถึง การนำขยะทุกประเภทที่สามารถนำ กลับมาใช้ใหม่หรือสามารถสร้างประโยชน์ได้ ส่งผลต่อการลดภาระต่อสิ่งแวดล้อมโดยการฝังกลบหรือ เผาทำลายในเตาเผา เป็นต้น
        (2) ร้อยละของปริมาณขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่  =   (ปริมาณขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่สะสม x 100) / ปริมาณขยะทั้งหมดสะสม
        (3) ร้อยละของปริมาณขยะทั่วไป = (ปริมาณขยะทั่วไปสะสม x 100) / ปริมาณขยะทั้งหมดสะสม
        (4) นวัตกรรม หมายถึง การทำสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีใหม่ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางความคิด กระบวนการ ทำงาน หรือเทคโนโลยี เพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อยอด
   
7.2.1 การจัดการน้ำเสียของสำนักงาน และคุณภาพน้ำทิ้งจะต้องอยู่ใน มาตรฐานกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยมีแนวทาง ดังนี้
        (1) การกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลการ จัดการน้ำเสีย และจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแล
        (2) มีการบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ เช่น มีตะแกรงดักเศษอาหาร มีบ่อดักไขมัน หรือมีระบบบำบัดน้ำเสียเหมาะสมกับ องค์ประกอบของน้ำเสีย
        (3) มีการบำบัดน้ำเสียครบทุกจุดที่ปล่อยน้ำเสีย
        (4) มีผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด
 
คำอธิบาย การบำบัดน้ำเสียครบทุกจุดที่ปล่อยน้ำเสีย หมายถึง การบำบัดน้ำเสียทุกจุดก่อนปล่อยออกสู่สาธารณะ
   
7.2.2 การดูแลอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย โดยมีแนวทางดังนี้
        (1) มีการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย หรือมี การตักและทำความสะอาดเศษ อาหาร และไขมันออกจากตะแกรง ดักขยะ หรือบ่อดักไขมัน ตามความถี่ ที่กำหนดอย่างเหมาะสมกับปริมาณ และการปนเปื้อน
        (2) มีการนำกากตะกอนจากระบบบำบัด น้ำเสีย หรือเศษอาหาร น้ำมันและ ไขมันจากถัง/บ่อดักไขมันไปกำจัด อย่างถูกต้อง
        (3) มีการตรวจสอบ ปรับปรุง ซ่อมแซม ระบบบำบัดน้ำเสียให้สามารถใช้งาน และมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
        (4) มีการตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเสีย อย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการ ปนเปื้อนของน้ำเสียไปยังแหล่งอื่นๆ
   
หมวด:

หมวดที่ 6 การใช้ทรัพยากรและพลังงาน


หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
6.1.1 มาตรการหรือแนวทางใช้น้ำมี ความเหมาะสมกับสำนักงานจะต้อง ประกอบไปด้วย รายละเอียดดังนี้
       (1) การสร้างความตระหนักในการใช้น้ำ
       (2) การกำหนดเวลาการใช้น้ำ เช่น เวลา รดน้ำต้นไม้ เป็นต้น
       (3) การกำหนดรูปแบบการนำน้ำกลับมา ใช้ใหม่
       (4) การเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดน้ำ
 
หมายเหตุ อุปกรณ์หรือเครื่องสุขภัณฑ์หากยังใช้งานได้ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนในทันทีตามข้อ (4) แต่ผู้ตรวจประเมิน จะต้องพิจารณาถึงแนวทางในอนาคตกรณีเสียหรือชำรุด แล้วเปลี่ยนเป็นแบบอุปกรณ์ประหยัดน้ำ
 
คำอธิบาย
        1. สำนักงานควรมีการทบทวนมาตรการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่การใช้ทรัพยากรและ พลังงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
        2. การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ได้แก่ การนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัด หรือนำน้ำเหลือทิ้ง (น้ำควบแน่นจาก เครื่องปรับอากาศ น้ำดื่มเหลือจากการจัดประชุม) นำกลับมาใช้ประโยชน์ เป็นต้น
   
