0 2201 7250-6

เกณฑ์การประเมิน

การประเมินตนเอง

มี

ไม่มี

หลักฐาน

หมวดที่ 2 การสื่อสารและสร้างจิตสำนึก

2.1 การอบรมให้ความรู้และประเมินความเข้าใจ

2.1.1 กำหนดแผนการฝึกอบรมดำเนินการอบรม การประเมินผล และบันทึกประวัติการฝึกอบรม

(1) ระบุหลักสูตรและความถี่การอบรมลงในแผนการฝึกอบรม โดยหลักสูตรครอบคลุมเนื้อหามีรายละเอียดอย่างน้อยดังนี้

- ความสำคัญของห้องสมุดสีเขียว

- การบริหารจัดการห้องสมุดสีเขียวและการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

- การให้บริการที่มีคุณภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

- การจัดหาและการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

 

มีการกำหนดเรื่องการพัฒนาบุคลากรห้องสมุดสีเขียวในแผนการดำเนินงานคณะทำงานพัฒนาห้องสมุด ประจำปีงบประมาณ 2566 ซึ่งคณะทำงานฯ เข้าร่วมอบรมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดสีเขียว เช่น

1. การสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 จัดโดย กรมวิทยาศาสตร์บริการ ผ่านระบบออนไลน์

       

2. Library talk เรื่อง การลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2566 จัดโดย หอสมุดรัฐสภาและคณะขับเคลื่อนสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเป็นสำนักงานสีเขียว

 

3. งานสัมมนา เรื่อง มาร่วมเป็นองค์กรคาร์บอนนิวทรัลด้วยการทำกิจกรรมชดเชยคาร์บอน เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 จัดโดย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

 

4. หนทางสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero Emissions ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 จัดโดย กรมวิทยาศาสตร์บริการ ผ่านระบบออนไลน์

(2) ดำเนินการฝึกอบรมตามแผนการฝึกอบรมในข้อ (1) โดยผู้รับการอบรมจะต้องมากกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละหลักสูตร

 

กรณี กรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นผู้จัดการอบรม ระหว่างการอบรมมีผู้รับการอบรมมากกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละเรื่อง

จำนวน 2 เรื่อง ดังนี้

  1. การสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565
  2. หนทางสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero Emissions ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 

        

(3) ประเมินผลการฝึกอบรม เช่น

ข้อสอบ หรือการประเมินขณะ

ปฏิบัติงาน เป็นต้น

 

การประเมินขณะปฏิบัติงานโดยหัวหน้ากลุ่มสังเกตการปฏิบัติงานของบุคลากร

(4) จัดทำประวัติการอบรมของบุคลากร

 

บุคลากรทุกคนได้จัดทำประวัติการอบรมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลไว้แล้วตามระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2015 ในแบบบันทึกและประเมินผลการพัฒนาบุคลากร (F-CD0-040)

      

 ตัวอย่าง ประวัติการอบรมของบุคลากร

2.2 การรณรงค์และประชาสัมพันธ์แก่บุคลากร

2.2.1 มีการกำหนดผู้รับผิดชอบและแนวทางสื่อสารเรื่องห้องสมุดสีเขียว

(1) กำหนดหัวข้อและความถี่การสื่อสารอย่างน้อย ดังนี้

 

หัวข้อ

ความถี่

1. นโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว

ทุกครั้งที่มีการ

เปลี่ยนแปลง

2. ทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง

ทุกครั้งที่มีการ

เปลี่ยนแปลง

3.ความรู้ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง

ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง

4 . กิจกรรมห้องสมุดสีเขียว

ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง

5. กิจกรรมเครือข่ายความร่วมมือ

ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง

 

 

 

1. มีการจัดทำนโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว ฉบับล่าสุด ประกาศเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 และเวียนแจ้งให้คณะทำงานฯ รับทราบผ่านกลุ่มไลน์ และระบบ e-Sarabun โดยสามารถเข้าดูหนังสือได้ที่ http://bsti-saraban.dss.local/ (ชื่อผู้ใช้งาน และ รหัสผ่าน ใช้อันเดียวกันกับที่ Login เข้าใช้งานคอมพิวเตอร์) เลือกเมนู หนังสือเวียน พลังงาน/สิ่งแวดล้อม ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย

            

 

  1. นโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว  คลิก
  2. นโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม คลิก
  3. เป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ 2567 คลิก
  1. มีการแจ้งเรื่องการจัดกิจกรรมห้องสมุดสีเขียวผ่านกลุ่มไลน์ ทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรม

           

        

(2) กำหนดช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับหัวข้อการสื่อสารและองค์กร (ไม่จำกัดจำนวนช่องทาง)

 

มีการกำหนดช่องทางการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดสีเขียว ดังนี้

  1. กลุ่มไลน์ห้องสมุดสีเขียว ชื่อกลุ่ม SLTD Green Library
  2. เว็บไซด์ห้องสมุดสีเขียว กองหอสมุดฯ กรมวิทยาศาสตร์บริการ  เว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียว
  1. Facebook กองหอสมุดฯ  Facebook กองหอสมุดฯ
  1. อีเมลของผู้รับบริการที่แสดงความต้องการรับข้อความผ่านทางอีเมล ส่งโดย This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

(3) กำหนดกลุ่มเป้าหมายรับเรื่องสื่อสาร

 

มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายรับเรื่องสื่อสาร เพื่อให้ตรงตามความต้องการ มีรายชื่ออีเมลของผู้รับบริการที่แจ้งความประสงค์รับข้อมูลข่าวสาร

      

(4) กำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร

 

 √

 

มีการกำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร เพื่อการดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยหัวหน้ากลุ่มสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มอบหมายให้ นางสาวพรทิพย์ เส็นสด นักวิชาการเผยแพร่  เป็นผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร เผยแพร่ข่าวสารของกองหอสมุดฯ 

2.2.2 มีการรณรงค์สื่อสารและให้ความรู้ตามที่กำหนดในข้อ 2.2.1

(1) กำหนดหัวข้อและความถี่การสื่อสารอย่างน้อย ดังนี้

หัวข้อ

ความถี่

1. นโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว

ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง

2. ทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง

ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง

3.ความรู้ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง

ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง

4 . กิจกรรมห้องสมุดสีเขียว

ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง

5. กิจกรรมเครือข่ายความร่วมมือ

ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง

 

 

 

1. มีการจัดทำแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ฉบับล่าสุด ประกาศเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2567 และเวียนแจ้งให้คณะทำงานฯ รับทราบผ่านกลุ่มไลน์ โดยตามแผนฯ หมวด 2 ข้อ 10 กำหนดให้มีการสื่อสารเรื่อง ห้องสมุดสีเขียว หัวข้อ 1-6 ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย

2. มีการแจ้งเรื่องห้องสมุดสีเขียวผ่านกลุ่มไลน์ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือจัดกิจกรรม

- นโยบายห้องสมุดสีเขียว

มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์นโยบายห้องสมุดสีเขียวภายในลิฟต์ห้องสมุด รวมถึงหน้าเว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียวทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง

นโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561-2567 หัวข้อ นโยบาย มาตรการ ประกาศ สท.

                       

 

- ทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านบัญชีรายชื่อหนังสือใหม่ รวมทั้งจัดทำในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เผยแพร่ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ อีเมล เฟซบุ๊ก ไลน์

- ความรู้ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง สารสนเทศด้านสีเขียว

- กิจกรรมห้องสมุดสีเขียว

- กิจกรรมเครือข่ายความร่วมมือ

  

2.2.3 ร้อยละความเข้าใจนโยบายและการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว (สุ่มอย่างน้อย 4 คน) โดยจะต้องสอบถามบุคลากรแต่ละคนอย่างน้อยตามข้อ 2.2.1 (1)

 

 

 

2.2.4 มีช่องทางรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านห้องสมุดสีเขียว และนำมาปรับปรุงแก้ไข โดยต้องมีแนวทาง ดังนี้

(1) มีช่องทางเพื่อรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านห้องสมุดสีเขียว เช่น ไลน์ เว็บไซต์เฟสบุ๊ค อีเมล์ กล่องรับความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากการประชุม

 

มีช่องทางเพื่อรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านห้องสมุดสีเขียว ดังนี้

  1. กลุ่มไลน์ห้องสมุดสีเขียว ชื่อกลุ่ม SLTD Green Library

2. เว็บไซด์ห้องสมุดสีเขียว กองหอสมุดฯ กรมวิทยาศาสตร์บริการ  เว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียว

3.Facebook กองหอสมุดฯ  Facebook กองหอสมุดฯ

 

(2) มีผู้รับผิดชอบในการรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น

 

กองหอสมุดฯ มีเคาน์เตอร์ให้บริการและมีกล่องรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้รับบริการ

          

 

(3) มีการแสดงข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านห้องสมุดสีเขียว

 

จากการประชุมในแต่ละครั้ง ประธานและคณะทำงานฯ ร่วมกันแสดงข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านห้องสมุดสีเขียว และมีมติที่ประชุมของแต่ละเรื่องรายงานในรายงานการประชุมฯ แต่ละครั้ง

รายงานการประชุมฯ

(4) มีการรายงานผลการปรับปรุงจากข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น และเสนอต่อผู้บริหาร

 

จากการประชุมในแต่ละครั้ง ผลการปรับปรุงจากข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น มีการนำเสนอต่อผู้บริหาร และมีมติที่ประชุมของแต่ละเรื่องรายงาน และจัดทำรายงานการประชุมฯ แต่ละครั้ง

รายงานการประชุมฯ

หมวดที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศและการให้บริการห้องสมุดสีเขียว

3.1 จัดการทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ให้เพียงพอและพร้อมใช้

3.1.1 จัดหาทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง โดยดำเนินการ ดังนี้

(1) สำรวจความต้องการของผู้รับบริการ

 

 

มีการสำรวจความต้องการสารสนเทศของผู้ขอรับบริการภายในกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประจำทุกปี และผู้ขอรับบริการทั้งภายในและภายนอก สามารถเขียนเสนอเอกสารที่ต้องการได้ในแบบเสนอแนะทรัพยากรสารสนเทศ (F-CD1-020)

(2) จัดหาทรัพยากรสารสนเทศได้ตรงตามความต้องการ และสอดคล้องกับนโยบายของห้องสมุด

 

มีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศตามความต้องการของผู้รับบริการ และสอดคล้องกับนโยบายของห้องสมุด

(3) ทรัพยากรสารสนเทศมีความทันสมัย

 √

 

ฝ่ายจัดซื้อ มีการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศที่มีความทันสมัย เช่น มาตรฐานที่เป็นฉบับปรับปรุงล่าสุด

(4) ทรัพยากรสารสนเทศมีความหลากหลายเหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละกลุ่ม

 √

 

มีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศมีความหลากหลายเหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละกลุ่ม

3.1.2 ปริมาณทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และเรื่องที่เกี่ยวข้อง เพิ่มขึ้นทุกปี อย่างน้อยปีละ 100 รายชื่อ

 

 √

 

มีการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และเรื่องที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บริการแก่ผู้รับบริการแต่ละกลุ่ม

ในปีงบประมาณ 2566 มีทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จำนวน 5 รายชื่อ (เนื่องจากมีหนังสือด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจำหน่ายจำนวนน้อย) และเรื่องที่เกี่ยวข้องสำหรับให้บริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวนมากกว่า 9,000  รายชื่อ  

3.1.3 จัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง ให้พร้อมใช้และสามารถค้นคืนได้โดยง่าย ดังนี้

(1) มีการจัดหมวดหมู่ กำหนดคำสำคัญและคำศัพท์เฉพาะ เพื่อความสะดวกในการสืบค้น

 

มีขั้นตอนการจัดหมวดหมู่ กำหนดคำสำคัญและคำศัพท์เฉพาะ เพื่อความสะดวกในการสืบค้น ซึ่งมีการจัดหมวดหมู่หนังสือโดยใช้ระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification System ซึ่งย่อว่า D.C.)

(2) ลงรายการบรรณานุกรมและบันทึกข้อมูล หรือจัดทำรายชื่อเพื่อให้

สะดวกต่อการค้นหา

 

มีการลงรายการบรรณานุกรมและบันทึกข้อมูลลงในระบบ Matrix  (https://staff01.dss.go.th/) เพื่อสะดวกในการค้นหา และมีการจัดทำบัญชีรายชื่อเอกสารใหม่ประจำเดือน แสดงที่หน้าเว็บไซต์ห้องสมุด https://siweb.dss.go.th/index.php/th/newlist

(3) จัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศให้พร้อมสำหรับให้บริการ

 √

 

มีขั้นตอนจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศให้พร้อมเพื่อขึ้นชั้นสำหรับให้บริการต่อไป

(4) ผู้รับบริการสามารถสืบค้นและเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้โดยง่าย

 √

 

มีการให้บริการสืบค้นและเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้ผ่านเว็บไซต์ https://siweb.dss.go.th/index.php/th/ และ เลือก “สืบค้นสิ่งพิมพ์ของห้องสมุด” ใส่ข้อความที่ต้องการค้นหาตามช่องที่กำหนดให้

3.2 การให้บริการห้องสมุดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

3.2.1 ส่งเสริมการให้บริการและการใช้ทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(1) ประชาสัมพันธ์บริการ และแนะนำทรัพยากรสารสนเทศผ่านช่องทางต่างๆ ถึงผู้รับบริการ และหน่วยงานเครือข่ายความร่วมมือ

 √

 

มีการประชาสัมพันธ์บริการ และแนะนำทรัพยากรสารสนเทศผ่านช่องทางต่าง ๆ ถึงผู้รับบริการ และหน่วยงานเครือข่ายความร่วมมือดังนี้

  1. กลุ่มไลน์ห้องสมุดสีเขียว SLTD Green Library (22 คน)
  2. เว็บไซด์ห้องสมุดสีเขียว กองหอสมุดฯ กรมวิทยาศาสตร์บริการ https://lib1.dss.go.th/greenlib/index.php/th/
  1. Facebook กองหอสมุดฯ 

    https://www.facebook.com/ScienceLibraryDSS

  2. อีเมลของผู้รับบริการที่แสดงความต้องการรับข้อความผ่านทางอีเมล ส่งโดย pr This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

  3. Line กลุ่ม DSS NEWS (499 คน)
  4. Line กลุ่ม GreenLib Net (360 คน)
  5. Line กลุ่ม ศปว. (82 คน)

(2) ตรวจสอบสภาพและจัดการทรัพยากรสารสนเทศให้พร้อมบริการอยู่เสมอ

 √

 

มีการตรวจสอบสภาพและจัดการทรัพยากรสารสนเทศให้พร้อมบริการอยู่เสมอ

(3) จัดทำสถิติการยืมหรือการใช้ประโยชน์ทรัพยากรสารสนเทศ

 √

 

มีการจัดทำสถิติการยืมหรือการใช้ประโยชน์ทรัพยากรสารสนเทศและนำเสนอผู้บริหาร

(4) นำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมการให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 √

 

มีการนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมการให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย

  1. กองหอสมุดฯ เป็นต้นแบบการนำระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้กระดาษในกรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยส่งเอกสารแจ้งเวียนทางไลน์/ e-mail/e sarabun โดยสามารถเข้าดูหนังสือได้ที่ http://bsti-saraban.dss.local/ (ชื่อผู้ใช้งาน และ รหัสผ่าน ใช้อันเดียวกันกับที่ Login เข้าใช้งานคอมพิวเตอร์) เลือกเมนู หนังสือเวียน
  2. การให้บริการผ่านอีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
  3. บริการผ่านระบบ My Loft ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเข้าใช้บริการฐานข้อมูลต่างๆ และดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มได้เองจากภายนอกห้องสมุด
  4. บริการระบบบริการสารสนเทศผ่านบริการภาครัฐ Citizen portal
  5. มีการจัดทำตัวชี้วัดเรื่อง จำนวนนวัตกรรมบริการหรือกระบวนการที่ดำเนินการได้แล้วเสร็จ โดยกองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    ชื่อ นวัตกรรมบริการ

    เรื่อง “การพัฒนากระบวนการติดตามเอกสาร ของบริการจัดหาเอกสาร

    ฉบับเต็มและประเมินความพึงพอใจออนไลน์

    (ชื่อภาษาอังกฤษ Smart Document Delivery Services)”

3.2.2 จัดพื้นที่บริการ ให้สอดคล้องกับการเป็นห้องสมุดสีเขียว ดังนี้

(1) สะอาด สวยงาม เป็นระเบียบ

 √

 

มีการจัดพื้นที่ให้บริการ พื้นที่รับรอง ให้ดูสะอาด สวยงาม เป็นระเบียบ สอดคล้องกับการเป็นห้องสมุดสีเขียว

(2) ปลอดภัย

 √

 

มีการจัดชั้นวางและจัดวางสารสนเทศให้เป็นระเบียบ มีการจัดพื้นที่บริการให้มีความปลอดภัยโดยมีการติดตั้งสัญญาณไฟฉุกเฉินและติดตั้งถังดับเพลิงไว้ทุกชั้นบริการ และมีการตรวจสอบสภาพให้พร้อมใช้งานเป็นประจำ

(3) ประหยัดพลังงานและทรัพยากร

 √

 

- มีการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยปฏิบัติตามมาตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ฉบับประกาศ ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 และฉบับประกาศ ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 ลงนามโดย นางสาวปัทมา นพรัตน์ ผู้อำนวยการกองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

- มีการจัดทำ Infographic  เผยแพร่ทางไลน์กลุ่ม และติดประกาศบริเวณพื้นที่บริการ เช่น มาตรการอนุรักษ์พลังงานด้านไฟฟ้า มาตรการประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ กระดาษ กิจกรรมรวบรวมเศษอาหารอินทรีย์เพื่อน้องหมา ช่วยลดปริมาณขยะอินทรีย์ได้ เป็นต้น

(4) จัดพื้นที่บริการโดยสอดแทรกความรู้และแนวคิดการให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 √

 

มีพื้นที่บริการสำหรับสารสนเทศที่สอดแทรกความรู้และแนวคิดการให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เกณฑ์การประเมิน

การประเมินตนเอง

มี

ไม่มี

หลักฐาน

3.1 จัดการทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ให้เพียงพอและพร้อมใช้

3.1.1 จัดหาทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง โดยดำเนินการ ดังนี้

(1) สำรวจความต้องการของผู้รับบริการ

 

 √

 

กองหอสมุดฯ มีการสำรวจความต้องการสารสนเทศของผู้ขอรับบริการภายในกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประจำทุกปี และผู้ขอรับบริการทั้งภายในและภายนอก สามารถเขียนเสนอเอกสารที่ต้องการได้ในแบบเสนอแนะทรัพยากรสารสนเทศ (F-CD1-020)

           

(2) จัดหาทรัพยากรสารสนเทศได้ตรงตามความต้องการ และสอดคล้องกับนโยบายของห้องสมุด

 √

 

 

มีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศตามความต้องการของผู้รับบริการ และสอดคล้องกับนโยบายของห้องสมุด

 

(3) ทรัพยากรสารสนเทศมีความทันสมัย

 √

 

ฝ่ายจัดซื้อ มีการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศที่มีความทันสมัย เช่น มาตรฐานที่เป็นฉบับปรับปรุงล่าสุด

 

(4) ทรัพยากรสารสนเทศมีความหลากหลายเหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละกลุ่ม

 √

 

มีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศมีความหลากหลายเหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละกลุ่ม

3.1.2 ปริมาณทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และเรื่องที่เกี่ยวข้อง เพิ่มขึ้นทุกปี อย่างน้อยปีละ 100 รายชื่อ

 

 √

 

มีการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และเรื่องที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บริการแก่ผู้รับบริการแต่ละกลุ่ม

ในปีงบประมาณ 2566 มีทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จำนวน 5 รายชื่อ (เนื่องจากมีหนังสือด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจำหน่ายจำนวนน้อย) และเรื่องที่เกี่ยวข้องสำหรับให้บริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวนมากกว่า 9,000 รายชื่อ

3.1.3 จัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง ให้พร้อมใช้และสามารถค้นคืนได้โดยง่าย ดังนี้

(1) มีการจัดหมวดหมู่ กำหนดคำสำคัญและคำศัพท์เฉพาะ เพื่อความสะดวกในการสืบค้น

 √

 

มีขั้นตอนการจัดหมวดหมู่ กำหนดคำสำคัญและคำศัพท์เฉพาะ เพื่อความสะดวกในการสืบค้น ซึ่งมีการจัดหมวดหมู่หนังสือโดยใช้ระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification System ซึ่งย่อว่า D.C.)

(2) ลงรายการบรรณานุกรมและบันทึกข้อมูล หรือจัดทำรายชื่อเพื่อให้สะดวกต่อการค้นหา

 √

 

กองหอสมุดฯ มีการลงรายการบรรณานุกรมและบันทึกข้อมูลลงในระบบ Matrix (https://staff01.dss.go.th/) เพื่อสะดวกในการค้นหา และมีการจัดทำบัญชีรายชื่อเอกสารใหม่ประจำเดือน แสดงที่หน้าเว็บไซต์ห้องสมุด New List : บัญชีรายชื่อหนังสือใหม่

(3) จัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศให้พร้อมสำหรับให้บริการ

 √

 

เมื่อมีการจัดการรายการทรัพยากรสารสนเทศเรียบร้อยแล้ว จะมีการจัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศเพื่อขึ้นชั้นสำหรับให้บริการต่อไป

(4) ผู้รับบริการสามารถสืบค้นและเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้โดยง่าย

 √

 

ผู้รับบริการสามารถสืบค้นและเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้ทางเว็บไซต์ https://siweb.dss.go.th  

 

3.2 การให้บริการห้องสมุดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

3.2.1 ส่งเสริมการให้บริการและการใช้ทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(1) ประชาสัมพันธ์บริการ และแนะนำทรัพยากรสารสนเทศผ่านช่องทางต่างๆ ถึงผู้รับบริการ และหน่วยงานเครือข่ายความร่วมมือ

 √

 

มีการประชาสัมพันธ์บริการ และแนะนำทรัพยากรสารสนเทศผ่านช่องทาง

ต่างๆ ถึงผู้รับบริการ และหน่วยงานเครือข่ายความร่วมมือดังนี้

  1. กลุ่มไลน์ห้องสมุดสีเขียว SLTD Green Library (22 คน)
  2. เว็บไซด์ห้องสมุดสีเขียว กองหอสมุดฯ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

https://lib1.dss.go.th/greenlib/index.php/th/

  1. Facebook กองหอสมุดฯ

    https://www.facebook.com/ScienceLibraryDSS

  2. อีเมลของผู้รับบริการที่แสดงความต้องการรับข้อความผ่านทางอีเมล ส่งโดย pr This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

(2) ตรวจสอบสภาพและจัดการทรัพยากรสารสนเทศให้พร้อมบริการอยู่เสมอ

 √

 

กองหอสมุดฯ มีการตรวจสอบสภาพเอกสาร ให้พร้อมให้บริการอยู่เสมอ หากเอกสารฉบับใดชำรุดจะมีการดำเนินการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานต่อไป

(3) จัดทำสถิติการยืมหรือการใช้ประโยชน์ทรัพยากรสารสนเทศ

 √

 

กองหอสมุดฯ มีการจัดทำสถิติการยืม หรือการนำสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ในภาพรวมเป็นประจำทุกเดือน

(4) นำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมการให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 √

 

มีการนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมการให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย

  1. กองหอสมุดฯ เป็นต้นแบบการนำระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้กระดาษในกรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยส่งเอกสารแจ้งเวียนทางไลน์/ e-mail/e sarabun โดยสามารถเข้าดูหนังสือได้ที่ http://bsti-saraban.dss.local/ (ชื่อผู้ใช้งาน และ รหัสผ่าน ใช้อันเดียวกันกับที่ Login เข้าใช้งานคอมพิวเตอร์) เลือกเมนู หนังสือเวียน
  2. การให้บริการผ่านอีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
  3. บริการผ่านระบบ My Loft ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเข้าใช้บริการฐานข้อมูลต่างๆ และดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มได้เองจากภายนอกห้องสมุด
  4. บริการระบบบริการสารสนเทศผ่านบริการภาครัฐ Citizen portal 
  5. มีการจัดทำตัวชี้วัดเรื่อง จำนวนนวัตกรรมบริการหรือกระบวนการที่ดำเนินการได้แล้วเสร็จ โดยกองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนี้

    ชื่อ นวัตกรรมบริการ

    เรื่อง “การพัฒนากระบวนการติดตามเอกสาร ของบริการจัดหาเอกสารฉบับเต็มและประเมินความพึงพอใจออนไลน์ (ชื่อภาษาอังกฤษ Smart Document Delivery Services)”

3.2.2 จัดพื้นที่บริการ ให้สอดคล้องกับการเป็นห้องสมุดสีเขียว ดังนี้

(1) สะอาด สวยงาม เป็นระเบียบ

 √

 

มีการจัดพื้นที่ให้บริการ พื้นที่รับรอง ให้ดูสะอาด สวยงาม เป็นระเบียบ สอดคล้องกับการเป็นห้องสมุดสีเขียว

        

(2) ปลอดภัย

 √

 

มีการจัดชั้นวางและจัดวางสารสนเทศให้เป็นระเบียบ มีการจัดพื้นที่บริการให้มีความปลอดภัยโดยมีการติดตั้งสัญญาณไฟฉุกเฉินและติดตั้งถังดับเพลิงไว้ทุกชั้นบริการ และมีการตรวจสอบสภาพให้พร้อมใช้งานเป็นประจำ 

     

  

มีการแจ้งเตือน ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบว่า ซ่อมลิฟต์อยู่เสมอ

 

 

 

 (3) ประหยัดพลังงานและทรัพยากร

 √

 

- มีการประหยัดพลังงานและทรัพยากร โดยปฏิบัติตามมาตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ประกาศ ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 ลงนามโดยนางสาวปัทมา นพรัตน์ ผู้อำนวยการกองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

- มีการจัดทำ Infographic  เผยแพร่ทางไลน์กลุ่ม และติดประกาศบริเวณพื้นที่บริการ เช่น มาตรการอนุรักษ์พลังงานด้านไฟฟ้า มาตรการประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ กระดาษ กิจกรรมรวบรวมเศษอาหารอินทรีย์เพื่อน้องหมา ช่วยลดปริมาณขยะอินทรีย์ได้ เป็นต้น

(4) จัดพื้นที่บริการโดยสอดแทรกความรู้และแนวคิดการให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 √

 

มีพื้นที่บริการสำหรับสารสนเทศที่สอดแทรกความรู้และแนวคิดการให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เกณฑ์การประเมิน

การประเมินตนเอง

มี

ไม่มี

หลักฐาน

5.1 หน่วยงานความร่วมมือ

5.1.1 มีความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

(1) เครือข่ายห้องสมุดสีเขียว

 

วันที่ 3 พฤษภาคม 2566 กองหอสมุดฯ ร่วมกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาชิกเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและโรงเรียนวัดเทวสุนทร กรุงเทพฯ ประชุมหารือเพื่อเตรียมความพร้อมการจัดโครงการ “PEA หมู่บ้านช่อสะอาด” โดยมุ่งหวังให้ นักเรียนและบุคลากร รร.วัดเทวสุนทร มีความรู้ความเข้าใจเรื่องของการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยมีกิจกรรมปรับปรุงห้องสมุดโรงเรียนให้เป็นห้องสมุดสีเขียว "Green Library” โดยจัดห้องสมุดให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการศึกษาค้นคว้า ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม การคัดแยกขยะ การใช้พลังงานอย่างประหยัด ปลอดภัย ควบคู่กับการปลูกฝังความซื่อสัตย์สุจริต สร้างการมีส่วนร่วมและสามารถพึ่งพาตนเองได้ต่อไป

ข่าว สร้างแหล่งเรียนรู้อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

     

วันที่ 15 สิงหาคม 2566 กองหอสมุดฯ ร่วมกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาชิกเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว เข้าร่วมโครงการ “PEA หมู่บ้านช่อสะอาด” ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดเทวสุนทร เขตจตุจักร จังหวัดกรุงเทพฯ

ข่าวกิจกรรม รร.วัดเทวสุนทร กรุงเทพฯ

      

(2) ชมรมห้องสมุดสีเขียว

 √

 

วันที่ 8-9 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้แทนคณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ร่วมงานวิชาการด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียวครั้งที่ 10 ประจำปี 2567 ในหัวข้อ “พลังงานสีเขียว เพื่อความยั่งยืน” (Green Energy for Sustainability)

เผยแพร่ข่าวกิจกรรมผ่านเว็บไซต์ 

https://lib1.dss.go.th/greenlib/index.php/th/news-activities/news/205-meeting-green-energery-th10

(3) หน่วยงานภายในองค์กร

 

วันที่ 16 ธันวาคม 2565 ตัวแทนคณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว เข้าร่วมโครงการ “กิจกรรมวันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2565 ” จัดโดย วศ. 

เผยแพร่ข่าวกิจกรรมผ่านเว็บไซต์

https://www.dss.go.th/index.php/dssnews/2331-326-2565

   

   

(4) หน่วยงานภายนอกองค์กร

 

วันที่ 27 เมษายน 2566 กองหอสมุดฯ ร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โรงเรียนบ้านม่วงใหม่ และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมหารือเพื่อเตรียมความพร้อมการจัดโครงการ “PEA หมู่บ้านช่อสะอาด” โดยมุ่งหวังให้ชุมชน หน่วยงานในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องของการ อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยมีกิจกรรมปรับปรุงห้องสมุดโรงเรียนให้เป็นห้องสมุดสีเขียว "Green Library” โดยจัดห้องสมุดให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการศึกษาค้นคว้า ส่งเสริมให้เยาวชนมีนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม การคัดแยกขยะ การใช้พลังงานอย่างประหยัด ปลอดภัย ควบคู่กับการปลูกฝังความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมและสามารถพึ่งพาตนเองได้

ข่าว สร้างแหล่งเรียนรู้อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

        

วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 สท. ร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเข้าร่วมโครงการ “PEA หมู่บ้านช่อสะอาด” ณ โรงเรียนบ้านม่วงใหม่ จังหวัดน่าน

ข่าวกิจกรรม รร.บ้านม่วงใหม่ จ.น่าน

       

 

5.1.2 มีความร่วมมือในการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว ร่วมกับหน่วยงานด้านนโยบาย/การบริหาร หน่วยงานด้านกายภาพ ด้านวิจัย และด้านการศึกษา ดังนี้

(1) หน่วยงานด้านนโยบาย/บริหารหรือ หน่วยบริหารงานกลาง เพื่อประสานความร่วมมือด้านนโยบายแผนงาน งบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การจัดการขยะ เป็นต้น

 

มีการประชุมคณะทำงาน ศปว. ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2566 ณ ห้องประชุมอัครเมธี ชั้น 6 อาคารตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ และระบบออนไลน์ ผ่าน Application Zoom Cloud Meeting เป็นการหารือแนวทางการเชื่อมโยงระบบข้อมูลห้องสมุดและความร่วมมือในการร่วมใช้ทรัพยากรสารสนเทศของเครือข่ายสมาชิก ศปว. อย่างคุ้มค่าและประหยัดงบประมาณของประเทศ การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศที่หายากขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และผลักดันการทำระบบกลางเชื่อมโยงข้อมูลห้องสมุดในระบบ STI SEARCH (https://stisearch.net)  

(2) หน่วยงานด้าน กายภาพ เพื่อประสานความร่วมมือด้านอาคารสถานที่ ระบบงานไฟฟ้า ระบบงานอาคาร ระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น

 √

 

มีการประสานความร่วมมือด้านอาคารสถานที่ ระบบงานไฟฟ้า ระบบงานอาคาร ร่วมกับฝ่ายช่าง สำนักงานเลขานุการกรม และหน่วยงานที่ดำเนิน การติดตั้ง Solar cell ตามรายงานผลการดำเนินงาน คทง.พัฒนาห้องสมุดสีเขียว ปี 2565 หน้า 21 และ 22 ดังนี้

5.13 ประชุมหารือการติดตั้ง Solar cell โดยอาจารย์จากมหาวิทยาลัยนเรศวร เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2565 จัดโดย วศ.

5.14 ประชุมหารือการติดตั้ง Solar cell ร่วมกับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 จัดโดย วศ.

(3) หน่วยงานวิจัย เพื่อประสานความร่วมมือในการนำเทคโนโลยีหรือผลงานวิจัยมาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว

 √

 

มีการประชุมคณะทำงาน ศปว. ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2566 ณ ห้องประชุมอัครเมธี ชั้น 6 อาคารตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ และระบบออนไลน์ ผ่าน Application Zoom Cloud Meeting เป็นการหารือแนวทางการเชื่อมโยงระบบข้อมูลห้องสมุดและความร่วมมือในการร่วมใช้ทรัพยากรสารสนเทศของเครือข่ายสมาชิก ศปว. อย่างคุ้มค่าและประหยัดงบประมาณของประเทศ การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศที่หายากขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และผลักดันการทำระบบกลางเชื่อมโยงข้อมูลห้องสมุดในระบบ STI SEARCH (https://stisearch.net)  

(4) หน่วยงานด้านการศึกษา หรือหน่วยการเรียนการสอน เพื่อประสานความร่วมมือในการส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

 

กองหอสมุดฯ มีความร่วมมือในการส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) และสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ ด้านการจัดการขยะอย่างถูกวิธี เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ให้กับเยาวชนได้มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะให้ถูกประเภท พร้อมทั้งกิจกรรมเผยแพร่องค์ความรู้ การทำน้ำหมักชีวภาพจากการคัดแยกขยะมูลฝอย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ขจัดคราบไขมัน หรือบำบัดน้ำเสีย รวมทั้งการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เช่น บำรุงต้นไม้ ป้องกันแมลง ฯลฯ

- สท.วศ. ร่วมกับ กฟภ. และสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เสริมห้องสมุด รร. วัดเทวสุนทร กทม. สร้างแหล่งเรียนรู้อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

  วันที่ 3 พฤษภาคม 2566 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) โดย นางเพ็ญพิชชา เข็มเงิน รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเจ้าหน้าที่กองหอสมุดฯ ร่วมประชุมหารือเพื่อเตรียมความพร้อมการจัดโครงการ “PEA หมู่บ้านช่อสะอาด” ร่วมกับ ดร.มนูญ ใจซื่อ ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับดูแลและบริหารความเสี่ยง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ./PEA) นางสาวสุพรรณี หงษ์ทอง ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนางสาวกัลยา เปานาเรียง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดเทวสุนทร ณ ห้องประชุม โรงเรียนวัดเทวสุนทร กรุงเทพมหานคร

    การดำเนินงานโครงการดังกล่าวมุ่งหวังให้ นักเรียนและบุคลากร รร.วัดเทวสุนทร มีความรู้ความเข้าใจเรื่องของการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยมีกิจกรรมปรับปรุงห้องสมุดโรงเรียนให้เป็นห้องสมุดสีเขียว "Green Library” โดยจัดห้องสมุดให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการศึกษาค้นคว้า ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม การคัดแยกขยะ การใช้พลังงานอย่างประหยัด ปลอดภัย ควบคู่กับการปลูกฝังความซื่อสัตย์สุจริต สร้างการมีส่วนร่วมและสามารถพึ่งพาตนเองได้ต่อไป

5.2 กิจกรรมความร่วมมือ

5.2.1 กิจกรรมความร่วมมือด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มีดังนี้

(1) เข้าร่วมกิจกรรมที่หน่วยงานความร่วมมือจัด

 

กองหอสมุดฯ ร่วมมือกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) และสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เสริมห้องสมุดแหล่งการเรียนรู้อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยร่วมดำเนินการคัดแยกหมวดหมู่หนังสือ ติดแถบสีตามหมวดหมู่ ลงข้อมูลในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เพื่อให้การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ การให้บริการยืม-คืน สารสนเทศมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเพิ่มมุมการเรียนรู้ด้านอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ยกระดับให้เป็นห้องสมุดสีเขียว "Green Library” โดยจัดห้องสมุดให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการศึกษาค้นคว้า ส่งเสริมให้เยาวชนมีนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมการเรียนรู้และจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ ด้านการจัดการขยะอย่างถูกวิธี เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ให้กับเยาวชนได้มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะให้ถูกประเภท พร้อมทั้งกิจกรรมเผยแพร่องค์ความรู้ การทำน้ำหมักชีวภาพจากการคัดแยกขยะมูลฝอย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ขจัดคราบไขมัน หรือบำบัดน้ำเสีย รวมทั้งการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เช่น บำรุงต้นไม้ ป้องกันแมลง ฯลฯ

(2) จัดกิจกรรมและเชิญหน่วยงานความร่วมมือเข้าร่วม

 √

 

มีการประชุมคณะทำงาน ศปว. ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2566 ณ ห้องประชุมอัครเมธี ชั้น 6 อาคารตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ และระบบออนไลน์ ผ่าน Application Zoom Cloud Meeting เป็นการหารือแนวทางการเชื่อมโยงระบบข้อมูลห้องสมุดและความร่วมมือในการร่วมใช้ทรัพยากรสารสนเทศของเครือข่ายสมาชิก ศปว. อย่างคุ้มค่าและประหยัดงบประมาณของประเทศ การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศที่หายากขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และผลักดันการทำระบบกลางเชื่อมโยงข้อมูลห้องสมุดในระบบ STI SEARCH (https://stisearch.net)  

(3) เป็นวิทยากรหรือเป็นพี่เลี้ยงให้กับหน่วยงานอื่น

 

กองหอสมุดฯ ร่วมเป็นวิทยากรในการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ ด้านการจัดการขยะอย่างถูกวิธี เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ให้กับเยาวชนได้มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะให้ถูกประเภท พร้อมทั้งกิจกรรมเผยแพร่องค์ความรู้ การทำน้ำหมักชีวภาพจากการคัดแยกขยะมูลฝอย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ขจัดคราบไขมัน หรือบำบัดน้ำเสีย รวมทั้งการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เช่น บำรุงต้นไม้ ป้องกันแมลง ฯลฯ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่

  1. โรงเรียนบ้านม่วงใหม่ ตำบลนาปัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2566
  2. โรงเรียนวัดเทวสุนทร เขตจตุจักร จังหวัดกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2566

(4) เป็นสถานที่ศึกษาดูงานด้านห้องสมุดสีเขียว

 √

 

วันที่ 14 มิถุนายน 2566 มีนักเรียน จำนวน 156 คน และครู จำนวน 13 คน จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จังหวัดบุรีรัมย์ เข้าศึกษาดูงานด้านห้องสมุดสีเขียว ณ กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาคารหอสมุดฯ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

เผยแพร่ข่าวผ่านเว็บไซต์

https://www.dss.go.th/index.php/dssnews/2564-168-2566

5.2.2 จำนวนหน่วยงานต่อปี ที่ได้รับการขยายผลการจัดกิจกรรมห้องสมุดสีเขียว เช่น โรงเรียน ชุมชน หรือหน่วยงานต่างๆ

 

 √

 

โครงการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)

-  ปีงบประมาณ 2566

กองหอสมุดฯ ได้ร่วมจัดกิจกรรมห้องสมุดสีเขียว จำนวน 2 แห่ง ได้แก่

  1. โรงเรียนบ้านม่วงใหม่ ตำบลนาปัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2566
  2. โรงเรียนวัดเทวสุนทร เขตจตุจักร จังหวัดกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2566

- ปีงบประมาณ 2567

  • พัฒนาห้องสมุดโรงเรียนในจังหวัดลำพูน : ประชุม 28 กุมภาพันธ์ 2567 ส่งมอบ พฤษภาคม 2567
  • พัฒนาห้องสมุดโรงเรียนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ : ประชุม มีนาคม 2567 ส่งมอบ สิงหาคม 2567

เกณฑ์การประเมิน

การประเมินตนเอง

มี

ไม่มี

หลักฐาน

4.1 การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้รับบริการ บุคลากร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

4.1.1 จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและส่งเสริมการเรียนรู้ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ให้กับกลุ่มเป้าหมาย ในเรื่องต่อไปนี้

(1) การประหยัดพลังงานไฟฟ้า และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้า

 

ในปีงบประมาณ 2566 กองหอสมุดฯ ได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของห้องสมุดสีเขียว จำนวน 4 กิจกรรม ดังนี้

- วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 การจัดการความรู้ สท. เรื่อง “5ส และมาตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม” 

    

   

- วันที่ 14 มิถุนายน 2566 การเยี่ยมชมและศึกษาดูงานของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ มีนักเรียนจำนวน 156 คน และครู จำนวน 13 คน

      

 

- วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 สท. ร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเข้าร่วมโครงการ “PEA หมู่บ้านช่อสะอาด” ณ โรงเรียนบ้านม่วงใหม่ จังหวัดน่าน

    

 

- วันที่ 15 สิงหาคม 2566 สท. ร่วมกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาชิกเครือข่ายห้องสมุดสีเขียวเข้าร่วมโครงการ “PEA หมู่บ้านช่อสะอาด” ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดเทวสุนทร เขตจตุจักร จังหวัดกรุงเทพฯ

    

นอกจากนี้ กองหอสมุดฯ ได้มีการจัดทำมาตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม สท. ขึ้น ประกอบด้วย มาตรการจัดประชุมและจัดเลี้ยงสีเขียว มาตรการอนุรักษ์พลังงานด้านไฟฟ้า มาตรการการประหยัดน้ำ มาตรการการประหยัดกระดาษ และมาตรการในการบริหารจัดการขยะภายในอาคาร สท. ลงนามโดย ผสท. และประกาศใช้เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 โดยส่งเสริมมาตรการ และประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ ไลน์กลุ่ม สท. (SLTD) เว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียว

มาตรการอนุรักษ์พลังงานด้านไฟฟ้า มีรายละเอียดดังนี้

   เครื่องปรับอากาศ

  • ตั้งอุณหภูมิที่ 25 องศาเซลเซียส หากสภาพอากาศภายนอกร้อนมาก อาจเปิดพัดลมช่วย
  • ห้องสำนักงานทั่วไป ปิดเครื่องปรับอากาศเมื่อไม่ใช้งาน หรือไม่มีคนอยู่ในห้องนั้นเกิน 1 ชั่วโมง
  • พื้นที่อ่านหนังสือหรือบริการให้ปิดก่อนเวลา 30 น. อย่างน้อย 20 นาที
  • พื้นที่จัดกิจกรรม เปิด-ปิดตามเวลาจัดกิจกรรม
  • ดำเนินการล้างเครื่องปรับอากาศอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • พื้นที่ที่เก็บหนังสือหรือเอกสารที่ต้องรักษาอุณหภูมิ ควรพิจารณาเปิด-ปิดเครื่องปรับอากาศอย่างเหมาะสม

เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ 

  • ใช้โหมดประหยัดพลังงาน หรือพักหน้าจอเมื่อไม่ใช้งานเกิน 15 นาที

เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ เช่น กาต้มน้ำร้อน พัดลม

  • ให้ปิดและถอดปลั๊กเมื่อเลิกใช้งานทันที

ไฟฟ้าแสงสว่าง

  • ห้องสำนักงานทั่วไป ให้เปิดเท่าที่จำเป็น และปิดเมื่อไม่ใช้งาน
  • พื้นที่อ่านหนังสือหรือบริการหรือจัดกิจกรรม ให้เปิดเฉพาะโซนที่ใช้งาน และปิดเมื่อเลิกใช้หรือตามเวลาให้บริการ
  • ทางเดินให้เปิดเท่าที่จำเป็น และปิดตามเวลาให้บริการ
  • ห้องน้ำ ให้เปิดเมื่อใช้งานและปิดเมื่อเลิกใช้ โดยหากสภาพอากาศภายนอกมืดครึ้มอาจเปิดไว้ได้ และปิดเมื่อเลิกงานทันที

การใช้ลิฟต์

  • ขึ้น ลงชั้นเดียว ควรใช้บันได

(2) การประหยัดน้ำและการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

 

มาตรการการประหยัดน้ำ มีรายละเอียดดังนี้

  • ปิดก๊อกน้ำให้สนิททุกครั้งเมื่อเลิกใช้น้ำทันที
  • ห้ามทิ้งเศษอาหาร กระดาษชำระ ผ้าอนามัย หรือสิ่งอื่นใดลงในอ่างล้างหน้า และโถชักโครก
  • ตรวจสอบรอยรั่ว แนววางท่อน้ำประปา อุปกรณ์ท่อหรือสาย วาล์วน้ำ มิเตอร์น้ำ ก๊อกน้ำเป็นประจำ

(3) การคัดแยกและใช้ประโยชน์จากขยะหรือวัสดุเหลือใช้ การจัดการของเสียและมลพิษ

 

มาตรการในการบริหารจัดการขยะภายในอาคาร สท. มีรายละเอียดดังนี้

  1. คัดแยกขยะแต่ละประเภท
  • ขยะอินทรีย์ หมายถึง สิ่งที่ย่อยสลายได้ง่าย เช่น เศษอาหาร ผัก ผลไม้
  • ขยะรีไซเคิล หมายถึง สิ่งที่ยังมีประโยชน์สามารถนำไปแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ เช่น กระดาษ พลาสติกขวดพลาสติก แก้ว โลหะ
  • ขยะอันตราย หมายถึง สิ่งที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนสารอันตราย วัตถุมีพิษ วัตถุกัดกร่อน วัตถุติดเชื้อและวัตถุไวไฟ เช่น ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ ตลับหมึกพิมพ์
  • ขยะทั่วไป หมายถึง สิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากข้างต้น อาจนำมาใช้ใหม่ได้ แต่ย่อยสลายยาก ไม่คุ้มค่าในการแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ เช่น เศษผ้า เศษหนัง เศษกระดาษ พลาสติกห่อขนม ฯลฯ
  1. ตั้งจุดคัดแยกขยะแต่ละประเภทในพื้นที่ส่วนกลางของแต่ละชั้น
  2. การบริหารจัดการและการกำจัดขยะแต่ละประเภท

          3.1 ขยะอินทรีย์ ขอความร่วมมือให้ทุกชั้นลดการทิ้ง หรือกินอาหารให้หมด โดยไม่เกิดเศษอาหารในพื้นที่

          3.2 ขยะรีไซเคิล ให้ทุกชั้นรวบรวมขยะพลาสติกและกระดาษที่ใช้แล้วทั้ง 2 หน้า นำมาเก็บที่จุดรวบรวมส่วนกลางและบันทึกปริมาณขยะก่อนนำส่งกำจัด

  • คัดแยกขวดพลาสติกชนิดขุ่น เช่น ขวดนม ขวดยาคูลท์ ขวดน้ำผลไม้
  • คัดแยกขยะพลาสติกชนิดใส (PET) เช่น ขวดน้ำดื่ม ขวดน้ำอัดลม ให้แยกฝา ทำการลอกฉลากบรรจุภัณฑ์ และบีบขวดให้มีขนาดเล็กลงเป็นการลดพื้นที่จัดเก็บและจัดส่งจุดรวบรวมก่อนนำส่งกำจัดหรือนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
  • คัดแยกขยะกระป๋องอะลูมิเนียม เช่น กระป๋องเครื่องดื่ม น้ำอัดลม ชา กาแฟและบีบให้มีขนาดเล็กลงเป็นการลดพื้นที่จัดเก็บและจัดส่งจุดรวบรวมก่อนนำส่งกำจัดหรือเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
  • คัดแยกขยะพลาสติกชนิดไม่ย่อยสลาย เช่น ฉลากน้ำดื่ม ฉลากบรรจุภัณฑ์ที่เป็นพลาสติก ซองกาแฟ จัดส่งจุดรวบรวมก่อนนำส่งกำจัดหรือเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

          3.3 ขยะอันตราย ให้ทุกชั้นรวบรวมนำมาเก็บที่จุดรวบรวมส่วนกลางและบันทึกปริมาณขยะก่อนนำส่งกำจัด

          3.4 ขยะทั่วไป ให้ทุกชั้นรวบรวมและนำไปทิ้งที่จุดคัดแยกขยะ วศ. ทุกวันและบันทึกปริมาณขยะก่อนนำส่งกำจัด

     นอกจากนี้ ยังได้มีจัดกิจกรรมการรับบริจาคสิ่งของ ทั้งหมด 5 กิจกรรม ได้แก่

          1) ปฏิทินตั้งโต๊ะที่ใช้แล้ว "ให้กาลเวลามีค่ามากกว่า 1 ปี"

          2) ตลับหมึกที่ใช้แล้ว "สงกรานต์ สาดตลับหมึก"

          3) แก้วพลาสติก / แก้วกาแฟ “เก็บแก้ว เข้าพรรษา”

          4) ขวดพลาสติก PET  "รัก คือ การให้"

          5) วัสดุอะลูมิเนียม ได้แก่ ห่วงจากฝาหรือกระป๋องเครื่องดื่ม ฝาเครื่องดื่มแบบเกลียว กระป๋องน้ำอัดลม หรือเศษจากข้อต่อ/บานพับ/ รั้ว เป็นต้น "ห่วง ฝา (อะลูมิเนียม) ทำขาเทียม"

      รวมทั้ง การทำน้ำหมักชีวภาพจากเปลือกสับปะรดที่เหลือทิ้งจากร้านค้า แจกจ่ายฟรี ณ จุดแจกจ่าย บริเวณหน้าทางเข้าห้องสมุด ชั้น 1 สท. ให้แก่บุคลากรทั้งภายในและภายนอก วศ.

(4) ก๊าซเรือนกระจก

 

 

4.1.2 การมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย ในกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

(1) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีจำนวนมากกว่าร้อยละ 80 ของเป้าหมายที่กำหนด

 

กองหอสมุดฯ ได้มีการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ โดยให้ความรู้เรื่องการจัดการของเสีย การคัดแยกขยะ รวมทั้งมาตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมให้กับเจ้าหน้าที่ สท. และแม่บ้าน เรื่อง “5ส และมาตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม”  เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 ณ ลานกิจกรรมชั้น 1 สท. มีจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 46 คน คิดเป็นร้อยละ 92 (จากบุคลากร สท. จำนวน 47 คน และแม่บ้าน จำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น 50 คน)

(2) กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรม

 

 

(3) กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการสรุปผลกิจกรรมและการนำไปใช้ประโยชน์

 

 

(4) มีการจัดทำใบประกาศหรือใบรับรองให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามเงื่อนไขที่ห้องสมุดกำหนด

 

 

4.1.3 ความถี่และความสม่ำเสมอในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของห้องสมุดสีเขียว

 

 

ในปีงบประมาณ 2566 กองหอสมุดฯ ได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของห้องสมุดสีเขียว จำนวน 4 กิจกรรม ดังนี้

- วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 การจัดการความรู้ สท. เรื่อง “5ส และมาตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม” 

- วันที่ 4 มิถุนายน 2566 การเยี่ยมชมและศึกษาดูงานของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ มีนักเรียนจำนวน 156 คน และครู จำนวน 13 คน

- วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 สท. ร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เข้าร่วมโครงการ “PEA หมู่บ้านช่อสะอาด” ณ โรงเรียนบ้านม่วงใหม่ จังหวัดน่าน

- วันที่ 15 สิงหาคม 2566 สท. ร่วมกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาชิกเครือข่ายห้องสมุดสีเขียวเข้าร่วมโครงการ “PEA หมู่บ้านช่อสะอาด” ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดเทวสุนทร เขตจตุจักร จังหวัดกรุงเทพฯ

4.1.4 จัด Green Corner หรือพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของห้องสมุดสีเขียวโดยแสดงข้อมูลต่อไปนี้และมีการปรับปรุงข้อมูลเป็นประจำทุกเดือนเป็นอย่างน้อย

(1) นโยบายห้องสมุดสีเขียว และสำนักงานสีเขียว (ปรับปรุงข้อมูลเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง)

 

กองหอสมุดฯ มีการปรับปรุงข้อมูลนโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว ในหน้าเว็บไซต์ห้องสมุดสีเขียว เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง โดยในปีงบประมาณ 2566 มีการกำหนดนโยบายสีเขียว ดังนี้ "

“สท.วศ. เป็นห้องสมุดที่ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” 

ประกาศใช้เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2565 ลงนามโดยนางสาวปัทมา นพรัตน์ ผู้อำนวยการกองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี               

      นโยบายห้องสมุดสีเขียว

               

(2) ข่าวสาร กิจกรรม มาตรการ ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของห้องสมุด

 

กองหอสมุดฯ มีการเผยแพร่ข่าวสาร กิจกรรม มาตรการด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของห้องสมุด ดังนี้

(3) ผลการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียวและแสดงข้อมูลประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้า ผลการประหยัดน้ำการประหยัดทรัพยากร และปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

 

กองหอสมุดฯ ได้ดำเนินงานห้องสมุดสีเขียวละมีการแสดงข้อมูลประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้า ผลการประหยัดน้ำ การประหยัดทรัพยากร และปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนี้

(4) สื่อความรู้ และเอกสารเผยแพร่ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

 

กองหอสมุดฯ ได้จัดทำสื่อความรู้ และเอกสารเผยแพร่ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

4.2 ประเมินผลการเรียนรู้

4.2.1 ร้อยละของจำนวนกิจกรรมที่มีการประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการวัดความรู้

 

 

 

4.2.2 ร้อยละของจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ผ่านการประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการวัดความรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรม (เกณฑ์การวัดความรู้พิจารณาจากคะแนนผ่านที่ร้อยละ 60)

 

 

 

4.2.3 ร้อยละของจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีผลประเมินด้านพฤติกรรมในเชิงบวกหลังเข้าร่วมกิจกรรม โดยจัดกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมาย อย่างน้อย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มบุคลากร และกลุ่มผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

    

กองหอสมุดฯ ได้มีการสำรวจพฤติกรรมการลด/การแยก/การนำขยะกลับมาใช้ใหม่ และการอนุรักษ์พลังงานของบุคลากร สท. เป็นประจำทุกปี

4.2.4 การปรับปรุงกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

(1) สรุปผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งหมดในรอบปี

 

กองหอสมุดฯ มีการสรุปผลการดำเนินการคณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว เป็นประจำทุกปี 

รายงานผลการดำเนินงาน คณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว สท. ประจำปีงบประมาณ 2566

รายงานผลการดำเนินงาน คณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว สท. ประจำปีงบประมาณ 2565

รายงานผลการดำเนินงาน คณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว สท. ประจำปีงบประมาณ 2564

(2) มีการวิเคราะห์ปัญหา และผลประเมินการเรียนรู้เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนากิจกรรม

 

 

มีการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนากิจกรรม

(3) จัดทำแผนปรับปรุงและพัฒนากิจกรรม

 

 

จัดปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ

(4) จัดทำรายงานผลการจัดกิจกรรมเสนอผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง

 

กองหอสมุดฯ มีการจัดทำรายงานผลการดำเนินการคณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียวเสนอผู้บริหารโดยจัดทำหนังสือเสนอ และผู้เกี่ยวข้องโดยแจ้งเวียนในไลน์กลุ่ม 

เกณฑ์การประเมิน

การประเมินตนเอง

มี

ไม่มี

หลักฐาน

หมวดที่ 1 การกำหนดนโยบาย การวางแผนการดำเนินงานและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

1.1 การกำหนดนโยบายห้องสมุดสีเขียว

1.1.1 มีบริบทองค์กรและขอบเขตของการบริหารจัดการห้องสมุดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

(1) มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ของห้องสมุดทั้งหมด ทั้งส่วนของสำนักงาน และพื้นที่บริการ

    √

 

     กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สท.)  มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ ประกอบด้วย อาคารหอสมุดฯ (ฝั่งหอสมุดฯ) มีทั้งหมด 6 ชั้น ประกอบด้วยพื้นที่บริการ จำนวน 3 ชั้น ได้แก่ ชั้น 1, 2, 5 และ 6  ในส่วนของสำนักงานจำนวน 2 ชั้น ได้แก่ ชั้น 3 และ 4 มีพื้นที่ใช้สอยของอาคารและพื้นที่โดยรอบ ทั้งสิ้น 4,612 ตารางเมตร  รายละเอียดขอบเขตพื้นที่ห้องสมุด ณ อาคารหอสมุดฯ ครอบคลุมพื้นที่ 6 ชั้น ดังนี้

  1. ชั้น 1 เป็นพื้นที่เคาน์เตอร์ให้บริการ พื้นที่รับรอง พื้นที่จัดกิจกรรม ชั้นวางวารสาร และห้องอนุสรณ์ ดร.ตั้ว ลพานุกรม

       

       

 

  1. ชั้น 2 เป็นพื้นที่ชั้นวางหนังสือภาษาต่างประเทศ

      

      

      

  1. ชั้น 3 เป็นพื้นที่สำนักงาน ห้องประชุมฯ และพื้นที่รับประทานอาหาร

         

 

  1. ชั้น 4 เป็นพื้นที่สำนักงาน ห้องประชุมฯ และพื้นที่เก็บของที่ระลึก

        

 

 

  1. ชั้น 5 เป็นพื้นที่ชั้นวางหนังสือ วารสาร เอกสารต่างๆ ภาษาไทย

       

 

  1. ชั้น 6 เป็นพื้นที่ชั้นวางเอกสารมาตรฐาน สิทธิบัตร เอกสารการค้าต่างประเทศ และสำนักงานจำนวน 2 ห้อง

     

 

โดยพื้นที่หน้าอาคารหอสมุดฯ มีลานจอดรถ มีพื้นที่สีเขียว ภายในอาคารทุกชั้นมีบันได ห้องน้ำสำหรับเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการ และหน้าห้องน้ำทุกชั้นมีพื้นที่รองรับของเสีย โดยจัดตั้งถังขยะแยกตามประเภทของขยะ ส่วนบริเวณพื้นที่รับประทานอาหาร มีการติดตั้งเครื่องถังดักไขมัน

แผนผังอาคารทั้งหมด

      

            เคาน์เตอร์ให้บริการ

 

 

 

พื้นที่จอดรถหน้าอาคารหอสมุดฯ

 

 

 ถังขยะหน้าห้องน้ำ

 

 

ถังดักไขมันบริเวณห้องจัดเลี้ยงชั้น 3

 

 

พื้นที่สีเขียวหน้าทางเข้าอาคารและบริเวณโดยรอบ

 

 

คำอธิบาย

เอกสารที่แสดงแผนผังของห้องสมุด ให้รวมพื้นที่สำนักงานและพื้นที่บริการโดยเน้นพื้นที่ภาพรวมให้เห็นถึงขอบเขตทางกายภาพที่จะขอการรับรองแผนผังประกอบด้วย พื้นที่บริการ พื้นที่สำนักงานของห้องสมุด และพื้นที่ใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้แก่พื้นที่รับประทานอาหาร พื้นที่ประกอบอาหาร ห้องน้ำ ลานจอดรถ พื้นที่รองรับของเสีย ระบบบำบัดของเสีย

(2) มีการกำหนดขอบเขตกิจกรรมของห้องสมุด

    √

 

ห้องสมุดมีพื้นที่ในการจัดกิจกรรมของห้องสมุดในพื้นที่ ณ บริเวณชั้น 1 ซึ่งเป็นพื้นที่หลักในการให้บริการประชาชนทั่วไปและจัดกิจกรรมของกรมวิทยาศาสตร์บริการ เช่น กิจกรรมเปิดบ้าน (Open house) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กิจกรรมการจัดการความรู้ ฯลฯ ตลอดจนรองรับนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ ที่ต้องการเข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงานกิจกรรมของกองหอสมุดฯ

         

            พื้นที่จัดกิจกรรมชั้น 1 หน้าห้องอนุสรณ์ ดร.ตั้วฯ

             

         

        

                 การจัดกิจกรรมบริเวณพื้นที่จัดกิจกรรมชั้น 1

    

    

 

 

1.1.2 มีนโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียวที่สอดคล้องและครอบคลุมประเด็นตามเกณฑ์ห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียวโดยแสดงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง ในด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

ด้านห้องสมุด

(1) มีนโยบายการบริหารจัดการห้องสมุดสีเขียวและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

    √

 

   กองหอสมุดฯ มีการกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องและครอบคลุมประเด็นตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียวโดยแสดงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

  - ปีงบประมาณ 2561-2562  “สท. เป็นห้องสมุดสีเขียวที่มุ่งมั่นสร้างความเป็นเลิศในการให้บริการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้ใช้บริการ”

นโบายการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ปีงบประมาณ 2561-2562

  - ปีงบประมาณ 2563  “สท. เป็นห้องสมุดสีเขียวที่มุ่งมั่นในการสร้างความเป็นเลิศด้านโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพ ที่มีคุณภาพ เป็นกลาง ยุติธรรม และสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้ใช้บริการ”

นโบายห้องสมุดสีเขียว ปีงบประมาณ 2563  

  - ปีงบประมาณ 2564–2565 “สท. เป็นห้องสมุดสีเขียวที่มุ่งมั่นในการสร้างความเป็นเลิศด้านโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพที่มีคุณภาพ เป็นกลาง ยุติธรรม และสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้ใช้บริการ”

นโบายห้องสมุดสีเขียว ปีงบประมาณ 2564-2565

      นอกจากนี้ กองหอสมุดฯ ได้มีการปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โดยการประชุมคณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2566 (วาระที่ 4.2 หน้า 4) ซี่งได้นำนโยบายของปี 2565 มาปรับปรุงเพื่อให้มีการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2566 และมีมติที่ประชุมคณะทำงานฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

  - ปีงบประมาณ 2566 “สท.วศ. เป็นห้องสมุดที่ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม” โดยมีการประชาสัมพันธ์ตามช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์ เพจ เฟซบุ๊ค ฯลฯ

นโบายห้องสมุดสีเขียว ปีงบประมาณ 2566

  - ปีงบประมาณ 2567 ได้มีการทบทวนนโยบายห้องสมุดสีเขียวโดยเพิ่มประเด็นสำนักงานสีเขียว ตามเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) และได้ประกาศนโยบาย เป้าหมายและตัวชี้วัด ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 ดังนี้

  1. นโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว ประกาศ ณ วันที่ 9 ก.พ. 67 คลิก
  2. นโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ประกาศ ณ วันที่ 9 ก.พ. 67 คลิก
  3. เป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ 2567 ประกาศ ณ วันที่ 9 ก.พ. 67 คลิก

(2) มีนโยบายการจัดการและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้องให้เพียงพอ และพร้อมใช้

    √

 

มีการกำหนดในนโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักสีเขียว ข้อ 2 เรื่อง จัดการและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้องให้เพียงพอ และพร้อมใช้

นโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561-2567 หัวข้อ นโยบาย มาตรการ ประกาศ สท.

(3) มีนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง

    √

 

มีการกำหนดในนโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักสีเขียว ข้อ 3 เรื่อง ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง

นโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561-2567 หัวข้อ นโยบาย มาตรการ ประกาศ สท.

(4) มีนโยบายการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

    √

 

มีการกำหนดในนโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักสีเขียว ข้อ 4 เรื่อง สร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

นโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561-2567 หัวข้อ นโยบาย มาตรการ ประกาศ สท.

ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (รายละเอียดเป็นไปตามเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว)

(5) การปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

    √

 

  • ปี 2566 มีนโยบาย “สท.วศ. เป็นห้องสมุดที่ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”
  • ปี 2567
  • มีการกำหนดในนโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักสีเขียว ข้อ 5 เรื่อง ปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง (นโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว ประจำปีงบประมาณ 2567)
  • มีมาตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (รายงานฯ ห้องสมุดสีเขียว ปีงบประมาณ 2566 ภาคผนวกที่ 2 และประกาศ สท. ปีงบประมาณ 2567)

มีการจัดการของเสียและมลพิษ ภายใต้การดำเนินงานของ คทง.พัฒนาห้องสมุดสีเขียว สท.ครั้งที่ 1/2565 วันที่ 27 ตุลาคม 2565

นโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2567 หัวข้อ นโยบาย มาตรการ ประกาศ สท.

รายงานผลการดำเนินงาน คณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว สท. ประจำปีงบประมาณ 2566  (ภาคผนวกที่ 2, 3, 4, 5, 6)

(6) การควบคุม ป้องกัน ลดผลกระทบด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และมลพิษ/ของเสีย รวมไปถึงการจัดซื้อจัดจ้าง และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

   √

 

1) มีการกำหนดในนโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักสีเขียว ข้อ 6 เรื่อง ควบคุม ป้องกัน ลดผลกระทบด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และมลพิษ/ของเสีย รวมไปถึงการจัดซื้อจัดจ้าง และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ประกาศ สท. เรื่อง นโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

ประกาศ สท. เรื่อง ห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว

2) มีมาตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

มาตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม สท.

ประกาศ สท. ปีงบประมาณ 2567 หัวข้อ นโยบาย มาตรการ ประกาศ สท.

3) มีการจัดการของเสียและมลพิษ ภายใต้การดำเนินงานของ คทง.พัฒนาห้องสมุดสีเขียว สท.ครั้งที่ 1/2565 วันที่ 27 ตุลาคม 2565

รายงานผลการดำเนินงาน คณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว สท. ประจำปีงบประมาณ 2566 (ภาคผนวกที่ 2, 3, 4, 5,6)

4) การจัดซื้อจัดจ้างและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะดำเนินการเลือกซื้อเมื่อมีสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเลือกสินค้าหรือบริการที่มีฉลากเขียวและตะกร้าสีเขียวตามเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว หน้า 94-95 และสินค้าที่มีฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพพลังงาน กฟผ.เบอร์ 5 เป็นอันดับแรก ตัวอย่าง สินค้าที่จัดซื้อในปี 2566 เครื่องปรับอากาศแคเรียร์จำนวน 10 เครื่อง มีฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพพลังงาน กฟผ. เบอร์ 5

  

(7) การปฏิบัติตามกฎหมายและเกณฑ์การเป็นสำนักงานสีเขียวของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

    √

 

มีการกำหนดในนโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักสีเขียว ข้อ 7 เรื่อง ปฏิบัติตามกฎหมายและเกณฑ์การเป็นสำนักงานสีเขียว (Green Office) ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ประกาศ สท. ปีงบประมาณ 2567 หัวข้อ นโยบาย มาตรการ ประกาศ สท.

(8) การสร้างความรู้และความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้เกี่ยวข้อง

    √

 

1) มีการกำหนดในนโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักสีเขียว ข้อ 7 เรื่อง สร้างความรู้และความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้เกี่ยวข้อง

ประกาศ สท. ปีงบประมาณ 2567 หัวข้อ นโยบาย มาตรการ ประกาศ สท.

2) มีการสร้างความรู้และความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้เกี่ยวข้อง

รายงานผลการดำเนินงาน คณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว สท. ประจำปีงบประมาณ 2566

รายงานผลการดำเนินงาน คณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว สท. ประจำปีงบประมาณ 2565

รายงานผลการดำเนินงาน คณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว สท. ประจำปีงบประมาณ 2564

1.1.3 การกำหนดนโยบายห้องสมุดสีเขียว โดยผู้บริหารระดับสูง

(1) นโยบายห้องสมุดสีเขียวจะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารสูงสุด หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ

    √

 

มีการจัดทำนโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักสีเขียว และอนุมัติโดยผู้อำนวยการกองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

นโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561-2567 หัวข้อ นโยบาย มาตรการ ประกาศ สท.

(2) มีการระบุวันที่การประกาศใช้นโยบายห้องสมุดสีเขียวอย่างชัดเจน

   √

 

ในนโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักสีเขียว มีการการระบุวันที่การประกาศใช้อย่างชัดเจน

นโยบายห้องสมุดสีเขียว

  • ปี 2561 อนุมัติวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561
  • ปี 2562- 2563 อนุมัติวันที่ 12 ธันวาคม 2562
  • ปี 2564-2565 อนุมัติวันที่ 14 มิถุนายน 2564
  • ปี 2566 อนุมัติเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565

นโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักสีเขียว

  • ปี 2567 อนุมัติเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567

นโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561-2567 หัวข้อ นโยบาย มาตรการ ประกาศ สท.

(3) ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้องสามารถอธิบายถึงวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายของการเป็นห้องสมุดสีเขียว

    √

 

นโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักสีเขียว กำหนดโดยผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจ ดังนั้น ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจสามารถอธิบายถึงวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายของการเป็นห้องสมุดสีเขียวได้

(สัมภาษณ์ผู้บริหาร)

(4) ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้องมีส่วนในการติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบายห้องสมุดสีเขียว

    √

 

ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจมีส่วนในการติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบายห้องสมุดสีเขียว โดยผู้อำนวยการกองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นประธานคณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว และคณะดังกล่าว มีการจัดประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียวประจำปี และมีการจัดทำรายงานการประชุมฯ แจ้งเวียนคณะทำงานฯ รับทราบด้วยแล้ว

รายงานการประชุม

1.1.4 มีการกำหนดแผนการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียวประจำปี

(1) รายละเอียดของแผนจะต้องระบุการดำเนินงานครบทุกหมวด

    √

 

ฝ่ายเลขานุการฯ จัดทำแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว โดยระบุการดำเนินงานครบทุกหมวด

แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว

 - ประจำปีงบประมาณ 2564

 - ประจำปีงบประมาณ 2565 

 - ประจำปีงบประมาณ 2566

 - ประจำปีงบประมาณ 2567

(2) มีการกำหนดเวลาหรือความถี่ของการดำเนินงานแต่ละหมวด

    √

 

ฝ่ายเลขานุการฯ จัดทำแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว โดยมีการกำหนดเวลาหรือความถี่ของการดำเนินงานแต่ละหมวด 

แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว

 - ประจำปีงบประมาณ 2564

 - ประจำปีงบประมาณ 2565 

 - ประจำปีงบประมาณ 2566

 - ประจำปีงบประมาณ 2567

(3) มีการกำหนดแผนดำเนินงานเป็นลายลักษณ์อักษร และได้รับการอนุมัติจากผู้บริหาร

    √

 

แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว มีการกำหนดแผนดำเนินงานเป็นลายลักษณ์อักษร และได้รับการอนุมัติจากผู้บริหาร คือ ผู้อำนวยการกองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนี้

  • ปี 2564 อนุมัติวันที่ 14 มิถุนายน 2564 คลิก      
  • ปี 2565 อนุมัติวันที่ 29 กันยายน 2564 คลิก
  • ปี 2566  อนุมัติเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 คลิก
  • ปี 2567  อนุมัติเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2567 คลิก

1.1.5 มีการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจนด้านห้องสมุด (ตามเกณฑ์ห้องสมุดสีเขียว) และมีหลักฐาน

การลงนามอนุมัติและวันที่ประกาศใช้อย่างชัดเจนและเป็นปัจจุบัน ดังนี้

(1) การจัดการและการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

    √

 

กองหอสมุดฯ มีการจัดการและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม  สารสนเทศด้านสีเขียว

มีการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจนในแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว

ประจำปีงบประมาณ 2566

ข้อ 31 เรื่อง จัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปีงบประมาณ 2566

ประจำปีงบประมาณ 2567 หมวด 3 ข้อ 17-22

แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปีงบประมาณ 2567

(2) การส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และก๊าซเรือนกระจก

    √

 

มีการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจนในแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปีงบประมาณ 2566

ข้อ 30 เรื่อง จัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

ข้อ 14 เรื่อง จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการจัดการของเสีย การแยกขยะให้เจ้าหน้าที่ สท. และแม่บ้าน

แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปีงบประมาณ 2566

ปีงบประมาณ 2567 หมวด 4 ข้อ 23-30

แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปีงบประมาณ 2567

(3) การจัดกิจกรรมห้องสมุดสีเขียวร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือ

    √

 

มีการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจนในแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปีงบประมาณ 2567 หมวด 5 ข้อ 31-36

โดยดำเนินการครั้งที่ 1 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 บุคลากรจาก สท. จำนวน 4 คนเข้าร่วมการประชุมและลงพื้นที่สำรวจความพร้อม ร่วมกับ PEA  ณ รร.บ้านป่าซาง จ.ลำพูน โดยมีกำหนดการดำเนินการปรับปรุงห้องสมุดให้เป็นห้องสมุดสีเขียวและส่งมอบในเดือนพฤษภาคม 2567 ส่วนครั้ง 2 กำหนดเป็น รร.อนุบาลหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์       

การดำเนินงานในปี 2566

1) ปี 2566 การจัดกิจกรรมห้องสมุดสีเขียวร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือ คือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ./ PEA) และสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ โรงเรียนบ้านม่วงใหม่ จังหวัดน่าน และ โรงเรียนวัดเทวสุนทร กรุงเทพฯ

 

รายงานผลการดำเนินงานของคณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปีงบประมาณ 2566 (หน้า 21-29) 

2) ในปี 2566 มีแผนการดำเนินงาน คทง.พัฒนาห้องสมุดสีเขียว ข้อ 32 เรื่อง บริการสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง การแลกเปลี่ยนและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสารสนเทศระหว่างห้องสมุดของศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ศปว.) ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือการให้บริการสารสนเทศเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่บุคลากรทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน รวมทั้งผู้ใช้บริการทั่วไป โดยมีกองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นหน่วยงานกลาง ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างหน่วยงานสมาชิก ศปว. ปัจจุบัน ศปว. มีสมาชิกรวมจำนวน 40 หน่วยงาน จำแนกเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (20 แห่ง) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (13 แห่ง) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม (2 แห่ง) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงพาณิชย์  (1 แห่ง) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงาน (1 แห่ง) และสมาคมวิชาชีพเฉพาะ (2 แห่ง) และองค์กรของรัฐที่เป็นหน่วยงานอิสระ (1 แห่ง) ในปี 2566 มีการดำเนินการดังนี้

  1. ประชุมคณะทำงาน ศปว. ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2566 ณ ห้องประชุมอัครเมธี ชั้น 6 อาคารตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ และระบบออนไลน์ ผ่าน Application Zoom Cloud Meeting เป็นการหารือแนวทางการเชื่อมโยงระบบข้อมูลห้องสมุดและความร่วมมือในการร่วมใช้ทรัพยากรสารสนเทศของเครือข่ายสมาชิก ศปว. อย่างคุ้มค่าและประหยัดงบประมาณของประเทศ การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศที่หายากขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และผลักดันการทำระบบกลางเชื่อมโยงข้อมูลห้องสมุดในระบบ STI SEARCH (https://stisearch.net)
  2. การเข้าถึง/ใช้ประโยชน์ข้อมูลสารสนเทศ วทน. ร่วมกันของ ศปว.

การเผยแพร่สารสนเทศ วทน. ผ่านเว็บไซต์ ศปว.  (http://www.scitech.in.th) เพื่อประชาสัมพันธ์ผลงานและบริการของสมาชิกเครือข่าย ศปว. และการนำสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ที่แต่ละหน่วยงานเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ให้บริการสืบค้นผ่าน Science e-Book Application จำนวน 12 เรื่อง และมีความร่วมมือร่วมใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน  ในปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 ถึง กันยายน 2566) มีความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ ได้แก่ เอกสารมาตรฐาน ASTM, JIS, AOAC ฯลฯ รวมจำนวน 531 เรื่อง 9,354 หน้า คิดเป็นมูลค่าโดยประมาณ 1,412,453 บาท  โดย ศปว. ขอจาก สท.วศ. จำนวน 397 เรื่อง 5,255 หน้า คิดเป็นมูลค่า  915,670 บาท  และ สท.วศ. ขอจาก ศปว. จำนวน 134 เรื่อง 4,099 หน้า คิดเป็นมูลค่า 496,783 บาท

  1. กิจกรรมความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้าน วทน.

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2566 สมาชิกเครือข่าย ศปว. จาก 25 หน่วยงาน จำนวน 82 คนได้เข้าร่วมสัมมนาวิชาการ เรื่อง ทิศทางการดำเนินงานและการผลักดันสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่คลังข้อมูลของชาติ และศึกษาดูงานศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ณ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เทคโนธานี จังหวัดปทุมธานี การสัมมนาในครั้งนี้ ทำให้สมาชิกเครือข่าย ศปว. ได้เห็นภาพรวมการพัฒนาคลังข้อมูลของชาติทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยแต่ละหน่วยงานต้องมีการจัดทำข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน เพื่อให้การเชื่อมโยงข้อมูลมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเกิดการบูรณาการความร่วมมือและร่วมผลักดันสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปสู่การเป็นคลังข้อมูลของชาติต่อไป นอกจากนี้ ยังได้เข้าร่วมศึกษาดูงานห้องสมุดสีเขียว จำนวน 3 สถานี ได้แก่ Green Office ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สารไดออกซิน และฐานการเรียนรู้การปลูกป่านิเวศ

(4) ความพึงพอใจของผู้รับบริการห้องสมุดสีเขียว

    √

 

1. ในปี 2563-2566 มีการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการ สท.     รายงานกิจกรรม สท.ปี 2563-2566

2. มีการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจนในแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี 2567 ข้อ 33 เรื่อง สำรวจและวิเคราะห์ความคิดเห็นการรับรู้และความตระหนักการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปีงบประมาณ 2567

1.1.6 มีการกำหนดให้งานห้องสมุดสีเขียว ทั้งด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็นงาน

ประจำของหน่วยงาน ดังนี้

(1) มีการกำหนดแผนงานห้องสมุดสีเขียวทั้งด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้เป็นแผนงานประจำของห้องสมุด โดยดำเนินการต่อเนื่องทุกปี

   √

 

      - มีการกำหนดในอำนาจหน้าที่ของคำสั่งกองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ 5/2565

      - คำสั่งกองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ที่ 1/2567 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว

กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

     - มีแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปี 2564-2567 

แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว

 - ประจำปีงบประมาณ 2564

 - ประจำปีงบประมาณ 2565 

 - ประจำปีงบประมาณ 2566

 - ประจำปีงบประมาณ 2567

(2) มีการสรุปปัญหาและแนวทางการปรับปรุง เป็นข้อมูลเพื่อกำหนดแผนงานห้องสมุดสีเขียวในปีต่อไป

    √  

มีการจัดประชุมเพื่อให้คณะทำงานฯ ร่วมกันพิจารณาปัญหาและแนวทางการปรับปรุงเพื่อกำหนดแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียวในแต่ละปี

รายงานการประชุมคณะทำงานฯ ปี 2565-2566 

(3) มีการบูรณาการงานด้านห้องสมุดและงานด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ภายใต้แผนงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว

    √  

- มีการบูรณาการร่วมบันทึกข้อมูลรายการหนังสือร่วมกับมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ เพื่อเตรียมส่งมอบโรงเรียนวัดเทวสุนทร กรุงเทพมหานคร

         วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) เจ้าหน้าที่กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจำนวน 8 คน และเจ้าหน้าที่สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจิตอาสา ได้ร่วมกันดำเนินการบันทึกข้อมูลรายการหนังสือ ณ สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร โดยรายการหนังสือที่บันทึก เช่น เลข ISBN  ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ชื่อผู้แปล เลขหมู่หนังสือ เลขประจำหนังสือ ปีที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์ รวมจำนวน 920 เล่ม เพื่อเตรียมการลงข้อมูลในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ สำหรับส่งมอบโรงเรียนวัดเทวสุนทร กรุงเทพมหานคร ในโครงการ PEA หมู่บ้านช่อสะอาด กิจกรรม PEA “ห้องสมุดสีเขียว” (PEA Green Library) โดยมีกำหนดการส่งมอบในวันที่ 26 กรกฎาคม 2566

- มีการบูรณาการงานด้านห้องสมุดและงานด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ภายใต้แผนงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว โดยร่วมใช้ทรัพยากรหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้เครือข่าย ศปว. ดังนี้

การบริการสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง การแลกเปลี่ยนและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสารสนเทศระหว่างห้องสมุด

ในปีงบประมาณ 2566 ได้มีการเผยแพร่สารสนเทศ วทน. ผ่านเว็บไซต์ ศปว. (http://www.scitech.in.th) เพื่อประชาสัมพันธ์ผลงานและบริการของสมาชิกเครือข่ายศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ศปว.) และการนำสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ที่แต่ละหน่วยงานเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ให้บริการสืบค้นผ่าน Science e-Book Application จำนวน 12 เรื่อง และมีความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน ได้แก่ เอกสารมาตรฐาน ASTM, JIS, AOAC ฯลฯ รวมจำนวน 531 เรื่อง 9,354 หน้า คิดเป็นมูลค่าโดยประมาณ 1,412,453 บาท โดย ศปว. ขอจาก สท.วศ. จำนวน 397 เรื่อง 5,255 หน้า คิดเป็นมูลค่า  915,670 บาท และ สท.วศ. ขอจาก ศปว. จำนวน 134 เรื่อง 4,099 หน้า คิดเป็นมูลค่า 496,783 บาท

รายงานผลการดำเนินงานของคณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำงบประมาณ 2566 (หน้า 21)

แผน-ผลพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปีงบประมาณ 2566 (หน้า 72-77)

แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปีงบประมาณ 2567

(4) กำหนดให้งานห้องสมุดสีเขียว เป็นภาระงานของบุคลากรที่ต้องได้รับการประเมิน

   √  

1. มีการกำหนดในอำนาจหน้าที่ของคำสั่งกองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

 - คำสั่ง สท. ที่ 6/2564

 - คำสั่ง สท. ที่ 5/2565

 - คำสั่ง สท. ที่ 1/2567

มีการกำหนดใน JD ของบุคลากร สท.

1.1.7 มีการกำหนดนโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สอดคล้องกับนโยบายขององค์กร หรือนโยบายของประเทศ หรือนโยบายตามบริบทสากล ดังนี้

(1) มีการกำหนดนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) หรือ นโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ของห้องสมุด

 

   

 

(2) มีการกำหนดเป้าหมายและแผนงานการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระยะสั้นและระยะยาวของห้องสมุดที่สอดคล้องกับนโยบายตามข้อ (1)

   √  

มีประกาศกองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง เป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ 2567

ประกาศ สท. เรื่อง เป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ 2567

(3) มีการลด และ/หรือ ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

   √  
  1. กิจกรรมลดและคัดแยกขยะภายในอาคาร สท.

          ในปีงบประมาณ 2566 สท. ได้จัดกิจกรรมลดและคัดแยกขยะภายในอาคาร สท. โดยสรุปปริมาณขยะแยกเป็นประเภทต่าง ๆ จำนวนทั้งสิ้น 1,368.1 กิโลกรัม ประกอบด้วย ขวดพลาสติก จำนวน 8 กิโลกรัม กระดาษทั่วไป จำนวน 160 กิโลกรัม กระดาษเสีย 2 หน้า จำนวน 43 กิโลกรัม และขยะทั่วไป จำนวน 1,145.1 กิโลกรัม  รวมทั้งมีตลับหมึกพิมพ์ จำนวน 12 ตลับ 

  1. จัดกิจกรรมการรับบริจาคสิ่งของ

          ในปีงบประมาณ 2566 ได้มีการจัดกิจกรรมการรับบริจาคสิ่งของทั้งหมด 5 กิจกรรม ได้แก่

1) ปฏิทินตั้งโต๊ะที่ใช้แล้ว "ให้กาลเวลามีค่ามากกว่า 1 ปี" คลิก

2) ตลับหมึกที่ใช้แล้ว "สงกรานต์ สาดตลับหมึก" คลิก

3) แก้วพลาสติก / แก้วกาแฟ “เก็บแก้ว เข้าพรรษา” คลิก

4) ขวดพลาสติก PET  "รัก คือ การให้" คลิก

5) วัสดุอะลูมิเนียม ได้แก่ ห่วงจากฝาหรือกระป๋องเครื่องดื่ม ฝาเครื่องดื่มแบบเกลียว กระป๋องน้ำอัดลม หรือเศษจากข้อต่อ/บานพับ/ รั้ว เป็นต้น "ห่วง ฝา (อะลูมิเนียม) ทำขาเทียม" คลิก

  1. การทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษผลไม้
  2. กิจกรรม 5ส
  3. กิจกรรมวันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2566 คลิก

รายงานผลการดำเนินงานของคณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำงบประมาณ 2566 (หน้า 8-16, 20)

(4) ผลการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดในข้อ (2)

      √

 ตัวชี้วัดและเป้าหมายในปี 2567 ยังไม่ถึงรอบการประเมินผล

1.2 คณะทำงานห้องสมุดสีเขียว

1.2.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานห้องสมุดสีเขียว ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการด้านห้องสมุด และคณะกรรมการด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวทางดำเนินงาน ดังนี้

(1) ผู้บริหารแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานห้องสมุดสีเขียวประกอบด้วยงานด้านห้องสมุดและด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามอนุมัติการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานจะต้องครอบคลุมทุกหมวดและประกอบด้วยบุคลากร/ผู้แทนจากทุกฝ่ายในหน่วยงาน

    √  

- กองหอสมุดฯ มีการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีบันทึกข้อความเป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามอนุมัติโดยผู้บริหารแล้ว เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 โดยคณะทำงานฯ ดังกล่าว ประกอบด้วยบุคลากร/ผู้แทนจากทุกฝ่ายในกองหอสมุดฯ

คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ที่ 5/2565

- กองหอสมุดฯ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประกอบด้วยงานด้านห้องสมุดและด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมคำสั่ง สท. ที่ 1/2567 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการกำหนดอำนาจ บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการแต่ละคนไว้อย่างชัดเจน

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ที่ 1/2567

(2) กำหนดอำนาจ บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการหรือทีมงานอย่างชัดเจน

    √  

- กองหอสมุดฯ มีการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีบันทึกข้อความเป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามอนุมัติโดยผู้บริหารแล้ว เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 โดยคณะทำงานฯ ดังกล่าว ประกอบด้วยบุคลากร/ผู้แทนจากทุกฝ่ายในกองหอสมุดฯ

คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ที่ 5/2565

- กองหอสมุดฯ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประกอบด้วยงานด้านห้องสมุดและด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมคำสั่ง สท. ที่ 1/2567 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการกำหนดอำนาจ บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการแต่ละคนไว้อย่างชัดเจน

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ที่ 1/2567

1.2.2 ร้อยละของคณะกรรมการหรือทีมงานห้องสมุดสีเขียว ด้านห้องสมุดที่ดำเนินงานตามบทบาท หน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ดังนี้

(1) ประธาน/หัวหน้า

    √  

ประธาน ดำเนินงานตามบทบาท หน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งระบุในคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียวฯ ทำให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เช่น ประธานฯ ได้เข้าร่วมการประชุมทุกครั้งที่จัดขึ้น มีการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ อยู่สม่ำเสมอ

คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

 คำสั่ง สท. ที่ 6/2564

 - คำสั่ง สท. ที่ 5/2565

 - คำสั่ง สท. ที่ 1/2567

รายงานผลการดำเนินงานคณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว

 - ปีงบประมาณ 2564

 - ปีงบประมาณ 2565

 - ปีงบประมาณ 2566

(2) คณะกรรมการหรือทีมงานด้านห้องสมุด

    √  

คณะทำงานฯ ทุกคน (ร้อยละ 100) ได้ร่วมกันดำเนินงานตามบทบาท หน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งระบุในคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียวฯ ทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยรวมรวมข้อมูลไว้ในรายงานผลการดำเนินงานคณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว

รายงานผลการดำเนินงานคณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว

 - ปีงบประมาณ 2564

 - ปีงบประมาณ 2565

 - ปีงบประมาณ 2566

1.3 การทบทวนฝ่ายบริหาร

1.3.1 การกำหนดองค์ประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร

(1) มีผู้บริหารเข้าร่วมประชุม

    √

 

ผู้บริหาร คือ ผู้อำนวยการกองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมประชุมทุกครั้ง โดยมีการบันทึกรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมในรายงานการประชุมฯ แต่ละครั้ง

ในปีงบประมาณ 2566 มีการจัดประชุมคณะทำงานฯ ดังนี้

- ประชุมคณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว จำนวน 3 ครั้ง

  1. การประชุมฯ ครั้งที่ 3/2565 วันที่ 21 ต.ค. 2565
  2. การประชุมฯ ครั้งที่ 1/2566 วันที่ 11 ม.ค. 2566
  3. การประชุมฯ ครั้งที่ 2/2566 วันที่ 23 ส.ค. 2566

- ประชุมการจัดการของเสียและมลพิษ ภายใต้การดำเนินงานของคณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว สท. จำนวน 1 ครั้ง

  1. การประชุมการจัดการของเสียและมลพิษฯ ครั้งที่ 1/2565 วันที่ 27 ตุลาคม 2565

ในปีงบประมาณ 2567 มีการจัดประชุมคณะทำงานฯ จำนวน 1 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 3/2566 วันที่ 28 พ.ย. 66

โดยในการประชุมแต่ละครั้งมีผู้อำนวยการกองหอสมุดฯ เป็นประธานในการประชุมทุกครั้ง รายละเอียดรายงานการประชุมตามลิงก์แนบ

รายงานการประชุม

(2) มีตัวแทนของแต่ละฝ่าย/แผนก/ส่วนงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านห้องสมุด ในแต่ละหมวดเข้าร่วมประชุม

    √

 

มีตัวแทนของแต่ละฝ่ายที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านห้องสมุด ในแต่ละหมวดเข้าร่วมประชุม เข้าร่วมประชุมที่จัดขึ้น โดยมีการบันทึกรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมในรายงานการประชุมฯ แต่ละครั้ง โดยใช้หลักฐานตามข้อ (1)

(3) จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมจะต้องมากกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนผู้ที่เป็นคณะกรรมการห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว พร้อมหลักฐานการลงนามเข้าร่วมประชุม

   √

 

ในการประชุมแต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมประชุมมากกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนคณะทำงานฯ ทั้งหมด (แนบหลักฐานการลงนามชื่อผู้เข้าร่วมประชุมฯ) ตามข้อ (1)

(4) หากผู้ที่จะต้องเข้าประชุมไม่สามารถเข้าร่วมได้ จะต้องมีวิธีการรายงานผลการประชุมให้รับทราบ พร้อมรับข้อเสนอแนะ

 

 

กรณีที่ผู้เข้าร่วมประชุมไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ สามารถดูรายงานการประชุมฯ ได้ทางอีเมลหรือไลน์กลุ่ม ตามที่ฝ่ายเลขานุการแจ้งเวียน และสามารถดูรายงานการประชุมฉบับจริงได้จากเว็บไซตืห้องสมุดสีเขียว รายงานการประชุม

นอกจากนี้ ฝ่ายเลขานุการฯ ยังมีการรับข้อเสนอแนะ ผ่านกลุ่มไลน์และอีเมลด้วย

การแจ้งเวียนรายงานฯ ในไลน์กลุ่ม

     

การเวียนแจ้งในอีเมล

1.3.2 มีการกำหนดวาระการประชุมและทำการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร ดังนี้

(1) มีการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 

 

ฝ่ายเลขานุการฯ จัดการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยกำหนดในแผนการดำเนินงานคณะทำงานพัฒนาห้องสมุด ประจำปีงบประมาณ 2566 ข้อ 3 เรื่อง ประชุมคณะทำงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว มีเป้าหมาย 3 ครั้งต่อปี

แผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ประจำปีงบประมาณ 2566

(2) วาระที่ 1 การติดตามผลการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารที่ผ่านมาทั้งด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

 

 

การประชุมมีระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุม เพื่อทบทวนการติดตามผลการประชุมฯ ครั้งที่ผ่านมา

รายงานการประชุมฯ 

(3) วาระที่ 2 ทบทวนนโยบายห้องสมุดสีเขียว

 

 

การประชุมมีระเบียบวาระที่ 1 เรื่องแจ้งให้ที่ประชุมทราบ เพื่อทบทวนนโยบายห้องสมุดสีเขียวและแจ้งให้คณะทำงานฯ รับทราบนโยบายร่วมกัน

รายงานการประชุมฯ   

(4) วาระที่ 3 ความมีประสิทธิภาพของคณะกรรมการหรือทีมงานด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (ความเพียงพอและความเหมาะสม)

 

 

การประชุมมีระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ เป็นการกล่าวถึงเรื่องที่คณะทำงานฯ ได้ดำเนินการ ทำให้เห็นถึงความมีประสิทธิภาพของคณะทำงานฯ ในการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

รายงานการประชุมฯ 

(5) วาระที่ 4 การติดตามผลการ

ดำเนินงานด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

 

 

การประชุมมีระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบ เป็นการกล่าวถึงเรื่องที่คณะทำงานฯ ได้ดำเนินการไปแล้ว ทำให้สามารถติดตามผลการดำเนินงานด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมได้

รายงานการประชุมฯ   

(6) วาระที่ 5 การเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินงานด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

 

 

การประชุมมีระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา เป็นการนำเสนอเรื่องเพื่อให้ที่ประชุมร่วมกันพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินงานด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

รายงานการประชุมฯ 

(7) วาระที่ 6 ข้อเสนอแนะจากที่ประชุมและแนวคิดของผู้บริหารต่อการพัฒนาห้องสมุดสีเขียวอย่างต่อเนื่องทั้งด้านห้องสมุดและด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

 

 

การประชุมมีระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) กรณี มีการเสนอเรื่องซึ่งเป็นเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ผู้บริหารจะให้ข้อเสนอแนะและแนวคิดต่าง ๆ และมอบหมายผู้รับผิดชอบดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ส่งผลต่อการพัฒนาห้องสมุดสีเขียวอย่างต่อเนื่องทั้งด้านห้องสมุดและด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

รายงานการประชุมฯ ครั้งที่ 1/2565 วันที่ 27 ตุลาคม 2565

(8) จัดทำรายงานการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร รายชื่อผู้เข้าประชุมและภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นว่ามีการประชุมจริง

 

 

หลังจากการประชุมฯ เสร็จสิ้น ฝ่ายเลขานุการฯ จัดทำรายงานการประชุมฯ รายชื่อผู้เข้าประชุม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และแจ้งเวียนคณะทำงานฯ รับทราบ

รายงานการประชุมฯ 

                                      

1.4 การตรวจประเมินภายใน (สำหรับหน่วยงานต่ออายุ)

1.4.1 การวางแผนและดำเนินการตรวจประเมินภายใน ด้านห้องสมุด (ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็นไปตาม

เกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว)

(1) มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมินภายใน ด้านห้องสมุดประกอบด้วย หัวหน้าผู้ตรวจประเมินและผู้ตรวจประเมิน ที่มีความรู้และประสบการณ์เรื่องห้องสมุดสีเขียว

 

     √

 

(2) มีการกำหนดความถี่ในการตรวจประเมินภายใน ด้านห้องสมุด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 

     √

 

(3) มีการจัดทำข้อกำหนดการตรวจประเมินภายใน ด้านห้องสมุดครอบคลุมทุกหมวด

 

     √

 

(4) กำหนดให้ ผู้ตรวจประเมินภายในด้านห้องสมุดแต่ละหมวดมีความเพียงพอและเหมาะสม มีความเป็นอิสระในการตรวจประเมินอย่างชัดเจน

 

     √

 

(5) ดำเนินการตรวจประเมินภายใน ด้านห้องสมุด ครบถ้วนทุกหมวด

 

     √