เกณฑ์การประเมิน |
การประเมินตนเอง |
||
มี |
ไม่มี |
หลักฐาน |
|
3.1 จัดการทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ให้เพียงพอและพร้อมใช้ |
|||
3.1.1 จัดหาทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง โดยดำเนินการ ดังนี้ |
|||
(1) สำรวจความต้องการของผู้รับบริการ
|
|
กองหอสมุดฯ มีการสำรวจความต้องการสารสนเทศของผู้ขอรับบริการภายในกรมวิทยาศาสตร์บริการเป็นประจำทุกปี และผู้ขอรับบริการทั้งภายในและภายนอก สามารถเสนอแนะทรัพยากรสารสนเทศได้ผ่านช่องทางการให้บริการ ผลการดำเนินงานตามเอกสารแนบ GL-3.1.1 ผลสำรวจและรายการทรัพยากรสารสนเทศที่จัดซื้อปี 2567 |
|
(2) จัดหาทรัพยากรสารสนเทศได้ตรงตามความต้องการ และสอดคล้องกับนโยบายของห้องสมุด |
|
จากการสำรวจความต้องการสารสนเทศของผู้ขอรับบริการเป็นประจำทุกปี ทำให้สามารถจัดหาทรัพยากรสารสนเทศตามความต้องการของผู้รับบริการ และเนื่องจากกองหอสมุดฯ เป็นห้องสมุดเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศจึงสอดคล้องกับนโยบายของห้องสมุดซึ่งมุ่งเน้นสารสนเทศด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ซึ่งครอบคลุมด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมด้วยผลการดำเนินงานตามเอกสารแนบ GL-3.1.1 ผลสำรวจและรายการทรัพยากรสารสนเทศที่จัดซื้อปี 2567 |
|
(3) ทรัพยากรสารสนเทศมีความทันสมัย |
|
การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศตามความต้องการของผู้ขอรับบริการนั้น ประกอบด้วย เนื้อหาที่ตรงตามความต้องการ และปีที่จัดพิมพ์ที่มีความทันสมัยหรือปีพิมพ์ล่าสุด ยกตัวอย่าง เช่น มาตรฐานที่เป็นฉบับปรับปรุงล่าสุด รายละเอียดผลการดำเนินงานตามเอกสารแนบ GL-3.1.1 ผลสำรวจและรายการทรัพยากรสารสนเทศที่จัดซื้อปี 2567 |
|
(4) ทรัพยากรสารสนเทศมีความหลากหลายเหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละกลุ่ม |
|
ทรัพยากรสารสนเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จัดหามีความหลากหลาย ทั้งในรูปแบบสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ ครอบคลุมตั้งแต่หนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิง วารสาร มาตรฐาน ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีการคัดเลือกสารสนเทศที่น่าสนใจนำมาจัดทำดรรชนีวารสาร มาตรฐานที่น่าสนใจ นำเสนอให้ผู้ขอรับบริการในรูปแบบของรายชื่อหนังสือและบทความที่น่าสนใจรายเดือน เพื่อเผยแพร่ให้ผู้ขอรับบริการทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงสารสนเทศในสาขาต่าง ๆ ที่หลากหลายเหล่านั้น
|
|
3.1.2 ปริมาณทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และเรื่องที่เกี่ยวข้อง เพิ่มขึ้นทุกปี อย่างน้อยปีละ 100 รายชื่อ |
|||
|
|
|
ปี 2567 กองหอสมุดฯ ได้จัดหาทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และนำเข้าระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ตามเกณฑ์ใหม่ (ปริมาณทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพิ่มขึ้นอย่างน้อยปีละ 100 รายชื่อ) โดยมีทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทั้งในรูปสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 151 รายชื่อ รายละเอียดตามเอกสารแนบ GL-3.1.2 ทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม 2567 |
3.1.3 จัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง ให้พร้อมใช้และสามารถค้นคืนได้โดยง่าย ดังนี้ |
|||
(1) มีการจัดหมวดหมู่ กำหนดคำสำคัญและคำศัพท์เฉพาะ เพื่อความสะดวกในการสืบค้น |
|
|
การวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่ และดรรชนีต่าง ๆ ของทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อความสะดวกในการสืบค้น ใช้ระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification System : DDC) |
(2) ลงรายการบรรณานุกรมและบันทึกข้อมูล หรือจัดทำรายชื่อเพื่อให้สะดวกต่อการค้นหา |
|
|
รายการบรรณานุกรมและดรรชนีที่เกี่ยวข้องถูกจัดทำและบันทึกข้อมูลลงในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Matrix เพื่อสะดวกต่อการค้นหา และมีการจัดทำบัญชีรายชื่อหนังสือและบทความที่น่าสนใจเอกสารใหม่ประจำเดือน แสดงที่หน้าเว็บไซต์ห้องสมุด (https://siweb.dss.go.th/index.php/th/newlist) |
(3) จัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศให้พร้อมสำหรับให้บริการ |
|
|
การเตรียมตัวเล่มเพื่อสนับสนุนการให้บริการสารสนเทศ เช่น พิมพ์เลขหมู่หนังสือ ตัดและติดเลขหมู่ บาร์โค้ด และระบุรหัสบ่งชี้ช่วงเวลาที่ตัวเล่ม เช็คทะเบียนออก ส่งมอบตัวเล่มที่ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องส่งมอบพร้อมให้บริการแก่ผู้รับบริการต่อไป |
(4) ผู้รับบริการสามารถสืบค้นและเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้โดยง่าย |
|
|
มีการให้บริการสืบค้นและเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้ผ่านเว็บไซต์ https://siweb.dss.go.th และ เลือก “สืบค้นสิ่งพิมพ์ของห้องสมุด” ใส่ข้อความที่ต้องการค้นหาตามช่องที่กำหนดให้ |
3.2 การให้บริการห้องสมุดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
|||
3.2.1 ส่งเสริมการให้บริการและการใช้ทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ |
|||
(1) ประชาสัมพันธ์บริการ และแนะนำทรัพยากรสารสนเทศผ่านช่องทางต่างๆ ถึงผู้รับบริการ และหน่วยงานเครือข่ายความร่วมมือ |
|
กองหอสมุดฯ ได้จัดทำและดำเนินการประชาสัมพันธ์การให้บริการ พร้อมทั้งแนะนำทรัพยากรสารสนเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการทั้งภายใน ภายนอก และหน่วยงานเครือข่ายความร่วมมือผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้ 1. อีเมล (This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.) 2. Facebook สท. (Science Library - Department of Science Service) 3. Line Official ScienceLibraryDSS 4. Line DSS NEWS (กลุ่มไลน์ วศ.) 5. Line SLTD (กลุ่มไลน์ สท.) 6. เว็บไซต์ สท. (https://siweb.dss.go.th) 7. เว็บไซต์ศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ศปว.) (http://www.sptn.dss.go.th/scitech) |
|
(2) ตรวจสอบสภาพและจัดการทรัพยากรสารสนเทศให้พร้อมบริการอยู่เสมอ |
|
มีการตรวจสอบสภาพและจัดการทรัพยากรสารสนเทศให้พร้อมบริการอยู่เสมอ โดยในปี 2567 มีการบำรุงรักษาทรัพยากรสารเทศ จำนวน 130 รายการ ตามเอกสารแนบ GL-3.2.1(2) ตรวจสอบสภาพและจัดการทรัพยากรสารสนเทศให้พร้อมบริการอยู่เสมอ นอกจากนี้ กองหอสมุดฯ ได้จัดทำคู่มือและวิดีโอสาธิตการอนุรักษ์และซ่อมหนังสือ ดังนี้ |
|
(3) จัดทำสถิติการยืมหรือการใช้ประโยชน์ทรัพยากรสารสนเทศ |
|
มีการจัดทำรายงานสถิติการยืมหรือการใช้ประโยชน์ทรัพยากรสารสนเทศด้านสิ่งแวดล้อมเป็นประจำทุกเดือน ซึ่งมีการบันทึกข้อมูลและจัดเก็บสถิติในฐานข้อมูลลูกค้าสัมพันธ์ (ฐาน COME) สามารถเรียกดูได้จาก http://siweb1.dss.go.th/come/Search_floor_service.asp โดยในปี 2567 มีจำนวนการยืมหรือการใช้ประโยชน์ทรัพยากรสารสนเทศด้านสิ่งแวดล้อม 162 รายการ (ข้อมูล ณ วันที่ 20 พ.ค.67) ตามเอกสารแนบ GL-3.2.1(3) สถิติการการยืมหรือการใช้ประโยชน์ทรัพยากรสารสนเทศ ปี 2567 |
|
(4) นำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมการให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
|
มีการนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมการให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย 1. การให้บริการผ่านอีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. 2. บริการระบบบริการสารสนเทศผ่านบริการภาครัฐ Citizen portal 3. มีการจัดทำตัวชี้วัดเรื่อง จำนวนนวัตกรรมบริการหรือกระบวนการที่ดำเนินการได้แล้วเสร็จ โดยกองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนี้
ชื่อ นวัตกรรมบริการ เรื่อง “การพัฒนากระบวนการติดตามเอกสาร ของบริการจัดหาเอกสาร ฉบับเต็มและประเมินความพึงพอใจออนไลน์ (Smart Document Delivery Services)” กองหอสมุดฯ มีบริการทรัพยากรสารสนเทศทั้งในรูปสิ่งพิมพ์ อิเล็กทรอนิกส์และฐานข้อมูลออนไลน์ เพื่อให้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ผู้รับบริการได้ข้อมูลที่ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน เช่น ASTM, JIS, United States Pharmacopeia - National Formulary (USP-NF), Official Methods of Analysis of AOAC INTERNATIONAL Online, ฐานข้อมูล BSOL (British Standards Online) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลออนไลน์รวบรวมเอกสารมาตรฐานต่าง ๆ เช่น British Standards (BS), Europeans Standard (EN), International Organization for Standardization (ISO) ฯลฯ จึงได้จัดให้มีการบริการจัดหาเอกสารฉบับเต็มด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่ผู้รับบริการที่สนใจใช้สารสนเทศเพื่อวิเคราะห์ทดสอบ ศึกษาค้นคว้า วิจัยและพัฒนา การขอรับการรับรองมาตรฐาน ฯลฯ โดยกองหอสมุดฯ ได้พัฒนารูปแบบการชำระเงินค่าบริการทางออนไลน์ผ่านธนาคาร หรือแอปพลิเคชัน Mobile Internet banking ด้วยคิวอาร์โค้ด (QR Code) และเจ้าหน้าที่จะจัดส่งเอกสารสารสนเทศทางไปรษณีย์ ตลอดจนมีการแจ้งหมายเลข Tracking Number เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบสถานะจัดส่งเอกสาร และจัดส่งแบบประเมินความพึงพอใจออนไลน์ให้ผู้ขอรับบริการตอบกลับทางอีเมล ซึ่งการพัฒนากระบวนงานดังกล่าวฯ ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ขอรับบริการที่ต้องการเข้าถึงองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีช่วยลดระยะเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ผู้ขอรับบริการแจ้งความต้องการ และรับทราบเงื่อนไขการขอรับบริการจัดหาเอกสารฉบับเต็มผ่านช่องทางออนไลน์ 2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร จัดทำใบเสนอราคาและจัดส่งใบเสนอราคาให้ผู้ขอรับบริการทางอีเมล เพื่อให้ผู้ขอรับบริการนำไปชำระค่าบริการที่ธนาคารกรุงไทย หรือผ่าน Mobile Banking พร้อมแจ้งให้ผู้ขอรับบริการส่งหลักฐานการชำระค่าบริการทางอีเมล 3. เมื่อได้รับหลักฐานการชำระค่าบริการแล้ว เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการจะส่งหลักฐานให้ฝ่ายการเงินเพื่อออกใบเสร็จและดำเนินการจัดเตรียมเอกสาร พร้อมใบเสร็จจากฝ่ายการเงิน และนำส่งเอกสารฉบับเต็มทางไปรษณีย์ไทย 4. เจ้าหน้าที่แจ้งผู้ใช้บริการรับทราบการชำระค่าบริการ แจ้งหมายเลข Tracking Number เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบสถานะจัดส่งเอกสาร และส่งแบบประเมินความพึงพอใจออนไลน์ให้ผู้ขอรับบริการตอบกลับทางอีเมล (https://forms.gle/DjAE77NY4SdKFKnJA) การวัดความสำเร็จ ร้อยละความพึงพอใจของผู้ขอรับบริการจัดหาเอกสารฉบับเต็ม ไม่น้อยกว่า 85 ผลการดำเนินงาน ปัจจุบันได้ดำเนินการตามขั้นตอนสำเร็จเรียบร้อยแล้ว และได้รับผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้ขอรับบริการจัดหาเอกสารฉบับเต็ม ร้อยละ 94.68 |
|
3.2.2 จัดพื้นที่บริการ ให้สอดคล้องกับการเป็นห้องสมุดสีเขียว ดังนี้ |
|||
(1) สะอาด สวยงาม เป็นระเบียบ |
|
มีการจัดพื้นที่ให้บริการ พื้นที่รับรอง ให้ดูสะอาด สวยงาม เป็นระเบียบ สอดคล้องกับการเป็นห้องสมุดสีเขียว |
|
(2) ปลอดภัย |
|
กองหอสมุดฯ จัดชั้นวางและจัดวางสารสนเทศให้เป็นระเบียบ มีการจัดพื้นที่บริการให้มีความปลอดภัยโดยมีการติดตั้งสัญญาณไฟฉุกเฉินและติดตั้งถังดับเพลิงไว้ทุกชั้นบริการ และมีการตรวจสอบสภาพให้พร้อมใช้งานเป็นประจำ
|
|
(3) ประหยัดพลังงานและทรัพยากร |
|
1. กองหอสมุดฯ มีการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยปฏิบัติตามมาตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ฉบับประกาศ ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 และฉบับประกาศ ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 ลงนามโดย นางสาวปัทมา นพรัตน์ ผู้อำนวยการกองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (มาตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม กองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) 2. ประกาศนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 ลงนามโดยนางสาวปัทมา นพรัตน์ ผู้อำนวยการกองหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เอกสารนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม) 3. มีการจัดทำ Infographic เผยแพร่ทางไลน์กลุ่ม และติดประกาศบริเวณพื้นที่บริการ เช่น มาตรการอนุรักษ์พลังงานด้านไฟฟ้า มาตรการประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ กระดาษ กิจกรรมรวบรวมเศษอาหารอินทรีย์เพื่อน้องหมา ช่วยลดปริมาณขยะอินทรีย์ได้ เป็นต้น
|
|
(4) จัดพื้นที่บริการโดยสอดแทรกความรู้และแนวคิดการให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
|
|
มีพื้นที่บริการสำหรับสารสนเทศที่สอดแทรกความรู้และแนวคิดการให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
หมวด: ห้องสมุดสีเขียว