6.1.2 มีการจัดทำข้อมูลการใช้น้ำต่อ หน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย การเก็บข้อมูล
กรณีบรรลุเป้าหมาย
        (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำ แต่ละเดือน
        (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำ ต่อหน่วย
        (3) บรรลุเป้าหมาย
        (4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การเก็บข้อมูล
 
กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
        (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำ แต่ละเดือน
        (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำ ต่อหน่วย
        (3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนว ทางแก้ไข
 
หมายเหตุ
        1. กรณีสำนักงานขอการรับรองใหม่ สำนักงานจะต้องสรุปและวิเคราะห์ปริมาณการใช้น้ำเป็นรายเดือน
        2. กรณีสำนักงานต่ออายุสำนักงานสีเขียว และขอยกระดับสำนักงานสีเขียว จะต้องสรุปและวิเคราะห์ ปริมาณน้ำย้อนหลัง 3 ปี เป็นภาพรวมของแต่ละปี หากเป็นปีปัจจุบันจะต้องสรุปและวิเคราะห์ผลเป็น รายเดือน
        3. ปริมาณการใช้น้ำหากไม่ลดลงตามเป้าหมายที่กำหนด สำนักงานต้องอธิบายได้ ประกอบกับผู้ตรวจ ประเมินจะต้องใช้ดุลยพินิจในการพิจารณา เช่น ไม่ลดลงเนื่องจากมีการจัดประชุมเพิ่ม มีการ ขยายพื้นที่ หรือบุคลากรเพิ่ม เป็นต้น ถือว่าให้ 4 คะแนน แต่ถ้าสาเหตุเกิดจากขาดความตระหนัก จากการใช้หรือมาตรการไม่ได้ผล ได้เพียง 3 คะแนน
        4. สามารถใช้แบบฟอร์ม 1.7.1 ใบขอให้แก้ไขและป้องกันข้อบกพร่องร่วมได้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุ และแนวทางการแก้ไข
        5. ส่วนกรณีที่สำนักงานย้ายสถานที่ จะไม่มีฐานข้อมูลย้อนหลังของปีที่ผ่านมา อนุโลมให้รวบรวมข้อมูลใน ปีล่าสุด
   
6.1.3 ร้อยละของการปฏิบัติตาม มาตรการประหยัดน้ำในพื้นที่ทำงาน (ประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรในพื้นที่)
   
6.2.1 มาตรการหรือแนวทางการใช้ ไฟฟ้าเหมาะสมกับสำนักงานจะต้อง ประกอบไปด้วย รายละเอียดดังนี้
        (1) การสร้างความตระหนักในการใช้ ไฟฟ้า
        (2) การกำหนดเวลาการใช้ไฟฟ้า เช่น เวลาการเปิด - ปิด เป็นต้น
        (3) การใช้พลังงานทดแทน
        (4) การเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า
 
หมายเหตุ อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าหากยังใช้งานได้ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนในทันทีตามข้อ (4) แต่ผู้ตรวจประเมิน จะต้องพิจารณาถึงแนวทางในอนาคตกรณีเสียหรือชำรุด แล้วเปลี่ยนเป็นแบบอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า
 
คำอธิบาย สำนักงานควรมีการทบทวนมาตรการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่การใช้ทรัพยากรและ พลังงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
   
6.2.2 มีการจัดทำข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย การเก็บข้อมูล
กรณีบรรลุเป้าหมาย
         (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้า แต่ละเดือน
         (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้า ต่อหน่วย
         (3) บรรลุเป้าหมาย
         (4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การเก็บข้อมูล
 
กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
         (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้า แต่ละเดือน
         (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้า ต่อหน่วย
         (3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนว ทางแก้ไข
 
หมายเหตุ
          1. กรณีสำนักงานขอการรับรองใหม่ สำนักงานจะต้องสรุปและวิเคราะห์ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเป็นรายเดือน
          2. กรณีสำนักงานต่ออายุสำนักงานสีเขียว และขอยกระดับสำนักงานสีเขียว จะต้องสรุปและวิเคราะห์ ปริมาณไฟฟ้าย้อนหลัง 3 ปี เป็นภาพรวมของแต่ละปี หากเป็นปีปัจจุบันจะต้องสรุปและวิเคราะห์ผล เป็นรายเดือน
          3. ปริมาณการใช้ไฟฟ้าหากไม่ลดลงตามเป้าหมายที่กำหนด สำนักงานต้องอธิบายได้ประกอบกับ ผู้ตรวจประเมินจะต้องใช้ดุลยพินิจในการพิจารณา เช่น ไม่ลดลงเนื่องจากมีการจัดประชุมเพิ่ม มี การขยายพื้นที่เพิ่ม หรือบุคลากรเพิ่ม เป็นต้น ถือว่าให้ 4 คะแนน แต่ถ้าสาเหตุเกิดจากขาดความ ตระหนักจากการใช้หรือมาตรการไม่ได้ผล ได้เพียง 3 คะแนน
          4. สามารถใช้แบบฟอร์ม 1.7.1 หรือแบบฟอร์มที่หน่วยงานกำหนดขึ้น เพื่อแสดงการขอให้แก้ไขและ ป้องกันข้อบกพร่องร่วมได้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางการแก้ไข
         5. ส่วนกรณีที่สำนักงานย้ายสถานที่ จะไม่มีฐานข้อมูลย้อนหลังของปีที่ผ่านมา อนุโลมให้รวบรวมข้อมูลใน ปีล่าสุด โดยจะต้องสรุปและวิเคราะห์ผลเป็นรายเดือน
   
6.2.3 ร้อยละของการปฏิบัติตาม มาตรการประหยัดไฟฟ้าในพื้นที่ทำงาน
   
6.2.4 มาตรการหรือแนวทางการใช้ น้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทางที่ เหมาะสมกับสำนักงาน ดำเนินการดังนี้
        (1) การสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
        (2) การวางแผนการเดินทาง
        (3) การซ่อมบำรุงดูแลยานพาหนะ
        (4) การใช้จักรยานหรือขนส่งสาธารณะ มาทำงาน
 
คำอธิบาย
        สำนักงานควรมีการทบทวนมาตรการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่การใช้ทรัพยากรและ พลังงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
   

6.2.5 มีการจัดทำข้อมูลการใช้น้ำมัน เชื้อเพลิงต่อหน่วยเปรียบเทียบกับ เป้าหมาย
การเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
        (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมัน เชื้อเพลิงแต่ละเดือน
        (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมัน เชื้อเพลิงต่อหน่วย

        (3) บรรลุเป้าหมาย
        (4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
        (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมัน เชื้อเพลิงแต่ละเดือน
        (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมัน เชื้อเพลิงต่อหน่วย
        (3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข

หมายเหตุ 
        1. กรณีสำนักงานขอการรับรองใหม่ สำนักงานจะต้องสรุปและวิเคราะห์ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นรายเดือน
        2. กรณีสำนักงานต่ออายุสำนักงานสีเขียว และขอยกระดับสำนักงานสีเขียว จะต้องสรุปและวิเคราะห์ ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงย้อนหลัง 3 ปี เป็นภาพรวมของแต่ละปี หากเป็นปีปัจจุบันจะต้องสรุปและ วิเคราะห์ผลเป็นรายเดือน
        3. ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไม่ลดลงตามเป้าหมายที่กำหนด สำนักงานต้องอธิบายได้ประกอบ กับผู้ตรวจประเมินจะต้องใช้ดุลยพินิจในการพิจารณา เช่น ไม่ลดลงเนื่องจาก มีการจัดประชุมเพิ่มมีการเดินทางเพิ่ม หรือบุคลากรเพิ่ม เป็นต้น ถือว่าให้ 4 คะแนน แต่ถ้าสาเหตุเกิดจากขาดความ ตระหนักจากการใช้หรือมาตรการไม่ได้ผล ได้เพียง 3 คะแนน
        4. สามารถใช้แบบฟอร์ม 1.7.1 ใบขอให้แก้ไขและป้องกันข้อบกพร่องร่วมได้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุ และแนวทางการแก้ไข หรือแบบฟอร์มที่หน่วยงานกำหนดขึ้น

คำอธิบาย ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงจะคิดจากการใช้ที่อยู่ภายใต้บริบทในการขอการรับรองสำนักงานสีเขียว เช่น การ เดินทางไปประชุม การรับส่งเอกสาร การติดต่อประสานงาน เป็นต้น

   

6.3.1 มาตรการหรือแนวทางการใช้ กระดาษที่เหมาะสมกับสำนักงาน จะต้องประกอบไปด้วย รายละเอียด ดังนี้
       (1) การสร้างความตระหนักในการใช้ กระดาษ
       (2) การกำหนดรูปแบบการใช้กระดาษ
       (3) การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
       (4) การนำกระดาษกลับมาใช้ใหม

คำอธิบาย สำนักงานควรมีการทบทวนมาตรการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่การใช้ทรัพยากรและ พลังงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

   
6.3.2 มีการจัดทำข้อมูลการใช้กระดาษ ต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย
การเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
        (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ กระดาษแต่ละเดือน
        (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ กระดาษต่อหน่วย
        (3) บรรลุเป้าหมาย
        (4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
 
การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
        (1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ กระดาษแต่ละเดือน
        (2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ กระดาษต่อหน่วย 
        (3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนว ทางแก้ไข
 
หมายเหตุ
         1. กรณีสำนักงานขอการรับรองใหม่ สำนักงานจะต้องสรุปและวิเคราะห์ปริมาณการใช้กระดาษเป็นราย เดือน
         2. กรณีสำนักงานต่ออายุสำนักงานสีเขียว และขอยกระดับสำนักงานสีเขียว จะต้องสรุปและวิเคราะห์ ปริมาณกระดาษย้อนหลัง 3 ปี เป็นภาพรวมของแต่ละปี หากเป็นปีปัจจุบันจะต้องสรุปและวิเคราะห์ ผลเป็นรายเดือน
         3. ปริมาณการใช้กระดาษไม่ลดลงตามเป้าหมายที่กำหนด สำนักงานต้องอธิบายได้ประกอบกับ ผู้ตรวจประเมินจะต้องใช้ดุลยพินิจในการพิจารณา เช่น ไม่ลดลงเนื่องจาก มีการจัดประชุมเพิ่ม มี กิจกรรมเพิ่ม บุคลากรเพิ่ม ถือว่าให้ 4 คะแนน แต่ถ้าสาเหตุเกิดจากขาดความตระหนักจากการใช้ หรือมาตรการไม่ได้ผล ได้เพียง 3 คะแนน
        4. สามารถใช้แบบฟอร์ม 1.7.1 ใบขอให้แก้ไขและป้องกันข้อบกพร่องร่วมได้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุ และแนวทางการแก้ไข
   
6.3.3 ร้อยละของการปฏิบัติตาม มาตรการประหยัดกระดาษในพื้นที่ ทำงาน (ประเมินจากพฤติกรรมของ บุคลากรในพื้นที่)
   

6.3.4 มาตรการหรือแนวทางการใช้ หมึกพิมพ์ อุปกรณ์เครื่องเขียน วัสดุ อุปกรณ์เหมาะสมกับสำนักงานจะต้อง ประกอบไปด้วย รายละเอียดดังนี้
        (1) การสร้างความตระหนักในการใช้
        (2) การกำหนดรูปแบบการใช้
        (3) การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์

หมายเหตุ วัสดุอุปกรณ์สำนักงานสามารถใช้เป้าหมายอ้างอิงมาตรฐาน 5ส. ได้ หรือสามารถกำหนดได้ว่า เป็นอุปกรณ์ส่วนตัวหรือส่วนรวม และนำมาเป็นตัวควบคุมปริมาณของอุปกรณ์สำนักงาน

   
6.3.5 ร้อยละของการดำเนินตาม มาตรการประหยัดการใช้หมึกพิมพ์ อุปกรณ์เครื่องเขียน วัสดุอุปกรณ์ สำนักงาน (ประเมินจากพฤติกรรมของ บุคลากรในพื้นที่)
   
6.4.1 ร้อยละของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการส่งข้อมูลเพื่อเตรียมการประชุม ได้แก่ QR code, Email, Social Network, Intranet เป็นต้น
   

6.4.2 การจัดการประชุมและนิทรรศการที่มีการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม ลดการใช้ทรัพยากร - พลังงาน และลดของเสียที่เกิดขึ้น จะต้องดำเนินการดังนี้
        (1) การจัดเตรียมขนาดห้องประชุม เหมาะสมกับจำนวนผู้เข้าประชุม หรือจัดนิทรรศการ
        (2) ห้องประชุมหรือพื้นที่จัดนิทรรศการ ไม่มีการตกแต่งด้วยวัสดุที่ย่อยสลาย ยาก หรือวัสดุที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
        (3) การกำหนดแนวทางเลือกสถานที่ ภายนอกสำนักงานที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม
        (4) การจัดเตรียมสื่อที่ใช้ในการประชุม โดยจะต้องลดการใช้กระดาษ หมึกพิมพ์
        (5) การจัดเตรียมอาหาร และเครื่องดื่ม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

หมายเหตุ กรณีที่ไม่มีโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ สำนักงานสามารถทำหนังสือขอความร่วมมือ กับโรงแรมที่จะเข้าใช้บริการว่าการในจัดประชุมขอให้จัดประชุมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green meeting)

คำอธิบาย สถานที่จัดประชุมหรือนิทรรศการที่สามารถลดการใช้พลังงานได้ ได้แก่ สถานที่ไม่มีการใช้พลังงานใดๆ หรือเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานให้น้อยลง ซึ่งสามารถอยู่ในตัวอาคารหรือนอกอาคารก็ได้

   

 

หมวด:

หมวดที่ 4 การส่งเสริมการเรียนรู้ 


หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
4.1.1 จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและ ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อม ให้กับกลุ่มเป้าหมาย ใน เรื่องต่อไปนี้
        (1) การประหยัดพลังงานไฟฟ้า และการ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ไฟฟ้า
        (2) การประหยัดน้ำ และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
        (3) การคัดแยกและใช้ประโยชน์จาก ขยะหรือวัสดุเหลือใช้ การจัดการ ของเสียและมลพิษ
        (4) ก๊าซเรือนกระจก
 
คำอธิบาย
        - การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและส่งเสริมการเรียนรู้ สามารถจัดได้มากกว่าหัวข้อที่กำหนด ไว้ในข้อ 4.1.1 (1) - (4)
        - กลุ่มเป้าหมาย หมายถึง บุคลากร ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
   
4.1.2 การมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย ในกิจกรรมส่งเสริมการ เรียนรู้ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
        (1) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีจำนวนมากกว่า ร้อยละ 80 ของเป้าหมายที่กำหนด
        (2) กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการ ออกแบบกิจกรรม
        (3) กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการ สรุปผลกิจกรรมและการนำไปใช้ ประโยชน์
        (4) มีการจัดทำใบประกาศหรือใบรับรอง ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามเงื่อนไข ที่ห้องสมุดกำหนด
 
คำอธิบาย
        - กลุ่มเป้าหมาย หมายถึง บุคลากร ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
        - การจัดกิจกรรมควรกำหนดกลุ่มเป้าหมายของแต่ละกิจกรรมให้ชัดเจน (แต่ละกิจกรรมสามารถ กำหนดเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม) โดยกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งหมด ควรครอบคลุม กลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม
        - การออกใบประกาศ หรือใบรับรอง ตามข้อ 4.1.2 (4) ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ห้องสมุดกำหนด เช่น รับรองการเข้าร่วมกิจกรรม หรือ รับรองการผ่านการประเมินความรู้ หรือ รับรองการ ดำเนินกิจกรรมตามข้อกำหนด เป็นต้น
   
4.1.3 ความถี่และความสม่ำเสมอใน การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของ ห้องสมุดสีเขียว
   
4.1.4 จัด Green Corner หรือพื้นที่ ส่งเสริมการเรียนรู้ของห้องสมุดสีเขียว โดยแสดงข้อมูลต่อไปนี้และมีการ ปรับปรุงข้อมูลเป็นประจำทุกเดือนเป็น อย่างน้อย
       (1) นโยบายห้องสมุดสีเขียว และ สำนักงานสีเขียว (ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ มีการเปลี่ยนแปลง) 
       (2) ข่าวสาร กิจกรรม มาตรการ ด้าน การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ของห้องสมุด
       (3) ผลการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว และแสดงข้อมูลประสิทธิภาพการใช้ พลังงานไฟฟ้า ผลการประหยัดน้ำ การประหยัดทรัพยากร และปริมาณ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
       (4) สื่อความรู้ และเอกสารเผยแพร่ที่ เกี่ยวข้องกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
 
คำอธิบาย
       - Green Corner หรือ อาจมีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่นตามที่ห้องสมุดกำหนด เป็นพื้นที่สำหรับจัดแสดงให้ข้อมูล เพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์ และสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการห้องสมุดให้ได้รับความรู้ และมีความเข้าใจในกิจกรรมห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว
       - การจัดแสดงข้อมูลใน Green Corner สามารถจัดแสดงได้หลากหลายรูปแบบผ่านสื่อประเภท ต่างๆ และในรูปแบบดิจิทัล
   
4.2.1 ร้อยละของจำนวนกิจกรรมที่มี การประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการวัดความรู้
 
คำอธิบาย
       - การประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการวัดความรู้ อาจใช้เป็นแบบทดสอบ หรือการเปรียบเทียบ ความรู้ก่อนและหลังการร่วมกิจกรรม หรือ พิจารณาจากผลงาน หรือ การทดสอบใดๆ ที่ สามารถวัดผลความรู้นั้นๆได
   
4.2.2 ร้อยละของจำนวนผู้เข้าร่วม กิจกรรมที่ผ่านการประเมินผลการ เรียนรู้ ด้านการวัดความรู้จากการเข้า ร่วมกิจกรรม (เกณฑ์การวัดความรู้ พิจารณาจากคะแนนผ่านที่ร้อยละ 60)
 
คำอธิบาย
        - การประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการวัดความรู้ อาจใช้เป็นแบบทดสอบ การเปรียบเทียบความรู้ ก่อนและหลังการร่วมกิจกรรม หรือ พิจารณาจากผลงาน หรือ การทดสอบใดๆ ที่สามารถวัดผล ความรู้นั้นๆได้
   
4.2.3 ร้อยละของจำนวนผู้เข้าร่วม กิจกรรมที่มีผลประเมินด้านพฤติกรรม ในเชิงบวกหลังเข้าร่วมกิจกรรม โดยจัด กิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมาย อย่างน้อย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มบุคลากร และกลุ่ม ผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
 
คำอธิบาย
       - ผลการประเมินด้านพฤติกรรม สามารถวัดผลจากพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก โดย การสังเกต การทำแบบทดสอบ หรือการตอบแบบสอบถาม หรือโดยวิธีการอื่นใดที่สามารถ วัดผลเชิงพฤติกรรมได้
       - ห้องสมุดสามารถเลือกเพียงบางกิจกรรมที่มีการประเมินผลด้านพฤติกรรมมานำเสนอ โดยเป็น การดำเนินกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมายอย่างน้อย 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มบุคลากร และกลุ่ม ผู้รับบริการหรือกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยกิจกรรมของ 2 กลุ่มเป้าหมาย อาจเป็นกิจกรรม เดียวกันหรือไม่ก็ได้
   
4.2.4 การปรับปรุงกิจกรรมส่งเสริม การเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่อง ดังนี้
        (1) สรุปผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมการ เรียนรู้ทั้งหมดในรอบปี
        (2) มีการวิเคราะห์ปัญหา และผล ประเมินการเรียนรู้เพื่อใช้เป็นข้อมูล ในการพัฒนากิจกรรม
        (3) จัดทำแผนปรับปรุงและพัฒนา กิจกรรม
        (4) จัดทำรายงานผลการจัดกิจกรรม เสนอผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง
   
หมวด:

หมวดที่ 5 เครือข่ายความร่วมมือ 


หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
5.1.1 มีความร่วมมือกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องกับด้านการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อม ดังนี้
        (1) เครือข่ายห้องสมุดสีเขียว
        (2) ชมรมห้องสมุดสีเขียว
        (3) หน่วยงานภายในองค์กร
        (4) หน่วยงานภายนอกองค์กร
 
คำอธิบาย
        - หน่วยงานภายในองค์กร หมายถึง หน่วยงานภายใต้ต้นสังกัดเดียวกัน
        - หน่วยงานภายนอกองค์กร หมายถึง หน่วยงานที่อยู่ต่างสังกัด ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน
   
5.1.2 มีความร่วมมือในการดำเนินงาน ห้องสมุดสีเขียว ร่วมกับหน่วยงานด้าน นโยบาย/การบริหาร หน่วยงานด้าน กายภาพ ด้านวิจัย และด้านการศึกษา ดังนี้ 
        (1) หน่วยงานด้านนโยบาย/บริหาร หรือ หน่วยบริหารงานกลาง เพื่อ ประสานความร่วมมือด้านนโยบาย แผนงาน งบประมาณ การจัดซื้อจัด จ้าง การจัดการขยะ เป็นต้น
        (2) หน่วยงานด้าน กายภาพ เพื่อ ประสานความร่วมมือด้านอาคาร สถานที่ ระบบงานไฟฟ้า ระบบงาน อาคาร ระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น
        (3) หน่วยงานวิจัย เพื่อประสานความ ร่วมมือในการนำเทคโนโลยีหรือ ผลงานวิจัยมาประยุกต์ใช้เพื่อการ พัฒนาห้องสมุดสีเขียว
        (4) หน่วยงานด้านการศึกษา หรือหน่วย การเรียนการสอน เพื่อประสาน ความมือในการส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
 
คำอธิบาย
        - หน่วยงานด้านนโยบาย/บริหาร หน่วยบริหารงานกลาง หน่วยงานด้านกายภาพ หน่วยงานวิจัย และ หน่วยงานด้านการศึกษา อาจมีชื่อเรียกอย่างอื่น แต่มีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับงานด้าน นโยบายหรือการบริหาร ด้านกายภาพ ด้านการวิจัย และด้านการเรียนการสอน ซึ่งอาจเป็น หน่วยงานภายในสังกัดเดียวกัน หรือต่างสังกัด หรือเป็นหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาคเอกชน หรือหน่วยงานใดๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความร่วมมือในการดำเนินงาน ห้องสมุดสีเขียว
   
5.2.1 กิจกรรมความร่วมมือด้าน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มีดังนี้
        (1) เข้าร่วมกิจกรรมที่หน่วยงานความ ร่วมมือจัด
        (2) จัดกิจกรรมและเชิญหน่วยงานความ ร่วมมือเข้าร่วม
        (3) เป็นวิทยากรหรือเป็นพี่เลี้ยงให้กับ หน่วยงานอื่น
        (4) เป็นสถานที่ศึกษาดูงานด้านห้องสมุด สีเขียว
   
5.2.2 จำนวนหน่วยงานต่อปี ที่ได้รับการขยายผลการจัดกิจกรรมห้องสมุดสีเขียว เช่น โรงเรียน ชุมชน หรือ หน่วยงานต่างๆ
 
คำอธิบาย
        - การขยายผลการจัดกิจกรรมห้องสมุดสีเขียว อาจเป็นโรงเรียน เรือนจำ ชุมชน หรือหน่วยงาน อื่นใด ที่ไปดำเนินการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว
        - การดำเนินงาน สามารถดำเนินการขยายผลการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในหน่วยงานเดิมได้ โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนหน่วยงานใหม่ทุกปี
   
หมวด:

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
3.1.1 จัดหาทรัพยากรสารสนเทศด้าน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่ เกี่ยวข้อง โดยดำเนินการดังนี้
       (1) สำรวจความต้องการของผู้รับบริการ
       (2) จัดหาทรัพยากรสารสนเทศได้ตรง ตามความต้องการ และสอดคล้อง กับนโยบายของห้องสมุด
       (3) ทรัพยากรสารสนเทศมีความทันสมัย
       (4) ทรัพยากรสารสนเทศมีความหลากหลายเหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละกลุ่ม
 
คำอธิบาย
        1. ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง สื่อหรือวัสดุที่ใช้เก็บบันทึกสารสนเทศในห้องสมุด ทั้งที่เป็นวัสดุตีพิมพ์ วัสดุไม่ตีพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อในรูปแบบอื่นๆ
        2. ทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และเรื่องที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทรัพยากรสารสนเทศ ด้านพลังงาน ด้านสิ่งแวดล้อม มลพิษ ขยะและของเสีย ก๊าซเรือนกระจก การเปลี่ยนแปลงสถาพ ภูมิอากาศ การใช้ทรัพยากร และเรื่องที่เกี่ยวข้อง
        3. การจัดหาอาจเป็นการจัดซื้อ การขอรับบริจาค รวมถึงการรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศที่มีการ เผยแพร่บนอินเตอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงได้
        4. ผู้รับบริการแต่ละกลุ่ม ขึ้นอยู่กับการแบ่งกลุ่มผู้รับบริการของแต่ละห้องสมุด ซึ่งอาจมีการแบ่งกลุ่มที่ แตกต่างกัน
   
3.1.2 ปริมาณทรัพยากรสารสนเทศ ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และ เรื่องที่เกี่ยวข้อง เพิ่มขึ้นทุกปี อย่างน้อย ปีละ 100 รายชื่อ
   
3.1.3 จัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและ เรื่องที่เกี่ยวข้อง ให้พร้อมใช้และ สามารถค้นคืนได้โดยง่าย ดังนี้
        (1) มีการจัดหมวดหมู่ กำหนดคำสำคัญ และคำศัพท์เฉพาะ เพื่อความ สะดวกในการสืบค้น
        (2) ลงรายการบรรณานุกรมและบันทึก ข้อมูล หรือจัดทำรายชื่อเพื่อให้ สะดวกต่อการค้นหา
        (3) จัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศให้ พร้อมสำหรับให้บริการ
        (4) ผู้รับบริการสามารถสืบค้นและเข้าถึง ทรัพยากรสารสนเทศได้โดยง่าย
 
หมายเหตุ
        - ในกรณีที่ห้องสมุดไม่มีระบบห้องสมุดอัตโนมัติ สามารถแสดงรายการทรัพยากรสารสนเทศผ่าน ระบบใดๆ หรือรูปแบบใดๆ ที่ช่วยในการค้นหาและเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้โดยง่าย
   
3.2.1 ส่งเสริมการให้บริการและการใช้ ทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
        (1) ประชาสัมพันธ์บริการ และแนะนำ ทรัพยากรสารสนเทศผ่านช่องทาง ต่างๆ ถึงผู้รับบริการ และหน่วยงาน เครือข่ายความร่วมมือ
        (2) ตรวจสอบสภาพและจัดการทรัพยากรสารสนเทศให้พร้อม บริการอยู่เสมอ
        (3) จัดทำสถิติการยืมหรือการใช้ ประโยชน์ทรัพยากรสารสนเทศ
        (4) นำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมา ประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมการ ให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
   
3.2.2 จัดพื้นที่บริการ ให้สอดคล้องกับ การเป็นห้องสมุดสีเขียว ดังนี้
        (1) สะอาด สวยงาม เป็นระเบียบ
        (2) ปลอดภัย
        (3) ประหยัดพลังงานและทรัพยากร
        (4) จัดพื้นที่บริการโดยสอดแทรกความรู้ และแนวคิดการให้บริการที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม
 
คำอธิบาย
        - ความปลอดภัย หมายถึง ความปลอดภัยจากเชื้อโรค ปลอดจากมลพิษ ทั้งมลพิษทางเสียง มลพิษทางอากาศจากฝุ่นละออง เชื้อรา และกลิ่นไม่พึงประสงค์ ครอบคลุมถึงความปลอดภัยใน ชีวิตและทรัพย์สินของผู้รับบริการและผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุด