0 2201 7250-6

ฮิต: 282

เกณฑ์การประเมิน

การประเมินตนเอง

มี

ไม่มี

หลักฐาน

หมวดที่ 2 การสื่อสารและสร้างจิตสำนึก

2.1 การอบรมให้ความรู้และประเมินความเข้าใจ

2.1.1 กำหนดแผนการฝึกอบรมดำเนินการอบรม การประเมินผล และบันทึกประวัติการฝึกอบรม

(1) ระบุหลักสูตรและความถี่การอบรมลงในแผนการฝึกอบรม โดยหลักสูตรครอบคลุมเนื้อหามีรายละเอียดอย่างน้อยดังนี้

- ความสำคัญของห้องสมุดสีเขียว

- การบริหารจัดการห้องสมุดสีเขียวและการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

- การให้บริการที่มีคุณภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

- การจัดหาและการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

 

มีการกำหนดเรื่องการพัฒนาบุคลากรห้องสมุดสีเขียวในแผนการดำเนินงานคณะทำงานพัฒนาห้องสมุด ประจำปีงบประมาณ 2566 ซึ่งคณะทำงานฯ เข้าร่วมอบรมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดสีเขียว เช่น

1. การสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 จัดโดย กรมวิทยาศาสตร์บริการ ผ่านระบบออนไลน์

       

2. Library talk เรื่อง การลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2566 จัดโดย หอสมุดรัฐสภาและคณะขับเคลื่อนสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเป็นสำนักงานสีเขียว

 

3. งานสัมมนา เรื่อง มาร่วมเป็นองค์กรคาร์บอนนิวทรัลด้วยการทำกิจกรรมชดเชยคาร์บอน เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 จัดโดย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

 

4. หนทางสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero Emissions ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 จัดโดย กรมวิทยาศาสตร์บริการ ผ่านระบบออนไลน์

(2) ดำเนินการฝึกอบรมตามแผนการฝึกอบรมในข้อ (1) โดยผู้รับการอบรมจะต้องมากกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละหลักสูตร

 

กรณี กรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นผู้จัดการอบรม ระหว่างการอบรมมีผู้รับการอบรมมากกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละเรื่อง

จำนวน 2 เรื่อง ดังนี้

  1. การสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565
  2. หนทางสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero Emissions ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 

        

(3) ประเมินผลการฝึกอบรม เช่น

ข้อสอบ หรือการประเมินขณะ

ปฏิบัติงาน เป็นต้น

 

การประเมินขณะปฏิบัติงานโดยหัวหน้ากลุ่มสังเกตการปฏิบัติงานของบุคลากร

(4) จัดทำประวัติการอบรมของบุคลากร

 

บุคลากรทุกคนได้จัดทำประวัติการอบรมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลไว้แล้วตามระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2015 ในแบบบันทึกและประเมินผลการพัฒนาบุคลากร (F-CD0-040)

      

 ตัวอย่าง ประวัติการอบรมของบุคลากร

2.2 การรณรงค์และประชาสัมพันธ์แก่บุคลากร

2.2.1 มีการกำหนดผู้รับผิดชอบและแนวทางสื่อสารเรื่องห้องสมุดสีเขียว

(1) กำหนดหัวข้อและความถี่การสื่อสารอย่างน้อย ดังนี้

 

หัวข้อ

ความถี่

1. นโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว

ทุกครั้งที่มีการ

เปลี่ยนแปลง

2. ทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง

ทุกครั้งที่มีการ

เปลี่ยนแปลง

3.ความรู้ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง

ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง

4 . กิจกรรมห้องสมุดสีเขียว

ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง

5. กิจกรรมเครือข่ายความร่วมมือ

ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง

 

 

 

1. มีการจัดทำนโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว ฉบับล่าสุด ประกาศเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 และเวียนแจ้งให้คณะทำงานฯ รับทราบผ่านกลุ่มไลน์ และระบบ e-Sarabun โดยสามารถเข้าดูหนังสือได้ที่ http://bsti-saraban.dss.local/ (ชื่อผู้ใช้งาน และ รหัสผ่าน ใช้อันเดียวกันกับที่ Login เข้าใช้งานคอมพิวเตอร์) เลือกเมนู หนังสือเวียน พลังงาน/สิ่งแวดล้อม ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย

            

 

  1. นโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว  คลิก
  2. นโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม คลิก
  3. เป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ 2567 คลิก
  1. มีการแจ้งเรื่องการจัดกิจกรรมห้องสมุดสีเขียวผ่านกลุ่มไลน์ ทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรม

           

        

(2) กำหนดช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับหัวข้อการสื่อสารและองค์กร (ไม่จำกัดจำนวนช่องทาง)

 

มีการกำหนดช่องทางการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดสีเขียว ดังนี้

  1. กลุ่มไลน์ห้องสมุดสีเขียว ชื่อกลุ่ม SLTD Green Library
  2. เว็บไซด์ห้องสมุดสีเขียว กองหอสมุดฯ กรมวิทยาศาสตร์บริการ  เว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียว
  1. Facebook กองหอสมุดฯ  Facebook กองหอสมุดฯ
  1. อีเมลของผู้รับบริการที่แสดงความต้องการรับข้อความผ่านทางอีเมล ส่งโดย This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

(3) กำหนดกลุ่มเป้าหมายรับเรื่องสื่อสาร

 

มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายรับเรื่องสื่อสาร เพื่อให้ตรงตามความต้องการ มีรายชื่ออีเมลของผู้รับบริการที่แจ้งความประสงค์รับข้อมูลข่าวสาร

      

(4) กำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร

 

 √

 

มีการกำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร เพื่อการดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยหัวหน้ากลุ่มสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มอบหมายให้ นางสาวพรทิพย์ เส็นสด นักวิชาการเผยแพร่  เป็นผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร เผยแพร่ข่าวสารของกองหอสมุดฯ 

2.2.2 มีการรณรงค์สื่อสารและให้ความรู้ตามที่กำหนดในข้อ 2.2.1

(1) กำหนดหัวข้อและความถี่การสื่อสารอย่างน้อย ดังนี้

หัวข้อ

ความถี่

1. นโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว

ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง

2. ทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง

ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง

3.ความรู้ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง

ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง

4 . กิจกรรมห้องสมุดสีเขียว

ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง

5. กิจกรรมเครือข่ายความร่วมมือ

ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง

 

 

 

1. มีการจัดทำแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ฉบับล่าสุด ประกาศเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2567 และเวียนแจ้งให้คณะทำงานฯ รับทราบผ่านกลุ่มไลน์ โดยตามแผนฯ หมวด 2 ข้อ 10 กำหนดให้มีการสื่อสารเรื่อง ห้องสมุดสีเขียว หัวข้อ 1-6 ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย

2. มีการแจ้งเรื่องห้องสมุดสีเขียวผ่านกลุ่มไลน์ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือจัดกิจกรรม

- นโยบายห้องสมุดสีเขียว

มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์นโยบายห้องสมุดสีเขียวภายในลิฟต์ห้องสมุด รวมถึงหน้าเว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียวทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง

นโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561-2567 หัวข้อ นโยบาย มาตรการ ประกาศ สท.

                       

 

- ทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านบัญชีรายชื่อหนังสือใหม่ รวมทั้งจัดทำในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เผยแพร่ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ อีเมล เฟซบุ๊ก ไลน์

- ความรู้ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง สารสนเทศด้านสีเขียว

- กิจกรรมห้องสมุดสีเขียว

- กิจกรรมเครือข่ายความร่วมมือ

  

2.2.3 ร้อยละความเข้าใจนโยบายและการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว (สุ่มอย่างน้อย 4 คน) โดยจะต้องสอบถามบุคลากรแต่ละคนอย่างน้อยตามข้อ 2.2.1 (1)

 

 

 

2.2.4 มีช่องทางรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านห้องสมุดสีเขียว และนำมาปรับปรุงแก้ไข โดยต้องมีแนวทาง ดังนี้

(1) มีช่องทางเพื่อรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านห้องสมุดสีเขียว เช่น ไลน์ เว็บไซต์เฟสบุ๊ค อีเมล์ กล่องรับความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากการประชุม

 

มีช่องทางเพื่อรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านห้องสมุดสีเขียว ดังนี้

  1. กลุ่มไลน์ห้องสมุดสีเขียว ชื่อกลุ่ม SLTD Green Library

2. เว็บไซด์ห้องสมุดสีเขียว กองหอสมุดฯ กรมวิทยาศาสตร์บริการ  เว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียว

3.Facebook กองหอสมุดฯ  Facebook กองหอสมุดฯ

 

(2) มีผู้รับผิดชอบในการรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น

 

กองหอสมุดฯ มีเคาน์เตอร์ให้บริการและมีกล่องรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้รับบริการ

          

 

(3) มีการแสดงข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านห้องสมุดสีเขียว

 

จากการประชุมในแต่ละครั้ง ประธานและคณะทำงานฯ ร่วมกันแสดงข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านห้องสมุดสีเขียว และมีมติที่ประชุมของแต่ละเรื่องรายงานในรายงานการประชุมฯ แต่ละครั้ง

รายงานการประชุมฯ

(4) มีการรายงานผลการปรับปรุงจากข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น และเสนอต่อผู้บริหาร

 

จากการประชุมในแต่ละครั้ง ผลการปรับปรุงจากข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น มีการนำเสนอต่อผู้บริหาร และมีมติที่ประชุมของแต่ละเรื่องรายงาน และจัดทำรายงานการประชุมฯ แต่ละครั้ง

รายงานการประชุมฯ

หมวดที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศและการให้บริการห้องสมุดสีเขียว

3.1 จัดการทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ให้เพียงพอและพร้อมใช้

3.1.1 จัดหาทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง โดยดำเนินการ ดังนี้

(1) สำรวจความต้องการของผู้รับบริการ

 

 

มีการสำรวจความต้องการสารสนเทศของผู้ขอรับบริการภายในกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประจำทุกปี และผู้ขอรับบริการทั้งภายในและภายนอก สามารถเขียนเสนอเอกสารที่ต้องการได้ในแบบเสนอแนะทรัพยากรสารสนเทศ (F-CD1-020)

(2) จัดหาทรัพยากรสารสนเทศได้ตรงตามความต้องการ และสอดคล้องกับนโยบายของห้องสมุด

 

มีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศตามความต้องการของผู้รับบริการ และสอดคล้องกับนโยบายของห้องสมุด

(3) ทรัพยากรสารสนเทศมีความทันสมัย

 √

 

ฝ่ายจัดซื้อ มีการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศที่มีความทันสมัย เช่น มาตรฐานที่เป็นฉบับปรับปรุงล่าสุด

(4) ทรัพยากรสารสนเทศมีความหลากหลายเหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละกลุ่ม

 √

 

มีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศมีความหลากหลายเหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละกลุ่ม

3.1.2 ปริมาณทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และเรื่องที่เกี่ยวข้อง เพิ่มขึ้นทุกปี อย่างน้อยปีละ 100 รายชื่อ

 

 √

 

มีการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และเรื่องที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บริการแก่ผู้รับบริการแต่ละกลุ่ม

ในปีงบประมาณ 2566 มีทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จำนวน 5 รายชื่อ (เนื่องจากมีหนังสือด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจำหน่ายจำนวนน้อย) และเรื่องที่เกี่ยวข้องสำหรับให้บริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวนมากกว่า 9,000  รายชื่อ  

3.1.3 จัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง ให้พร้อมใช้และสามารถค้นคืนได้โดยง่าย ดังนี้

(1) มีการจัดหมวดหมู่ กำหนดคำสำคัญและคำศัพท์เฉพาะ เพื่อความสะดวกในการสืบค้น

 

มีขั้นตอนการจัดหมวดหมู่ กำหนดคำสำคัญและคำศัพท์เฉพาะ เพื่อความสะดวกในการสืบค้น ซึ่งมีการจัดหมวดหมู่หนังสือโดยใช้ระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification System ซึ่งย่อว่า D.C.)

(2) ลงรายการบรรณานุกรมและบันทึกข้อมูล หรือจัดทำรายชื่อเพื่อให้

สะดวกต่อการค้นหา

 

มีการลงรายการบรรณานุกรมและบันทึกข้อมูลลงในระบบ Matrix  (https://staff01.dss.go.th/) เพื่อสะดวกในการค้นหา และมีการจัดทำบัญชีรายชื่อเอกสารใหม่ประจำเดือน แสดงที่หน้าเว็บไซต์ห้องสมุด https://siweb.dss.go.th/index.php/th/newlist

(3) จัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศให้พร้อมสำหรับให้บริการ

 √

 

มีขั้นตอนจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศให้พร้อมเพื่อขึ้นชั้นสำหรับให้บริการต่อไป

(4) ผู้รับบริการสามารถสืบค้นและเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้โดยง่าย

 √

 

มีการให้บริการสืบค้นและเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้ผ่านเว็บไซต์ https://siweb.dss.go.th/index.php/th/ และ เลือก “สืบค้นสิ่งพิมพ์ของห้องสมุด” ใส่ข้อความที่ต้องการค้นหาตามช่องที่กำหนดให้

3.2 การให้บริการห้องสมุดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

3.2.1 ส่งเสริมการให้บริการและการใช้ทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(1) ประชาสัมพันธ์บริการ และแนะนำทรัพยากรสารสนเทศผ่านช่องทางต่างๆ ถึงผู้รับบริการ และหน่วยงานเครือข่ายความร่วมมือ

 √

 

มีการประชาสัมพันธ์บริการ และแนะนำทรัพยากรสารสนเทศผ่านช่องทางต่าง ๆ ถึงผู้รับบริการ และหน่วยงานเครือข่ายความร่วมมือดังนี้

  1. กลุ่มไลน์ห้องสมุดสีเขียว SLTD Green Library (22 คน)
  2. เว็บไซด์ห้องสมุดสีเขียว กองหอสมุดฯ กรมวิทยาศาสตร์บริการ https://lib1.dss.go.th/greenlib/index.php/th/
  1. Facebook กองหอสมุดฯ 

    https://www.facebook.com/ScienceLibraryDSS

  2. อีเมลของผู้รับบริการที่แสดงความต้องการรับข้อความผ่านทางอีเมล ส่งโดย pr This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

  3. Line กลุ่ม DSS NEWS (499 คน)
  4. Line กลุ่ม GreenLib Net (360 คน)
  5. Line กลุ่ม ศปว. (82 คน)

(2) ตรวจสอบสภาพและจัดการทรัพยากรสารสนเทศให้พร้อมบริการอยู่เสมอ

 √

 

มีการตรวจสอบสภาพและจัดการทรัพยากรสารสนเทศให้พร้อมบริการอยู่เสมอ

(3) จัดทำสถิติการยืมหรือการใช้ประโยชน์ทรัพยากรสารสนเทศ

 √

 

มีการจัดทำสถิติการยืมหรือการใช้ประโยชน์ทรัพยากรสารสนเทศและนำเสนอผู้บริหาร

(4) นำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมการให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 √

 

มีการนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมการให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย

  1. กองหอสมุดฯ เป็นต้นแบบการนำระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้กระดาษในกรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยส่งเอกสารแจ้งเวียนทางไลน์/ e-mail/e sarabun โดยสามารถเข้าดูหนังสือได้ที่ http://bsti-saraban.dss.local/ (ชื่อผู้ใช้งาน และ รหัสผ่าน ใช้อันเดียวกันกับที่ Login เข้าใช้งานคอมพิวเตอร์) เลือกเมนู หนังสือเวียน
  2. การให้บริการผ่านอีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
  3. บริการผ่านระบบ My Loft ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเข้าใช้บริการฐานข้อมูลต่างๆ และดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มได้เองจากภายนอกห้องสมุด
  4. บริการระบบบริการสารสนเทศผ่านบริการภาครัฐ Citizen portal
  5. มีการจัดทำตัวชี้วัดเรื่อง จำนวนนวัตกรรมบริการหรือกระบวนการที่ดำเนินการได้แล้วเสร็จ โดยกองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    ชื่อ นวัตกรรมบริการ

    เรื่อง “การพัฒนากระบวนการติดตามเอกสาร ของบริการจัดหาเอกสาร

    ฉบับเต็มและประเมินความพึงพอใจออนไลน์

    (ชื่อภาษาอังกฤษ Smart Document Delivery Services)”

3.2.2 จัดพื้นที่บริการ ให้สอดคล้องกับการเป็นห้องสมุดสีเขียว ดังนี้

(1) สะอาด สวยงาม เป็นระเบียบ

 √

 

มีการจัดพื้นที่ให้บริการ พื้นที่รับรอง ให้ดูสะอาด สวยงาม เป็นระเบียบ สอดคล้องกับการเป็นห้องสมุดสีเขียว

(2) ปลอดภัย

 √

 

มีการจัดชั้นวางและจัดวางสารสนเทศให้เป็นระเบียบ มีการจัดพื้นที่บริการให้มีความปลอดภัยโดยมีการติดตั้งสัญญาณไฟฉุกเฉินและติดตั้งถังดับเพลิงไว้ทุกชั้นบริการ และมีการตรวจสอบสภาพให้พร้อมใช้งานเป็นประจำ

(3) ประหยัดพลังงานและทรัพยากร

 √

 

- มีการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยปฏิบัติตามมาตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ฉบับประกาศ ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 และฉบับประกาศ ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 ลงนามโดย นางสาวปัทมา นพรัตน์ ผู้อำนวยการกองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

- มีการจัดทำ Infographic  เผยแพร่ทางไลน์กลุ่ม และติดประกาศบริเวณพื้นที่บริการ เช่น มาตรการอนุรักษ์พลังงานด้านไฟฟ้า มาตรการประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ กระดาษ กิจกรรมรวบรวมเศษอาหารอินทรีย์เพื่อน้องหมา ช่วยลดปริมาณขยะอินทรีย์ได้ เป็นต้น

(4) จัดพื้นที่บริการโดยสอดแทรกความรู้และแนวคิดการให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 √

 

มีพื้นที่บริการสำหรับสารสนเทศที่สอดแทรกความรู้และแนวคิดการให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม